นุ่น
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
นุ่น | |
---|---|
ต้นนุ่น | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Malvales |
วงศ์: | Malvaceae (Bombacaceae) |
สกุล: | Ceiba |
สปีชีส์: | C. pentandra |
ชื่อทวินาม | |
Ceiba pentandra (L.) Gaertn. |
นุ่น ชื่ออื่น ง้าว งิ้วน้อย งิ้วสร้อย งิ้วสาย (เหนือ) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 10–15 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ผลอ่อนสีเขียวลักษณะยาว ๆ คล้ายผลแตงกวา แต่มีขนาดใหญ่กว่า เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เนื้อข้างในเป็นปุยและมีเมล็ดสีดำจำนวนมาก ลำต้นและกิ่งก้านสีเขียว มีหนามสั้น ๆ ที่โคนต้น กิ่งทอดขนานกับพื้น ทิ้งใบในฤดูแล้ง ดอกสีขาวนวล ผลทรงรูปกระสวย ออกผลช่วงเดือน กุมภาพันธ์-เมษายน
ประโยชน์
[แก้]ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ฝักอ่อนมาก ๆ เนื้อในซึ่งยังไม่เปลี่ยนเป็นปุยนุ่นใช้เป็นอาหาร หรือจะกินสด ๆ หรือใส่แกง ใช้ปุยในผลแก่ยัดหมอน ฟูก ชาวบ้านป่ามักนำไปใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งของเชื้อไฟใน "ตะบันไฟ" เมล็ดใช้สกัดเป็นน้ำมันพืช กากที่เหลือใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ไส้นุ่น ใช้เพาะเห็ดฟาง เนื้อไม้นุ่น ทำกระสวยทอผ้า เยื่อกระดาษ ส้นรองเท้า ราก ใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ ชาวกะเหรี่ยงนำช่อดอกอ่อน ลวกกินกับน้ำพริก ปุยนุ่นที่แกะออกจากเมล็ดนำมายัดหมอนหรือที่นอน[1]
สรรพคุณทางยา
[แก้]สรรพคุณทางสมุนไพร เปลือกมีแทนนิน แก้ท้องเสีย แก้บิด ราก ขับปัสสาวะ
สมุดภาพ
[แก้]-
ลำต้น
-
หนาม
-
ลูกนุ่น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่271 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน