ปลาก้างอินเดีย
ปลาก้างอินเดีย | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Anabantiformes |
วงศ์: | Channidae |
สกุล: | Channa |
สปีชีส์: | C. gachua |
ชื่อทวินาม | |
Channa gachua (Hamilton, 1822) | |
แผนที่การกระจายพันธุ์ของปลาก้างอินเดีย | |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อพ้อง
|
ปลาก้างอินเดีย หรือ ปลากั๊งอินเดีย (อังกฤษ: Dwarf snakehead; ชื่อวิทยาศาสตร์: Channa gachua) ปลาน้ำจืดขนาดเล็กในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีรูปร่างและขนาดลำตัวคล้ายคลึงกับปลาก้าง (C. limbata) ที่พบในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์มาก แต่ทว่า ปลาก้างอินเดียนั้นจะมีลำตัวที่ป้อมสั้นกว่า มีจำนวนเกล็ดที่ใต้ขากรรไกรล่างทั้งสองข้างเกล็ดเดียว มีขอบใต้ดวงตาสีแดง และไม่มีครีบท้อง การแพร่ขยายพันธุ์ ปลาเพศผู้จะเป็นฝ่ายอมไข่ในปากจนกว่าลูกปลาจะฟักเป็นตัว และดูแลลูกปลาใกล้ชนิดคู่กับปลาเพศเมีย
สีสันบนลำตัวนั้นมีหลากหลายเช่นเดียวกับปลาก้าง มีการกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียใต้ โดยพบที่อินเดีย, รัฐอัสสัม, บังกลาเทศ, ปากีสถาน ไปจนถึงตอนใต้ของประเทศจีน
นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเช่นเดียวกับปลาก้าง และปลาช่อนเจ็ดสี (C. bleheri) ซึ่งเป็นปลาที่เป็นขนาดเล็กในวงศ์เดียวกันเช่นกัน
อนึ่ง ปลาก้างที่พบในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์รวมถึงประเทศไทย โดยมากจะใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa gachua เช่นเดียวกับปลาก้างอินเดีย แต่ทว่าข้อเท็จจริงแล้วปลาทั้ง 2 ชนิดนั้นมีความแตกต่างกันพอสมควร แต่ทว่ายังไม่มีเอกสารหรือการยืนยันอย่างถูกต้องจากฝ่ายวิชาการ โดยในทัศนะของนักมีนวิทยาบางท่านเห็นว่า ปลาก้างชนิดที่พบในในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ สมควรใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa limbata (Cuvier, 1831) หรือ Channa aff. limbata [2]