ข้ามไปเนื้อหา

โคอาที

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Coati)
โคอาที
โคอาทีจมูกขาว (Nasua narica)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Procyonidae
สกุล: Nasua และ Nasuella
แผนที่ขอบเขต

โคอาที (Coati) จากสกุล Nasua and Nasuella เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจากวงศ์แร็กคูนชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์ออกหากินในเวลากลางวัน ซึ่งแตกต่างจากสัตว์ในวงศ์แร็กคูนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นสัตว์กลางคืน โคอาทีมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ อเมริกากลาง และบริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกาเหนือ

นิรุกติศาสตร์

[แก้]

คำว่า "โคอาที" หรือ "โกอาตี" มาจากภาษากวารานี ภาษาท้องถิ่นในกลุ่มภาษาตูปี-กวารานีแห่งอเมริกาใต้ มีความหมายตามตัวอักษรว่า "จมูกยาว" ประกอบด้วยสองหน่วยคำ คือ coá- (โกอา แปลว่า "ยาว") และ -tî (ตี แปลว่า "จมูก")

แหล่งที่อยู่

[แก้]

โดยทั่วไป โคอาทีมีแหล่งอาศัยหลากหลายที่ โดยอาศัยอยู่ในบริเวณที่ร้อน แห้ง ชื้น เช่น ป่าดิบชื้นแอมะซอน บริเวณที่หนาวเย็นและสูงชัน เช่น ภูเขาแอนดีส (อเมริกาใต้) หรือบริเวณทุ่งหญ้าและตามพุ่มไม้ แหล่งอาศัยเริ่มต้นตั้งแต่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐ (ตอนใต้ของรัฐแอริโซนา นิวเม็กซิโก และเท็กซัส) จนถึงตอนเหนือของประเทศอุรุกวัย[1]บ้างเชื่อว่า มีโคอาทีประมาณ 10 ตัว ขยายพันธุ์อยู่ที่มณฑลคัมเบรีย ของสหราชอาณาจักร[2]

ช่วงชีวิต

[แก้]

ในป่า โคอาทีมีอายุได้ถึงประมาณ 7 ถึง 8 ปี แต่เมื่ออยู่กับมนุษย์ โคอาทีสามารถมีอายุได้ถึง 15 ถึง 16 ปี

การกิน

[แก้]

โคอาทีเป็นสัตว์ที่กินได้ทั้งพืชและเนื้อสัตว์ อาหารที่มักกิน ได้แก่ ผลไม้ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกแมลง (เช่น บึ้ง) และสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก (เช่น กิ้งก่า หนู สัตว์ปีกขนาดเล็ก ไข่นก และไข่จระเข้) โคอาทีมีจมูกที่ดี และมีเท้าหน้าที่สามารถใช้ขุดเอาสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังออกมาจากดินได้

สัตว์ที่ล่าเป็นเหยื่อในธรรมชาติ

[แก้]

สัตว์ที่ล่าโคอาทีเป็นเหยื่อ ได้แก่ แมวจากัวรันดี งูโบอาหางแดง จิ้งจอก หมา เพียงพอนไทรา แมวออเซลอต และเสือจากัวร์ นอกจากนี้ ยังมีสัตว์นักล่าจำพวกสัตว์ปีกตัวใหญ่ ได้แก่ อินทรี-เหยี่ยวหรูหรา เหยี่ยวสีเกาลัดและดำ และอินทรีฮาร์ปี[3] ส่วนลิงแคพิวชินหัวขาว มักล่าลูกของโคอาทีเป็นอาหาร[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Beisiegel, B. M. (2001). "Notes on the coati, Nasua nasua (Carnivora: Procyonidae) in an Atlantic Forest area". Brazilian Journal of Biology. 61 (4): 689–692. doi:10.1590/S1519-69842001000400020. ISSN 1519-6984.
  2. "Exotic animals 'found wild in UK'". BBC News. 2010-06-21.
  3. Southern Coatimundi. itech.pjc.edu
  4. Perry S.; Rose L. (1994). "Begging and transfer of coati meat by white-faced capuchin monkeys, Cebus capucinus" (PDF). Primates. 35 (4): 409–415. doi:10.1007/bf02381950.