ข้ามไปเนื้อหา

ปรงเขา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Cycas pectinata)
ปรงเขา
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Cycadophyta
ไม่ได้จัดลำดับ: Cycadopsida
อันดับ: Cycadales
วงศ์: Cycadaceae
สกุล: Cycas
สปีชีส์: C.  pectinata
ชื่อทวินาม
Cycas pectinata
Buch.-Ham.
ชื่อพ้อง[2]

Cycas dilatata Griff.
Cycas jenkinsiana Griff.

ปรงเขา หรือปรงอัสสัม ชื่อวิทยาศาสตร์: Cycas pectinata (ชื่อสามัญ: Assam cycas; ภาษาอัสสัม:nagphal  ; ภาษามณีปุรี: yendang )เป็นพืชชนิดที่สี่ในสกุลปรงที่ได้รับการตั้งชื่อ ตั้งชื่อเมื่อ พ.ศ. 2369 โดย Francis Buchanan-Hamilton จากแคว้นกรามรูป ในอัสสัม ประเทศอินเดียว แพร่กระจายตั้งแต่ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย (อัสสัม มณีปุระ เมฆาลัย สิกขิม ดาร์จีลิง) เนปาล ภูฏาน พม่าภาคเหนือ จีนตอนใต้ (ยูนนาน) บังกลาเทศ มาเลเซีย กัมพูชา ภาคเหนือของไทย ลาว และ เวียดนาม[3][4][5][6] Cycas pectinata มักพบในที่สูงราว 300 - 1200 เมตร[7][8][9] ในจีน พบในที่แห้ง และเขาหินปูน ดินแดงในเขตมรสุม [10] Cycas pectinata สูงได้ถึง 40 ฟุต (12 เมตร) และมีโคนตัวผู้ขนาดใหญ่ ปรงเขาต้นที่สูงที่สุด เป็นตัวเมียในกามรูปเหนือ อัสสัม ซึ่งถือเป็นต้นปรงที่สูงที่สุดในโลก สูงถึง 52.8 ฟุต (16.1 เมตร) [11] ในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ พืชนี้เป็นพืชอนุรักษ์เพราะการทำลายป่าและเก็บโคนตัวผู้ไปทำยา[12][13] พืชชนิดนี้อยู่ในอนุสัญญาไซเตส ภาคผนวกที่ 2 และบัญชีแดงของ IUCN

อ้างอิง

[แก้]
  1. Cycas pectinata Ham. : Vulnerable (IUCN Redlist)http://www.iucnredlist.org/details/42062/0
  2. "Taxon: Cycas pectinata Buch.-Ham". Germplasm Resources Information Network - (GRIN). Beltsville, Maryland: USDA, ARS, National Genetic Resources Program. สืบค้นเมื่อ 29 October 2010.
  3. Hill, K.D. 1998-2012. http://plantnet.rbgsyd.nsw.gov.au/cgi-bin/cycadpg?taxname=Cycas%20pectinata
  4. Rita Singh & Khuraijam Jibankumar Singh, 2010. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ 2014-06-30.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  5. Pant, D.D., Singh, R. & Chauhan, D.K. 1994. On Cycas pectinata Hamilton from North-East India. Encephalartos, 38: 17-30
  6. Osborne, R.; Hill, K.D.; Nguyen, H.T. & Phan Ke, L. 2007. Cycads of Vietnam. Osborne, Brisbane (Australia) and Eeden, Capre Town (South Africa)
  7. Whitelock, L.M. 2002. The Cycads. Timber Press, Portland.
  8. Jones, D. L. 2002. Cycads of the world. Smithsonian Institution Press, Washington, DC
  9. Lindstrom, A.J. & Hill, K.D. 2007. The genus Cycas (Cycadaceae) in India. Telopea 11(4):463 – 488
  10. Fu Shu-hsia, Cheng Wan-chün, Fu Li-kuo & Chen Chia-jui. 1978. Cycadaceae. In: Cheng Wan-chün & Fu Li-kuo, eds., Fl. Reipubl. Popularis Sin. 7: 4-17 http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=3&taxon_id=200005229
  11. Khuraijam Jibankumar Singh & Rita Singh, 2012. http://www.indianforester.co.in/index.php/indianforester/article/view/29048
  12. Khuraijam Jibankumar Singh & Rita Singh, 2014. Population assessment and distribution of Cycas pectinata Buchanan-Hamilton in Northeast India, Pleione 8(1): 17 - 25.
  13. Khuraijam Jibankumar Singh & Rita Singh. 2012. The ethnobotany of Cycas in the states of Assam and Meghalaya, India. Proceedings of 8th International Conference on Cycad Biology, Panama. Memoirs of The New York Botanical Garden. The New York Botanical Garden: New York. http://www.cycadsofindia.in/p/recent-publications.html เก็บถาวร 2017-02-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน