ซิดิลลา
¸ | |
Ç | ç |
Ḉ | ḉ |
Ḑ | ḑ |
Ȩ | ȩ |
Ḝ | ḝ |
Ģ | ģ |
Ḩ | ḩ |
Ķ | ķ |
Ļ | ļ |
Ņ | ņ |
Ŗ | ŗ |
Ş | ş |
Ţ | ţ |
ซิดิลลา (อังกฤษ: cedilla) หรือ เซดีย์ (ฝรั่งเศส: cédille) เป็นสัญลักษณ์รูปร่างคล้ายตะขอ ( ¸ ) อยู่ใต้พยัญชนะของอักษรละตินบางตัว เพื่อแสดงเสียงที่ต่างไปจากรูปปกติ เช่น ç ในภาษาฝรั่งเศสจะออกเสียงคล้ายเสียง ซ แต่ c จะออกเสียงคล้ายเสียง ค เป็นต้น
ที่มา
[แก้]ซิดิลลาในช่วงแรกปรากฏอยู่ร่วมกับอักษร c เท่านั้น โดยมีที่มาจากตัว z ในภาษาสเปนที่เขียนให้มีหางเป็นรูปร่างคล้ายตะขอด้านล่าง ชื่อ cedilla เองก็มาจากคำว่า ceda (ซีตา) ซึ่งเป็นชื่อของอักษรดังกล่าว ในปัจจุบันไม่มีการใช้ cedilla ในภาษาสเปนอีกแล้ว แต่ยังคงมีใช้ในภาษาโปรตุเกส ภาษากาตาลา และภาษาฝรั่งเศส
Ç
[แก้]ซิดิลลาใช้กับอักษร c บ่อยที่สุด โดยมักจะใช้เพื่อแยกความแตกต่างกับอักษร c กับ ç เพราะอักษร c ในหลาย ๆ ภาษาจะออกเสียงเป็นเสียงกัก เพดานอ่อน ไม่ก้อง ส่วนอักษร ç จะใช้แทนเสียงเสียดแทรก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง โดยอักษร ç จะใช้แทนเสียงดังกล่าวในภาษาฝรั่งเศส ภาษาโปรตุเกส ภาษากาตาลา ภาษาอุตซิตา และภาษาบาสก์
ในภาษาอื่น ๆ หลาย ๆ ภาษา เช่น ภาษาตุรกี ภาษาเคิร์ด ภาษาตาตาร์ ภาษาอาเซอร์ไบจาน ภาษาเติร์กเมน ภาษาแอลเบเนีย และภาษา Friulian อักษร ç จะใช้แทนเสียงกักเสียดแทรก หลังปุ่มเหงือก ไม่ก้อง (/tʃ/)
ซิดิลลากับอักษรตัวอื่น ๆ
[แก้]ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
นอกจากตัวอักษร ç แล้ว ซิดิลลายังใช้ประกอบกับตัวอักษรอื่น ๆ อีกในหลาย ๆ ภาษา ตัวอักษรที่พบเห็นบ่อยที่สุดคืออักษร ş ซึ่งใช้ในหลาย ๆ ภาษา ได้แก่ ภาษาตุรกี ภาษาโรมาเนีย ภาษาเคิร์ด ภาษาตาตาร์ ภาษาอาเซอร์ไบจาน ภาษาเติร์กเมน ภาษากากาอุซ ซึ่งจะใช้แทนเสียงเสียดแทรก หลังปุ่มเหงือก ไม่ก้อง (/ʃ/)
ในภาษาลัตเวีย ได้ใช้ซิดิลลากับอักษรหลายตัว ได้แก่ ģ ķ ļ และ ņ (ตามตารางทางด้านขวา) เพื่อแสดงลักษณะลิ้นส่วนหน้าสู่เพดานแข็ง อย่างไรก็ตาม เมื่อซิดิลลาประกอบกับอักษร g ซิดิลลาจะเขียนไว้ด้านบนแทน เนื่องจากอักษร g มีหางยาวลงมาด้านล่าง ทำให้เติมตะขอไม่ได้เหมือนอักษรอื่น ๆ