ข้ามไปเนื้อหา

เลียงผาญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Capricornis crispus)
เลียงผาญี่ปุ่น
Photograph of a grey goat-antelope in a forest, staring at the camera. It stands just behind a tree is that is in the right foreground.
เลี้ยงผาญี่ปุ่นในวะกิโนะซะวะ ประเทศญี่ปุ่น
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Bovidae
วงศ์ย่อย: Caprinae
สกุล: Capricornis
สปีชีส์: C.  crispus
ชื่อทวินาม
Capricornis crispus
(Swinhoe, 1870)[2]
ชื่อพ้อง[2][3]
  • Antilope crispa Temminck, 1836
  • Capricornis crispa (Gray, 1846)
  • Capricornulus crispus (Heude, 1898)
  • Capricornulus pryerianus (Heude, 1898)
  • Capricornulus saxicola (Heude, 1898)
  • Naemorhedus crispus (Groves & Grubb, 1985)
  • Nemorhaedus crispus (Grubb, 1993)

เลียงผาญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本カモシカ; โรมะจิ: Nihon kamoshika; ชื่อวิทยาศาสตร์: Capricornis crispus) เป็นสัตว์จำพวกที่มีเขาเป็นเกลียว และเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีกีบคู่จำพวกเลียงผาชนิดหนึ่ง พบได้ในป่าทึบในประเทศญี่ปุ่น ส่วนมากกระจายพันธุ์อยู่บริเวณตอนเหนือและตอนกลางของเกาะฮนชู โดยเลียงผาญี่ปุ่นถือเป็นสัญลักษณ์ของประเทศในด้านการปกป้องและอนุรักษ์ธรรมชาติ

ตัวโตเต็มวัยจะมีส่วนสูงราว 81 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 30-45 กิโลกรัม มีสีตัวตั้งแต่ดำไปจนถึงเทาและเมื่อกระทบกับแสงตะวันจะออกสีน้ำตาล มีขนหนาปุกปุยโดยเฉพาะตรงหาง ทั้งสองเพศต่างมีเขาขนาดเล็กโค้งงอไปด้านหลังเหมือนกันทำให้ยากที่จะจำแนกเพศด้วยสายตาได้ พวกมันอาศัยอยู่ในป่าภูเขาโดยจะออกหากินในช่วงเช้าและช่วงเย็นของวัน กินใบไม้, หน่อไม้ และลูกโอ็คเป็นอาหาร มักจะอาศัยอยู่แบบสันโดษหรือจับคู่กันอยู่หรือรวมกลุ่มกันอยู่ไม่เกินสี่ตัวและแต่ละกลุ่มจะไม่มีการปะปนเพศกัน พวกมันแบ่งอาณาเขตโดยปล่อยสารคัดหลั่งที่มีกลิ่นเปรี้ยว

กลางศตวรรษที่ 20 พวกมันถูกล่าเป็นจำนวนมากจนเกือบจะสูญพันธุ์ ทำให้ในปี 1955 รัฐบาลญี่ปุ่นต้องตรากฎหมายและกำหนดให้เลียงผาญี่ปุ่นเป็น "อนุสรณ์พิเศษแห่งชาติ" ซึ่งเป็นการปกป้องพวกมันจากเหล่านายพราน หลังจากนั้นประชากรพวกมันก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติได้ระบุให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ และนำไปสู่การยกเลิกกฎหมายดังกล่าวในปี 1979 โดยการนำของนักป่าไม้และเกษตรกร ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เลียงผาญี่ปุ่นก็เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองใน 13 พื้นที่ใน 23 จังหวัด และพวกมันยังได้ถูกตีตราโดยนักอนุรักษ์ว่าเป็น "สมบัติในป่าไม้ของชาติที่มีชีวิต"[4]

เชิงอรรถ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Tokida 2008.
  2. 2.0 2.1 Jass & Mead 2004, p. 1.
  3. Tokida 2008; Grubb 2005.
  4. "สมบัติในป่าไม้ของชาติที่มีชีวิต", ญี่ปุ่น: "living national treasure of the forest"โรมาจิ森の生きている国宝ทับศัพท์: mori no ikiteiru kokuhō

ผลงานที่อ้างถึง

[แก้]

หนังสือ

[แก้]

วารสาร

[แก้]

เว็บ

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]