ข้ามไปเนื้อหา

เดปอร์ติโบอาลาเบส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Deportivo Alavés)
เดปอร์ติโบอาลาเบส
ไฟล์:อลาเบส.png
ชื่อเต็มบริษัทกีฬา เดปอร์ติโบอาลาเบส จำกัด (มหาชน)
ฉายาBabazorros
El Glorioso (The glorious one)
Pink Team
ก่อตั้ง1 กรกฎาคม 1920; 104 ปีก่อน (1920-07-01)
สนามสนามฟุตบอลเมนดิซอร์โรตซา บิโตเรีย
แคว้นประเทศบาสก์ สเปน
ความจุ19,840
เจ้าของซัสกีบัสโกเนีย (70.44%)
โฆเซ อันโตนิโอ เกเรเฆตา (6.4%)
ประธานอัลฟอนโซ เฟร์นันเดซ เด โตรโกนิซ
ผู้จัดการทีมลุยส์ การ์ซิอา
ลีกเซกุนดาดิบิซิออน
2021–22ลาลิกา อันดับที่ 20 จาก 20 (ตกชั้น)
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

เดปอร์ติโบอาลาเบส (สเปน: Deportivo Alavés) หรือมักย่อว่า อาลาเบส เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศสเปน ตั้งอยู่ในบิโตเรีย-กัสเตอิซ จังหวัดอาลาบา ในแคว้นปกครองตนเองประเทศบาสก์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1920 ในนาม Sport Friends Club ปัจจุบันเล่นในลาลิกา ลีกสูงสุดของประเทศสเปน หลังจากเลื่อนชั้นขึ้นมาจากเซกุนดาดิบิซิออน ในปี ค.ศ. 2023

อาลาเบส นับว่าเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จรั้งท้ายในลีกสูงสุดในภูมิภาคประเทศบาสก์ตามหลังอัตเลติกเดบิลบาโอแห่งบิลบาโอ และเรอัลโซซิเอดัดแห่งซานเซบัสเตียน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของสโมสรคือการผ่านเข้าไปชิงชนะเลิศ ยูฟ่าคัพ ในปี ค.ศ. 2001 ที่ดอร์ทมุนด์ แต่พวกเขาได้แพ้ให้กับลิเวอร์พูล ในช่วงต่อเวลาพิเศษ ด้วยกฎโกลเดนโกล 5–4 รวมถึงในฤดูกาล 2016–17 ที่ผ่านเข้าไปชิงชนะเลิศ โกปาเดลเรย์ แต่แพ้ให้กับบาร์เซโลนา ไป 3–1 ที่บิเซนเต กัลเดรอน

อาลาเบสมีสีเสื้อแข่งขันเหย้าเป็นลายขาว-น้ำเงิน ซึ่งเป็นสีที่เป็นอัตลักษณ์ของสโมสร ปัจจุบันพวกเขาใช้สนามเมนดิซอร์โรตซา เป็นสนามเหย้าของทีมซึ่งมีความจุ 19,840 ที่นั่ง[1][2]

ประวัติ

[แก้]

สโมสรก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1921 ในนาม สปอร์ตเฟรนด์คลับ ก่อนที่ในวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 1921 จะถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นปัจจุบัน[3] อาลาเบส เป็นสโมสรแรกที่เลื่อนชั้นจาก เซกุนดาดิบีซีออน สู่ ลาลิกา ได้สำเร็จ ซึ่งเกิดขึ้นในฤดูกาล 1929–30 ทีมจบลำดับที่ 8 จาก 10 ทีมบนตารางคะแนนในฤดูกาลแรกในลีกสูงสุด ก่อนที่จะตกชั้นในอีก 2 ฤดูกาลถัดมา[4]

ในฤดูกาล 1953–54 สโมสรได้กลับสู่ลีกสูงสุดอีกครั้ง ภายใต้การคุมทีมของ โรมัน การาตากา และได้ตกชั้นในฤดูกาลถัดมา[3] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1963 อาลาเบส ตกชั้นสู่ เตร์เซราดิบิซิออน ลีกลำดับที่สามในขณะนั้น[5] ในฤดูกาล 1969-70 สโมสรตกสู่ระดับลีกลำดับที่สี่ แต่เพียงปีเดียวสโมสรก็สามารถกลับขึ้นมาเล่นในเตร์เซราดิบิซิออน ก่อนที่จะประสบความสำเร็จในการเลื่อนชั้นกลับเข้าสู่ เซกุนดาดิบิซิออนในฤดูกาล 1973–74 โดยรักษาการอยู่ในลีกนี้ได้เป็นเวลา 9 ปีก่อนที่จะตกชั้นลงสู่ลีกล่างอีกครั้ง ในฤดูกาล 1987–88 อาลาเบส จบลำดับที่ 8 บนตารางคะแนนเตร์เซราดิบิซิออน ซึ่งเป็นลีกอันดับที่สี่ในขณะนั้น นับเป็นการจบอันดับที่แย่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสโมสรจนถึงปัจจุบัน ก่อนที่ในอีกเจ็ดฤดูกาลถัดมาพวกเขาจะกลับขึ้นมาในเซกุนดาดิบิซิออนได้อีกครั้ง หลังจากคว้าแชมป์กลุ่มของเขาสองปีติดต่อกันใน เซกุนดาดิบิซิออน เบ ฤดูกาล 1992–93 (ลีกลำดับที่สามในขณะนั้นที่เพิ่งก่อตั้งในปี ค.ศ. 1977)

หลังจากพวกเขาชนะเลิศ เซกุนดาดิบิซิออน ฤดูกาล 1997–98[6] ก็ทำให้พวกเขาเลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุด เป็นครั้งแรกในรอบ 42 ปี โดยในฤดูกาลนี้ อาลาเบส จบลำดับที่ 16 บนตารางคะแนน ซึ่งเก็บแต้มได้มากกว่าทีมที่ต้องเพลย์-ออฟตกชั้นอย่าง เอ็กเตร์มาดูราอินเพียงแต้มเดียว ในฤดูกาลถัดมา อาลาเบส สามารถผ่านเข้าไปลงเล่นในยูฟ่าคัพได้สำเร็จ หลังจากพวกเขาจบอันดับที่หกบนตารางคะแนนลาลิกา ด้วยจำนวน 61 แต้ม โดยในจำนวนนี้พวกเขาสามารถเก็บ 6 แต้มได้จากการชนะบาร์เซโลนา ทั้งเหย้าและเยือน โดยนับเป็นสถิติการจบลำดับที่ดีที่สุดมาจนถึงปัจจุบัน

รายชื่อผู้เล่นในยูฟ่าคัพ 2001 นัดชิงชนะเลิศ พบกับลิเวอร์พูล

ในฤดูกาล 2000–01 อาลาเบสจบลำดับที่ 10 บนตารางคะแนนลาลิกา และได้ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศชองฟุตบอลยูฟ่าคัพ หลังจากเอาชนะแอร์สเทอ เอ็ฟเซ ไคเซิร์สเลาเทิร์น ราโยบาเยกาโน และอินเตอร์มิลาน ตามลำดับในรอบแพ้คัดออก[7][8] ในรอบชิงชนะเลิศ พวกเขาต้องพบกับลิเวอร์พูล ที่เว็สท์ฟาเลินชตาดีอ็อน ในดอร์ทมุนด์ อาลาเบสพ่ายแพ้ในช่วงต่อเวลาพิเศษด้วยกฎโกลเดนโกล 5-4 หลังจากเดลฟิ เกลิ โหม่งสกัดลูกฟรีคิกของแกรี แม็กอัลลิสเตอร์ เข้าประตูตัวเองในนาทีที่ 116[9]

ในฤดูกาลถัดมา อาลาเบส จบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 7 บนตารางคะแนนลาลิกา ทำให้ได้ผ่านเข้าไปลงเล่นในยูฟ่าคัพ ฤดูกาล 2002–03 นับเป็นครั้งที่สองที่ได้ลงเล่นในฟุตบอลยุโรป โดยทีมสามารถเอาชนะได้ในรอบแรกกับ อันคารากือจือ ก่อนที่จะแพ้ให้กับเบชิกทัชในรอบที่สอง

ในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 2003 อาบาเบส ชนะการแข่งขันลาลิกา นัดที่ 100 จากการชนะเรอัลบายาโดลิด 3–1 ที่สนามกีฬาโฆเซซอร์รียา โดยในฤดูกาลนี้พวกเขาต้องตกชั้นลงอีกครั้ง ในเวลานี้ อาลาเบส ถูกซื้อโดยดีมิทรี เพียตร์แมน นักธุรกิจชาวยูเครน - อเมริกัน ทำให้โค้ชและผู้เล่น[10] รวมถึงแฟนบอลต่างไม่พอใจเป็นอย่างมาก[11] อาลาเบส ใช้เวลาเพียงปีเดียวก็สามารถกลับมาสู่ตำแหน่งลีกสูงสุดได้ ก่อนที่จะจบอันดับที่ 18 บนลาลิกาทำให้ต้องตกชั้น อีกครั้ง โดยตลอดฤดูกาลได้ใช้ผู้จัดการทีมถึง 3 คน เพียตส์แมน ออกจากการดำรงตำแหน่งในปี ค.ศ. 2007 ทำให้สโมสรมีหนี้สินจำนวนมาก อาลาเบส ต้องหนีการตกชั้นจากเซกุนดาดิบิซิออนสองฤดูกาล แต่สุดท้ายก็ทำไม่สำเร็จในฤดูกาล 2008–09

อาลาเบส ต้องลงเล่นอยู่ในเซกุนดาดิบิซิออน เบ เป็นเวลา 4 ฤดูกาล ก่อนที่ โฆเซ อันโตนิโอ เกเรสเอตา จะเข้าซื้อสโมสร[12] และสามารถเลื่อนชั้นได้ในฤดูกาล 2012–13 หลังจากชนะการเพลย์-ออฟ ต่อเรอัล ฆาเอน หลังจากการเข้ามาสะสางปัญหาทางเศรษฐกิจของ เกเรสเอตา ในอีกสามปีต่อมา ในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2016 อาลาเบส ชนะเลิศเซกุนดาดิบิซิออน ทำให้ได้เลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุดได้เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี หลังเลกาเนส ทีมลำดับที่สองพ่ายแพ้ต่อนูมันเซีย 2–0 ในวันสุดท้ายของการแข่งขัน

Deportivo de La Coruña vs. Alavés.

ในวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 2016 อาลาเบส ชนะการแข่งขันในลีกสูงสุดเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เลื่อนชั้นกลับขึ้นมา โดยเอาชนะแชมป์เก่าอย่างบาร์เซโลนา ด้วยคะแนน 2–1 ที่สนามกัมนอว์[13] ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017 อาลาเบส สามารถผ่านเข้าไปชิงชนะเลิศโกปาเดลเรย์ หลังจากเอาชนะ เซลตาเดบิโก ในรอบรองชนะเลิศ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสรที่ได้ลงเล่นในรอบชิงชนะเลิศถ้วยในประเทศ หลังจากก่อนหน้านี้เคยผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศมาแล้วในปี 1998 และ2004 โดยในปี ค.ศ. 2017 นี้พวกเขาพ่ายแพ้ให้กับบาร์เซโลนา 3–1 ที่บิเซนเต กัลเดรอน[14] โดยในฤดูกาลนี้พวกเขาจบลำดับที่เก้าบนตารางคะแนนลาลิกา จากการชนะ 14 นัด เสมอ 13 นัดและแพ้ 11 นัด[15]

ผู้เล่น

[แก้]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

[แก้]
ณ วันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2022[16]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK สเปน อันโตนิโอ ซิเบรา
2 DF โคลอมเบีย อันเดร์ซอน อาร์โรโย (ยืมตัวมาจากลิเวอร์พูล)
3 DF สเปน รูเบน ดูอาร์เต (กัปตัน)
4 DF เซอร์เบีย อเล็กซานดรา เซดลาร์
6 MF สเปน โตนิ โมยา
7 FW เซเนกัล มามาดู ซิยา
8 MF สเปน ซัลบา เซบิยา
9 FW สเปน มิเกล เด ลา ฟูเอนเต
10 MF สเปน ฆาซอน
11 MF สเปน ลุยส ริโอฆา
14 DF อาร์เจนตินา นาอูเอล เตนาเกลีย (ยืมตัวมาจากตาเยเรสเดกอร์โดบา)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
17 MF สเปน เซเบร์ อัลการิน
18 MF สเปน ฆอน กูริดิ
19 DF เซอร์เบีย นิโกลา มารัส (ยืมตัวมาจากอัลเมริอา)
21 FW แอลจีเรีย อับเด เรบบักฮ์
22 DF โมร็อกโก อับเดล อับการ์
23 MF อุรุกวัย การ์โลส เบนาบิเดซ
24 FW ญี่ปุ่น ไทชิ ฮาระ
27 DF สเปน ฆาบิ โลเปซ
31 GK อิเควทอเรียลกินี เฆซุส โอโวโน
33 GK อาร์เจนตินา อาดริอัน โรดริเกรซ

ผู้เล่นคนอื่นภายใต้สัญญา

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
DF สเปน ตาชิ

ทีมสำรอง

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
26 DF สเปน โฆเซดา อัลบาเรซ
28 MF อิเควทอเรียลกินี อาเลก บัลโบอา
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
29 MF มอริเตเนีย อับดัลลาฮิ มามูด
32 DF สเปน อิมานอล บัซ

ยืมตัวออก

[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
DF ฝรั่งเศส ฟลอลิออง เลอเชิน (ไปราโยบาเยกาโน จนถึง 30 มิถุนายน ค.ศ. 2023)
FW ประเทศจอร์เจีย จอร์จิ กากัว (ไปเรอัลอูนิโอน จนถึง 30 มิถุนายน ค.ศ. 2023)

ผลงาน

[แก้]

ผลงานในแต่ละฤดูกาล

[แก้]
ฤดูกาล ระดับลีก ลีก อันดับ โกปาเดลเรย์
1929 2 เซกุนดาดิบิซิออน 3 รอบ 16 ทีม
1929/30 2 เซกุนดาดิบิซิออน 1 รอบก่อนรองชนะเลิศ
1930/31 1 ลาลิกา 8 รอบ 16 ทีม
1931/32 1 ลาลิกา 9 รอบก่อนรองชนะเลิศ
1932/33 1 ลาลิกา 10
1933/34 2 เซกุนดาดิบิซิออน 10
1939/40 2 เซกุนดาดิบิซิออน 8 รอบ 16 ทีม
1940/41 3 เตร์เซราดิบิซิออน 1 รอบสอง
1941/42 2 เซกุนดาดิบิซิออน 3
1942/43 2 เซกุนดาดิบิซิออน 8 รอบ 16 ทีม
1943/44 3 เตร์เซราดิบิซิออน 2 รอบห้า
1944/45 3 เตร์เซราดิบิซิออน 3 รอบ 16 ทีม
1945/46 3 เตร์เซราดิบิซิออน 5
1946/47 3 เตร์เซราดิบิซิออน 7
1947/48 3 เตร์เซราดิบิซิออน 10 รอบสาม
1948/49 3 เตร์เซราดิบิซิออน 12 รอบแรก
1949/50 3 เตร์เซราดิบิซิออน 10
1950/51 3 เตร์เซราดิบิซิออน 2
1951/52 2 เซกุนดาดิบิซิออน 9
1952/53 2 เซกุนดาดิบิซิออน 4 รอบ 16 ทีม
1953/54 2 เซกุนดาดิบิซิออน 1 รอบ 16 ทีม
1954/55 1 ลาลิกา 10 รอบ 16 ทีม
1955/56 1 ลาลิกา 14
ฤดูกาล ระดับลีก ลีก อันดับ โกปาเดลเรย์
1956/57 2 เซกุนดาดิบิซิออน 5
1957/58 2 เซกุนดาดิบิซิออน 7
1958/59 2 เซกุนดาดิบิซิออน 13 รอบแรก
1959/60 2 เซกุนดาดิบิซิออน 13 รรอบแรก
1960/61 3 เตร์เซราดิบิซิออน 1
1961/62 2 เซกุนดาดิบิซิออน 4 รอบ 16 ทีม
1962/63 2 เซกุนดาดิบิซิออน 8 รอบ 16 ทีม
1963/64 2 เซกุนดาดิบิซิออน 16 รอบ 16 ทีม
1964/65 3 เตร์เซราดิบิซิออน 1
1965/66 3 เตร์เซราดิบิซิออน 3
1966/67 3 เตร์เซราดิบิซิออน 7
1967/68 3 เตร์เซราดิบิซิออน 1
1968/69 2 เซกุนดาดิบิซิออน 14
1969/70 3 เตร์เซราดิบิซิออน 9 รอบแรก
1970/71 4 ดิบิซิออน เรฆิออนาเรส 1
1971/72 3 เตร์เซราดิบิซิออน 7 รอบแรก
1972/73 3 เตร์เซราดิบิซิออน 3 รอบสอง
1973/74 3 เตร์เซราดิบิซิออน 1 รอบสอง
1974/75 2 เซกุนดาดิบิซิออน 16 รอบสาม
1975/76 2 เซกุนดาดิบิซิออน 15 รอบสอง
1976/77 2 เซกุนดาดิบิซิออน 8 รอบสอง
1977/78 2 เซกุนดาดิบิซิออน 11 รอบก่อนรองชนะเลิศ
1978/79 2 เซกุนดาดิบิซิออน 9 รอบก่อนรองชนะเลิศ
ฤดูกาล ระดับลีก ลีก อันดับ โกปาเดลเรย์
1979/80 2 เซกุนดาดิบิซิออน 9 รอบ 16 ทีม
1980/81 2 เซกุนดาดิบิซิออน 8 รอบ 16 ทีม
1981/82 2 เซกุนดาดิบิซิออน 17 รอบสาม
1982/83 2 เซกุนดาดิบิซิออน 17
1983/84 3 เซกุนดาดิบิซิออน เบ 3 รอบสอง
1984/85 3 เซกุนดาดิบิซิออน เบ 3 รอบสาม
1985/86 3 เซกุนดาดิบิซิออน เบ 5 รอบสอง
1986/87 4 เตร์เซราดิบิซิออน 7 รอบแรก
1987/88 4 เตร์เซราดิบิซิออน 8
1988/89 4 เตร์เซราดิบิซิออน 2
1989/90 4 เตร์เซราดิบิซิออน 1
1990/91 3 เซกุนดาดิบิซิออน เบ 2 รอบสอง
1991/92 3 เซกุนดาดิบิซิออน เบ 4 รอบสาม
1992/93 3 เซกุนดาดิบิซิออน เบ 1 รอบสาม
1993/94 3 เซกุนดาดิบิซิออน เบ 1 รอบสาม
1994/95 3 เซกุนดาดิบิซิออน เบ 1 รอบแรก
1995/96 2 เซกุนดาดิบิซิออน 7 รอบสอง
1996/97 2 เซกุนดาดิบิซิออน 13 รอบสอง
1997/98 2 เซกุนดาดิบิซิออน 1 รองรองชนะเลิศ
1998/99 1 ลาลิกา 16 รอบสาม
1999/00 1 ลาลิกา 6 รอบ 16 ทีม
ฤดูกาล ระดับลีก ลีก อันดับ โกปาเดลเรย์
2000/01 1 ลาลิกา 10 รอบ 32 ทีม
2001/02 1 ลาลิกา 7 รอบ 16 ทีม
2002/03 1 ลาลิกา 19 รอบ 16 ทีม
2003/04 2 เซกุนดาดิบิซิออน 4 รอบรองชนะเลิศ
2004/05 2 เซกุนดาดิบิซิออน 3 รอบ 32 ทีม
2005/06 1 ลาลิกา 18 รอบสาม
2006/07 2 เซกุนดาดิบิซิออน 17 รอบ 16 ทีม
2007/08 2 เซกุนดาดิบิซิออน 17 รอบสาม
2008/09 2 เซกุนดาดิบิซิออน 19 รอบสอง
2009/10 3 เซกุนดาดิบิซิออน เบ 5 รอบแรก
2010/11 3 เซกุนดาดิบิซิออน เบ 3 รอบแรก
2011/12 3 เซกุนดาดิบิซิออน เบ 6 รอบสาม
2012/13 3 เซกุนดาดิบิซิออน เบ 1 รอบ 16 ทีม
2013/14 2 เซกุนดาดิบิซิออน 18 รอบสาม
2014/15 2 เซกุนดาดิบิซิออน 13 รอบ 32 ทีม
2015/16 2 เซกุนดาดิบิซิออน รอบสาม
2016–17 1 ลาลิกา 9 รองชนะเลิศ
2017–18 1 ลาลิกา 14 รอบก่อนรองชนะเลิศ
2018–19 1 ลาลิกา 11 รอบ 32 ทีม
2019–20 1 ลาลิกา รอบแรก

เกียรติประวัติ

[แก้]
ชนะเลิศ (4): 1929–30, 1953–54, 1997–98, 2015–16
ชนะเลิศ (4): 1992–93,[b] 1993–94,[c] 1994–95,[d] 2012–13[e]
ชนะเลิศ (5):[f] 1940–41,[g] 1960–61,[h] 1964–65,[i] 1967–68,[j] 1973–74[k]
ชนะเลิศ:[l] 1989–90[m]
  • ฟุตบอลลีกภูมิภาค[17]
บิสเกแชมเปียนชิป: 1929–30
จิปุสโกแชมเปียนชิป: 1938–39
ชนะเลิศ: 1945–46
รองชนะเลิศ: 2016–17
รองชนะเลิศ: 2000–01

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ลีกลำดับที่สาม
  2. ไมเลื่อนชั้นเนื่องจากแพ้การ เพลย์-ออฟ
  3. ไมเลื่อนชั้นเนื่องจากแพ้การ เพลย์-ออฟ
  4. เลื่อนชั้น หลังจากชนะการเพลย์-ออฟ
  5. เลื่อนชั้นหลังจากชนะการ เพลย์-ออฟ และเป็นแชมป์ของลีกจากการมีคะแนนสูงสุดเมื่อรวมทั้ง 4 ลีก
  6. ลีกลำดับที่สาม
  7. เลื่อนชั้นหลังจากชนะการ เพลย์-ออฟ
  8. เลื่อนชั้นหลังจากชนะการ เพลย์-ออฟ
  9. ไมเลื่อนชั้นเนื่องจากแพ้การ เพลย์-ออฟ
  10. เลื่อนชั้นหลังจากชนะการ เพลย์-ออฟ
  11. เลื่อนชั้นโดยตรงโดยไม่ผ่านรอบเพลย์-ออฟ
  12. ลีกลำดับที่สี่
  13. เลื่อนชั้นโดยตรงโดยไม่ผ่านรอบเพลย์-ออฟ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Mendizorrotza Stadium เก็บถาวร 27 พฤศจิกายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. Depor, Redacción (2019-11-30). "¡Grítalo merengue! Real Madrid ganó 2–1 al Alavés por LaLiga Santander". Depor (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2020-01-24.
  3. 3.0 3.1 "La historia del Club | Alavés – Web Oficial". La historia del Club | Alavés – Web Oficial (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2019-11-20.
  4. "Primera División, Temporada 1930/1931 – laliga, liga santander, la liga santander, campeonato nacional de liga de primera división, liga española". www.resultados-futbol.com. สืบค้นเมื่อ 2019-11-20.
  5. "Historia del Deportivo Alavés". Alaves – El Correo (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2020-01-24.[ลิงก์เสีย]
  6. "Deportivo Alavés, S.A.D. :: La Futbolteca. Enciclopedia del Fútbol Español" (ภาษาสเปนแบบยุโรป). สืบค้นเมื่อ 2020-01-24.
  7. "El Alavés incendia San Siro" [Alavés set fire to San Siro] (ภาษาสเปน). El País. 23 February 2001. สืบค้นเมื่อ 24 February 2019.
  8. Robert O'Connor (18 May 2016). "What the heck happened to Alaves after 2001?". FourFourTwo. สืบค้นเมื่อ 24 February 2019.
  9. The greatest matches of all time; The Daily Telegraph, 4 July 2007
  10. Carreras denuncia el "trato vejatorio" de Piterman (Carreras denounces "vexatious treatment" by Piterman); 20 Minutos, 16 February 2006 (ในภาษาสเปน)
  11. Dimitri Piterman llama "subnormales" a los aficionados del Alavés (Dimitri Piterman calls Alavés' fans "morons"); 20 Minutos, 22 February 2006 (ในภาษาสเปน)
  12. "Querejeta compra las acciones del Alavés que tenía la familia Ortiz de Zárate" [Querejeta bought Alavés' shares that the Ortiz de Zárate family held] (ภาษาสเปน). El Correo. 29 July 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-27. สืบค้นเมื่อ 26 February 2017.
  13. "Glorioso Matagigantes" [Glorious Giantkillers] (ภาษาสเปน). Marca. 10 September 2016. สืบค้นเมื่อ 21 September 2017.
  14. "Barcelona 3–1 Alavés". BBC Sport. 27 May 2017. สืบค้นเมื่อ 21 September 2017.
  15. "Primera División, Temporada 2016/2017 – laliga, liga santander, la liga santander, campeonato nacional de liga de primera división, liga española". www.resultados-futbol.com. สืบค้นเมื่อ 2019-11-20.
  16. "Deportivo Alavés Squad". www.deportivoalaves.com. สืบค้นเมื่อ 5 October 2020.
  17. "Spain – List of Champions of Norte". RSSSF. 21 January 2000. สืบค้นเมื่อ 5 March 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]