ข้ามไปเนื้อหา

คลูโด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Cluedo)
คลูโด
ผู้จัดทำฮัสโบร
วัดดิงตันส์
พาร์เกอร์ บราเธอร์
วินนิง มูฟส์
วันที่ออกจำหน่าย1950; 75 ปีที่แล้ว (1950)
จำนวนผู้เล่น3 - 6 คน
ระยะเวลาติดตั้ง5 นาที
ระยะเวลาเล่น10 - 60 นาที
โอกาสสุ่มน้อย (ทอยลูกเต๋า)
ทักษะที่จำเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจ

คลูโด (Cluedo หรือ Clue ในเวอร์ชันของอเมริกาเหนือ) เป็นเกมกระดานแนวฆาตกรรมสืบสวนสอบสวน สำหรับผู้เล่น 3 – 6 คน คิดค้นเมื่อปี ค.ศ. 1949 โดย แอนโทนี เออร์เนสต์ แพรตต์ และวางจำหน่ายครั้งแรกในปี ค.ศ. 1950 โดยบริษัทแรกที่ผลิตเกมคือ วัดดิงตันส์ ในสหราชอาณาจักร ปัจจุบันสิทธิของการผลิตตกเป็นของฮัสโบร ตัวเกมมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เล่นหาตัวคนร้าย สถานที่เกิดเหตุ และใช้อาวุธใดในการฆาตกรรม และด้วยวัตถุประสงค์นี้เองที่ทำให้เกมนี้ได้รับความนิยม จนกระทั่งมีการนำไปทำเป็นนวนิยาย ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ อัลบั้มเพลง รายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์ และยังได้พัฒนาเป็นเกมบนคอมพิวเตอร์และสมาร์ตโฟนอีกด้วย[1]

ประวัติ

[แก้]

ในปี 1944 แอนโทนี เออร์เนสต์ แพรตต์ นักดนตรีชาวอังกฤษ ได้จดสิทธิบัตรเกมกระดานแนวฆาตกรรมสืบสวนสอบสวน เมอร์เดอร์ (Murder!)[2] ซึ่งเป็นต้นแบบของคลูโดในปัจจุบัน และหลังจากนั้นไม่นานเขาและเอลวา แพรตต์ ภรรยาได้ร่วมกันคิดค้นเกมกระดานใหม่ โดยนำเสนอให้ผู้จัดการของวัดดิงตันส์ นอร์มัน วัตสัน และนอร์มันได้ทำการซื้อทันที และได้จัดจำหน่ายในชื่อ คลูโด (Cluedo) โดยชื่อนี้มาจากคำว่า Clue ที่แปลว่า เงื่อนงำ อันมาจากลักษณะของเนื้อเรื่องที่เป็นเหตุการณ์ฆาตกรรมที่มีเงื่อนงำ และคำว่า Ludo ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลว่า ฉันเล่น ซึ่งก็มาจากลักษณะของเกมที่มีส่วนคล้ายเกมเกมกระดานในชื่อลูโด

แม้ว่าจะได้รับสิทธิบัตรในปี ค.ศ. 1947 แต่ภาวะขาดแคลนในช่วงหลังสงคราม ทำให้มีการเลื่อนการเปิดตัวเกมอย่างเป็นทางการในสหราชอาณาจักรไปจนถึงปี ค.ศ. 1949 [2] โดยพร้อมกันนั้น พาร์เกอร์ บราเธอร์ เป็นผู้ได้รับอนุญาตในสหรัฐ สำหรับการเผยแพร่โดยได้เปลี่ยนชื่อเป็น คลู (Clue)[3]

อุปกรณ์

[แก้]

ในชุดเกมนี้จะประกอบไปด้วย กระดานที่จะแสดงห้องต่างในคฤหาสน์ชนบทแห่งหนึ่งของอังกฤษ ชื่อ คฤหาสน์ทิวดอร์ ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองแฮมป์เชอร์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งเหตุการณ์เกิดขึ้นในปี 1926 หมากเดิน 6 ตัว คละสีกันซึ่งมี สีแดง สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีม่วง สีขาว หมากอาวุธ 6 ชนิด(บางก็เป็นไพ่เล็กๆ แสดงอาวุธ) ไพ่ห้องในคฤหาสน์ 9 ใบ ไพ่คนร้าย 6 ใบ ไพ่อาวุธ 6 ใบ ลูกเต๋า 2 ลูก ซองเอกสารสำหรับใส่ไพ่ที่จะกำหนดว่า ใครเป็นผู้ร้าย ฆาตกรรมสถานที่ใด ใช้อะไรในการฆ่า และกระดาษตารางโน้ตสำหรับใช้ในการสอบสวน ซึ่งผู้เล่นสามารถไม่ใช้มันในการเล่นได้

คนร้าย

[แก้]

ในแต่ละเวอร์ชันก็จะมีตัวละครแตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ผลิตในแต่ละประเทศ แต่จะมีตัวละครมาตรฐานอยู่ 6 ตัวดังนี้

  • "นางสาวสการ์เลต" (Miss Scalet) ในหมากสีแดง
  • "ศาสตราจารย์พลัม" (Professor Plum) ในหมากสีม่วง
  • "นางพีค็อก" (Mrs. Peacock) ในหมากสีน้ำเงิน
  • "นายกรีน" (Mr. Green)[3] ในหมากสีเขียว
  • "ผู้พันมัสตาร์ด" (Colonel Mustard) ในหมากสีเหลือง
  • "นางไวท์" (Mrs. White) ในหมากสีขาว

อาวุธ

[แก้]

ในแต่ละเวอร์ชันก็จะมีอาวุธแตกต่างกันออกไป บางเวอร์ชันมีถึง 9 ชิ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ผลิตในแต่ละประเทศ แต่จะมีอาวุธมาตรฐานอยู่ 6 ชิ้นดังนี้

ห้อง

[แก้]
ห้อง

ในแต่ละเวอร์ชันก็จะมีห้องแตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ผลิตในแต่ละประเทศ แต่จะมีห้องมาตรฐานอยู่ 9 ห้องดังนี้

 †     ห้องเต้นรำ     ‡ 
ห้องครัว ห้องกระจก
ห้องรับประทานอาหาร "ห้องใต้ดิน"
ใช้เป็น
ที่วางซองเอกสาร
ห้องสนุกเกอร์
ห้องสมุด
ห้องโถง
ห้องนั่งเล่น ห้องเรียน
 ‡ † 

† ‡ เป็นช่องทางลับที่สามารถข้ามไปได้โดยไม่ต้องทอยลูกเต๋า

กติกา

[แก้]
  1. แยกไพ่เป็น 3 กอง (1.ไพ่คนร้าย 2.ไพ่อาวุธ 3.ไพ่ห้อง)
  2. สับไพ่ แล้วเลือกไพ่มา 1 ใบ ใส่ซองเอกสาร
  3. รวมไพ่ที่เหลือ แล้วสับไพ่ แจกผู้เล่นจนไพ่หมด
  4. ผู้เล่นที่เล่นหมากสีแดง จะได้เริ่มเล่นก่อน (หรือถ้าไม่มีให้ยึดตามลำดับตัวละครด้านบน) และเล่นวนตามเข็มนาฬิกา
  5. เดินตามจำนวนที่ทอย
  6. ถ้าไม่สามารถเข้าห้องได้ ให้ข้ามไปคนต่อไป แต่ถ้าสามารถเข้าห้องได้ มี 2 กรณี
    1. ไม่สันนิษฐาน ให้ข้ามไปคนต่อไป
    2. สันนิษฐาน ให้สันนิษฐานว่า ใครเป็นคนฆ่า ใช้อะไรฆ่า ในห้องที่ตนเองอยู่ เมื่อสันนิษฐานแล้ว ให้นำหมากของผู้ต้องสงสัย และหมากอาวุธไว้วางไว้กับผู้สันนิษฐาน แล้วถามผู้เล่นที่อยู่ซ้ายมือ(คนต่อไป) ว่ามีในสิ่งที่ตนพูดไหม ถ้ามีอย่างใดอย่างหนึ่งให้โชว์ไพ่ต่อหน้าผู้ถาม ถ้ามีมากกว่าหนึ่งให้โชว์อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ถ้าไม่มีให้บอกว่าไม่มี เมื่อเสร็จแล้วให้ข้ามไปคนต่อไป ส่วนผู้ต้องสงสัยให้นำหมากไว้ในสถานที่นั้นเลย ไม่ต้องกลับที่จุดเริ่มต้น
  7. เมื่อกรณีที่จะตอบ ให้ตอบว่า ใครเป็นคนฆ่า ใช้อะไรฆ่า ในห้องอะไร[4] เมื่อตอบแล้วให้เปิดซองเอกสาร โดยห้ามให้ใครเห็นถ้าถูกทั้งสามอย่างถือว่าชนะ แต่ถ้าผิดอย่างใดอย่างหนึ่งถือว่าแพ้ ตัวเองไม่สามารถเดินได้ นำหมากออกจากกระดาน แต่ยังเป็นตัวยืนให้คนด้านขวาสอบถาม ถ้าไม่มีใครตอบถูก คนสุดท้ายที่ยังไม่ได้ตอบถือว่าชนะ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The 11 Best Classic Board Game App for Your Phone". makeuseof. สืบค้นเมื่อ 4 September 2019.
  2. 2.0 2.1 L. A. Petrosjan, V. V. Mazalov (2002). "Game Theory and Applications, Volume 8". p. 26. Nova Publishers
  3. 3.0 3.1 Watson, Victor (2008). The Waddingtons Story: From the early days to Monopoly, the Maxwell bids and into the next Millennium. Huddersfield: Jeremy Mills Publishing. p. 81. ISBN 978-1-906600-36-5. สืบค้นเมื่อ June 21, 2011.
  4. "Cluedo/Clue" rules. (PDF) . Retrieved on 2011-06-15.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]