เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก Connective tissue)
เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน | |
---|---|
หน้าตัดของเอพิดิไดมิส จะเห็นว่าเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (สีฟ้า) ทำหน้าที่ค้ำจุนเนื้อเยื่อบุผิว (สีม่วง) | |
ตัวระบุ | |
MeSH | D003238 |
FMA | 96404 |
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์ |
เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (อังกฤษ: Connective tissue) เป็นหนึ่งในเนื้อเยื่อสัตว์พื้นฐานสี่อย่าง (อันได้แก่ เนื้อเยื่อบุผิว เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อประสาท) เนื้อเยื่อนี้มีลักษณะสำคัญร่วมกันคือ
- มีหน้าที่เกี่ยวกับการค้ำจุนและรักษาโครงสร้าง
- มักจะพัฒนามาจากเมโซเดิร์ม
- แบ่งประเภทตามลักษณะของเนื้อเยื่อที่ไม่มีชีวิต
เลือด กระดูกอ่อน และกระดูก จัดเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน แต่เนื่องจากเนื้อเยื่อเหล่านี้มีลักษณะแตกต่างไปจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันอื่น ๆ ใน เราจึงเรียกเนื้อเยื่อเกี่ยวพันอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เนื้อเยื่อสามประเภทนี้ว่า "เนื้อเยื่อเกี่ยวพันทั่วไป (connective tissue proper) " ในบางครั้งเราอาจแยกเนื้อเยื่อเกี่ยวพันตัวอ่อน (embryonic connective tissue) ออกเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันประเภทที่สาม
การแบ่งประเภทของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
[แก้]เนื้อเยื่อเกี่ยวพันทั่วไป (Connective tissue proper)
[แก้]- เนื้อเยื่อร่างแห (Areolar (or loose) connective tissue) ช่วยค้ำจุนอวัยวะและเนื้อเยื่อบุผิวให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ประกอบด้วยเส้นใยโปรตีนหลายชนิด เช่น เส้นใยคอลลาเจน และ เส้นใยอีลาสติน นอกจากนั้นเนื้อเยื่อนี้ยังมีบทบาทในการอักเสบ
- เนื้อเยื่อเกี่ยวพันหนาแน่น (Dense connective tissue) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า เนื้อเยื่อเส้นใย (fibrous connective tissue) รวมตัวกันเป็นเอ็น (ligament) และเอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) เส้นใยคอลลาเจนจะเรียงตัวกันหนาแน่นทำให้สามารถทนแรงตึงได้ดี
- เนื้อเยื่อเกี่ยวพันตาข่าย (Reticular connective tissue) เป็นโครงข่ายของเส้นใยเรติคูลาร์ (reticular fibre) (เส้นใยคอลลาเจน ชนิด III) รวมตัวกันเพื่อเป็นโครงให้อวัยวะน้ำเหลือง (lymphoid organ) ยึดเกาะ (เช่น ต่อมน้ำเหลือง (lymph node) , ไขกระดูก (bone marrow) , และม้าม (spleen))
- เนื้อเยื่อไขมัน (Adipose tissue) ประกอบด้วยเซลล์ไขมัน (adipocyte) ทำหน้าที่ป้องกันแรงกระทบกระเทือน เป็นฉนวนกันการสูญเสียความร้อน และช่วยหล่อลื่น (โดยเฉพาะในเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardium) และเก็บสะสมพลังงานในรูปไขมัน
เนื้อเยื่อเกี่ยวพันพิเศษ (Specialized connective tissues)
[แก้]- เลือด ทำหน้าที่ในการขนส่งสารต่าง ๆ ในร่างกาย สารองค์ประกอบนอกเซลล์ (extracellular matrix) คือ พลาสมา หรือ น้ำเลือด (blood plasma) ที่ซึ่งทำละลายและลำเลียงสารอาหาร, ฮอร์โมน และ คาร์บอนไดออกไซด์ในรูปของไบคาร์บอเนต เซลล์ที่เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ คือ เม็ดเลือดแดง
- กระดูก ประกอบกันขึ้นเป็นโครงร่างกายในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่โตเต็มที่
- กระดูกอ่อน เป็นโครงร่างกายในสัตว์จำพวกปลากระดูกอ่อน (chondrichthyes) ในสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ มักพบกระดูกอ่อนตามข้อต่อเพื่อช่วยในการป้องกันการกระทบเสียดสี สารองค์ประกอบนอกเซลล์ของกระดูกอ่อนส่วนใหญ่คือคอลลาเจน
เนื้อเยื่อเกี่ยวพันตัวอ่อน (Embryonic connective tissues)
[แก้]- มีเซนไคม์ (Mesenchyme or Mesenchymal connective tissue)
- เนื้อเยื่อเกี่ยวพันมิวคัส (Mucous connective tissue)
ชนิดของเส้นใย
[แก้]ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันพบเส้นใยต่างๆ ดังนี้
- เส้นใยคอลลาเจน (collagenous fibers)
- เส้นใยอีลาสติก (elastic fibers)
- เส้นใยร่างแห (reticular fibers)
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- connective+tissue จากเว็บไซต์ eMedicine Dictionary
- t_12/12810256 จาก Dorland's Medical Dictionary (อังกฤษ)
- เนื้อหาโดยย่อจากเว็บไซต์ kumc.edu เก็บถาวร 2010-12-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- ภาพตัวอย่างจุลกายวิภาคศาสตร์ของ College of Medicine at Urbana-Champaign 230 (อังกฤษ)
- ภาพเนื้อเยื่อเกี่ยวพันจากเว็บไซต์ uiowa.edu เก็บถาวร 2010-07-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
อ้างอิง
[แก้]- วินิดา บัณฑิต. วิทยาฮิสโต 1: เซลล์และเนื้อเยื่อพื้นฐาน. กรุงเทพ: ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545. (ไทย)