เจดีย์ต้าฉิน
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/65/Da_Qin_Pagoda.jpg/220px-Da_Qin_Pagoda.jpg)
เจดีย์ต้าฉิน (จีน: 大秦塔; พินอิน: Dàqíntǎ) เป็นเจดีย์พุทธในเทศมณฑลโจวจือในซีอาน มณฑลส่านซี[1] ตั้งอยู่ห่างไปสองกิโลเมตรจากวัดโหลวกวานไถ มีการกล่าวอ้างว่าเจดีย์นี้เป็นของคริสตจักรตะวันออกของจีนในสมัยราชวงศ์ถัง[2]
ศัพทมูล
[แก้]"ต้าฉิน" เป็นชื่อภาษาจีนโบราณของจักรวรรดิโรมัน หรือในบางบริบทอาจหมายถึงตะวันออกใกล้ โดยเฉพาะแคว้นซีเรีย[3]
ประวัติศาสตร์
[แก้]เจดีย์ต้าฉินปรากฏบันทึกครั้งแรกในปี 1065 ที่ซึ่งกวีชาวจีนซู ตงพัว เดินทางมาที่นี่และนิพนธ์บทกวีเกี่ยวกับเจดีย์ในชื่อ "วัดต้าฉิน" น้องชายของเขา ซู เจ๋อ ยังเขียนกวีสะท้อนกล่าวถึงสงฆ์ของวัด หลังเกิดแผ่นดินไหวในปี 1556 เจดีย์เสียหายและถูกทิ้งร้าง รวมถึงทำให้พื้นที่ใต้ดินของเจดีย์เข้าถึงไม่ได้อีกต่อไป
บิชอปแห่งคริสตจักรตะวันออกอัสซีเรีย มาร์ อาวา โรเยล ได้เดินทางเยือนเจดีย์นี้ในปี 2012[4]
ลักษณะ
[แก้]เจดีย์อิฐแปลนพื้นรูปแปดเหลี่ยม ความสูงเจ็ดชั้น ราว 34 เมตร (ในอดีตเชื่อว่าสูง 32 เมตร) ชั้นแรกสุดมีขนาดความกว้างของแต่ละฝั่งอยู่ที่ 4.3 เมตร[1]
ข้อเสนอเกี่ยวกับศาสนาคริสต์
[แก้]ในปี 2001 นักจีนศึกษา มาร์ติน พาล์เมอร์ และผู้แปลหนังสือจีนวิทยาหลายเล่ม เช่น จวางจือ และ อี้ชิง ได้เสนอว่าเจดีย์นี้มีความเกี่ยวเนื่องกับคริสตจักรตะวันออกในสมัยราชวงศ์ถัง ไว้ในหนังสือของเขา The Jesus Sutras (พระเยซูสูตร) ซึ่งเป็นที่ถกเถียง พาล์เมอร์ระบุว่าโบสถ์และอารามคริสต์มีสร้างขึ้นในปี 640 โดยมิชชันนารียุคแรกของคริสตจักรจะวันออก ส่วน "ต้าฉิน" เป็นชื่อของจักรวรรดิโรมันตามที่ปรากฏในเอกสารภาษาจีนยุคแรก ๆ ในศตวรรษที่ 1-2[5] และในศตวรรษที่ 9 ตอนกลาง คำนี้ยังใช้เรียกโบสถ์มิสซังของคริสต์ชนซีเรีย[3]
ผู้สนับสนุนคำกล่าวอ้างของพาล์เมอร์เสนอให้เห็นถึงรายละเอียดต่าง ๆ ว่าเจดีย์นี้ในอดีตเป็นโบสถ์คริสต์ เช่นรอยขีดเขียนภาษาซีเรีย และภาพที่เสนอว่าเป็นฉากการประสูติของพระเยซู นอกจากนี้ ด้วยลักษณะการจัดวางของอารามตามทิศตะวันออก-ตะวันตก ทำให้ยิ่งสนับสนุนว่าที่นี่เป็นของศาสนาคริสต์ มากกว่าพุทธและเต๋าซึ่งนิยมจัดวางตามทิศเหนือ-ใต้[6]
หน่วยงานท้องถิ่นได้สร้างความนิยมให้กับข้อเสนอของพาล์เมอร์โดยมุ่งหวังจะกระตุ้นการท้องเที่ยวในพื้นที่ รวมถึงยังมีนักวิชาการชาวจีนที่ยกย่องและเขียนบทความเห็นด้วยกับข้อเสนอของพาลเมอร์ ในตอนแรกของรายการปี 2009 โดยบีบีซี A History of Christianity มีบางฉากที่มาจากเจดีย์นี้[7] และยังมีบทสัมภาษณ์ของพาล์เมอร์โดยผู้ดำเนินรายการ ศาสตราจารย์เดียร์เมด แม็คคัลลอห์
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะของพาล์เมอร์เป็นที่ถกเถียง นักวิชาการที่ปฏิเสธข้อเสนอแนะของเขา เช่น ไมเคิล คีวาค (Michael Keevak) ผู้เขียนหนังสือ The Story of a Stele และเดวิด วีล์มซ์ฮวร์สท์ (David Wilmshurst) ผู้เขียนหนังสือ The Martyred Church: A History of the Church of the East[8]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Daqin Temple Pagoda at china.org.cn
- ↑ Martin Palmer, The Jesus Sutras: Rediscovering the Lost Religion of Taoist Christianity, ISBN 0-7499-2250-8, 2001
- ↑ 3.0 3.1 Jenkins, Philip (2008). The Lost History of Christianity: the Thousand-Year Golden Age of the Church in the Middle East, Africa, and Asia – and How It Died. New York: Harper Collins. pp. 64–68. ISBN 978-0-06-147280-0.
- ↑ "Bishop Mar Awa Royel Visits China". Assyrian Church News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2012-12-10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-22. สืบค้นเมื่อ 2019-10-22.
Following the visit to the Museum of Steles, and on the route to the Jingjiao site to visit the Daqin Pagoda, a stop off was made at our sister Jenny Bai’s house who had requested for His Grace to visit her home and offer prayers of blessings to her and her parents.
- ↑ Hill, John E. (2006). "The Kingdom of Da Quin". The Western Regions according to the Hou Hanshu (2nd ed.). สืบค้นเมื่อ 2008-11-30.
- ↑ Thompson, Glen L (April 2007). "Christ on the Silk Road: The Evidences of Nestorian Christianity in Ancient China". Touchstone Journal. สืบค้นเมื่อ 2008-11-30.
- ↑ "BBC Four - A History of Christianity".
- ↑ Keevak, The Story of a Stele, 000; Wilmshurst, The Martyred Church, 461
บรรณานุกรม
[แก้]- Keevak, Michael, The Story of a Stele: China's Nestorian Monument and Its Reception in the West, 1625-1916 (Hong Kong, 2008).
- Palmer, Martin, The Jesus Sutras: Discovering the Lost Scrolls of Taoist Christianity (New York, 2001).
- Wilmshurst, David, The Martyred Church: A History of the Church of the East (London, 2011).