กรากุฟ
กรากุฟ | |
---|---|
นครหลวงกรากุฟ | |
คำขวัญ: กราโกวีอาอูปส์แกแลแบร์ริมา (Cracovia urbs celeberrima) | |
พิกัด: 50°03′41″N 19°56′14″E / 50.06139°N 19.93722°E | |
ประเทศ | โปแลนด์ |
จังหวัด | มาวอปอลสกา |
สิทธิ์ของนคร | 5 มิถุนายน ค.ศ. 1257[2] |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรีนคร | ยัตแซก ไมครอฟสกี (I) |
พื้นที่ | |
• ตัวเมือง | 326.8 ตร.กม. (126.2 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 1,023.21 ตร.กม. (395.06 ตร.ไมล์) |
ความสูงจุดสูงสุด | 383 เมตร (1,257 ฟุต) |
ความสูงจุดต่ำสุด | 187 เมตร (614 ฟุต) |
ประชากร (30 มิถุนายน ค.ศ. 2021) | |
• ตัวเมือง | 780,796 (อันดับที่ 2)[1] คน |
• ความหนาแน่น | 2,359 คน/ตร.กม. (6,110 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 1,725,894 คน |
เดมะนิม | ชาวกรากุฟ |
เขตเวลา | UTC+1 (เวลายุโรปกลาง) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง) |
รหัสไปรษณีย์ | 30-024 ถึง 31–963 |
รหัสพื้นที่ | +48 12 |
เว็บไซต์ | www |
ศูนย์กลางประวัติศาสตร์กรากุฟ * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
ย่านเมืองเก่ากรากุฟ | |
พิกัด | 50°3′41″N 19°56′14″E / 50.06139°N 19.93722°E |
ประเทศ | โปแลนด์ |
ภูมิภาค ** | ยุโรปและอเมริกาเหนือ |
ประเภท | มรดกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์พิจารณา | (iv) |
อ้างอิง | 29 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 1978 (คณะกรรมการสมัยที่ 2) |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
กรากุฟ (โปแลนด์: Kraków, ออกเสียง: [ˈkrakuf] ) หรือ คราเคา (อังกฤษ: Krakow หรือ Cracow, ออกเสียง: /ˈkrækaʊ, ˈkrɑːkaʊ/) เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองและเก่าแก่ที่สุดในโปแลนด์และเป็นจุดหมายปลายทางที่นิยมของนักท่องเที่ยว[3][4]เขตเมืองเก่าได้รับการบรรจุอยู่ในรายชื่อแหล่งมรดกโลก[5] เมืองตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำวิสตูลาในจังหวัดมาวอปอลสกา (เลสเซอร์โปแลนด์) เมืองมีที่มาตั้งแต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 7[6] กรากุฟเป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางชั้นนำอย่างมีแบบแผนของสถาบันการศึกษาโปแลนด์ วัฒนธรรมและชีวิตศิลปะ และยังเป็นหนึ่งเมืองศูนย์กลางสำคัญด้านธุรกิจของโปแลนด์ เป็นเมืองหลวงของโปแลนด์ระหว่างปี ค.ศ. 1038 ถึง ค.ศ. 1596 เป็นเมืองหลวงของแกรนด์ดัชชีกรากุฟระหว่างปี ค.ศ. 1846 ถึง ค.ศ. 1918 และเมืองหลวงของจังหวัดกรากุฟระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึงปี ค.ศ. 1999 และปัจจุบันเป็นเมืองหลักของจังหวัดมาวอปอลสกา
เมืองเริ่มเติบโตขึ้นมาตั้งแต่ยุคหิน มีการตั้งรกรากถิ่นฐานในเมืองที่มีความสำคัญที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโปแลนด์นี้ เริ่มต้นในหมู่บ้านในเนินเขาวาแวล และมีการบันทึกว่าเป็นศูนย์กลางการค้าอย่างคึกคักของชาวสลาฟในยุโรปใน ค.ศ. 965[7] หลังจากสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 และในคริสต์ศตวรรษที่ 20 กรากุฟก็เป็นที่ยอมรับอีกครั้งในฐานะศูนย์กลางการศึกษาหลักแห่งชาติและด้านศิลปะ ที่มีมหาวิทยาลัยเกิดใหม่และงานด้านวัฒนธรรมมากมาย
หลังจากที่นาซีเยอรมนีรุกรานโปแลนด์ จนเป็นฉนวนสงครามโลกครั้งที่สอง กรากุฟกลายเป็นเมืองหลวงของเขตยึดครองเขตปกครองสามัญภายใต้เยอรมนี ชาวยิวในเมืองถูกย้ายออกไปอยู่ในเขตกำแพงที่เรียกว่า กรากุฟเกตโต จากนั้นถูกส่งไปค่ายมรณะอย่างเช่นเอาช์วิทซ์และกรากุฟ-ปวาชุฟ
ในปี ค.ศ. 1978 ในปีที่ยูเนสโกยกย่องให้กรากุฟอยู่ในรายชื่อมรดกโลก การอล วอยตือวา บาทหลวงแห่งเมืองกรากุฟขึ้นเป็นพระประมุขแห่งศาสนจักรนิกายโรมันคาทอลิกเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ถือเป็นพระสันตะปาปาคนแรกที่ไม่ใช่ชาวอิตาลีในรอบ 455 ปี และถือเป็นพระสันตะปาปาชาวสลาฟคนแรก[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Local Data Bank". Statistics Poland. สืบค้นเมื่อ 16 October 2021. Data for territorial unit 1261000.
- ↑ Sikora, Jakub (4 June 2018). "5 czerwca 1257 roku Kraków otrzymał prawa miejskie » Historykon.pl".
- ↑ euromonitor.com เก็บถาวร 2010-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Top 150 City Destinations, Caroline Bremner, 11 October 2007. Retrieved 29 May 2009
- ↑ staypoland.com Krakow TOURISM. Retrieved 29 May 2009
- ↑ Properties inscribed on the World Heritage list, Poland. Ratification of the convention: June 29, 1976. UNESCO World Heritage Centre. Last updated: July 6, 2009
- ↑ The Municipality Of Kraków Press Office, 1996–2007, in participation with ACK Cyfronet of the AGH University of Science and Technology, ""Our City. History of Krakow, archaeological findings"". สืบค้นเมื่อ 2007-09-11.
- ↑ "History". Krakow Info. สืบค้นเมื่อ 2009-06-05.
- ↑ "The judge: William P. Clark, Ronald ... - Google Books". books.google.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2009-07-19.
หมายเหตุ
[แก้]- Bieniarzówna Janina, Małecki Jan M., Mitkowski Józef (red.) Dzieje Krakowa, Wyd. Literackie, Kraków 1979; ISBN 83-08-00115-7 (całość)
- Agatstein–Dormontowa D., Żydzi w Krakowie, w okresie okupacji niemieckiej., [w:] „Rocznik Krakowski”, t. XXXI, Kraków 1958
- Podhorizer–Sandel E., O zagładzie Żydów w dystrykcie krakowskim, [w:] „Biuletyn ŻIH”, 1959, nr 30, s. 87–109