ข้ามไปเนื้อหา

นกเป็ดน้ำหางวงแหวน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Callonetta)
นกเป็ดน้ำหางวงแหวน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Anseriformes
วงศ์: Anatidae
วงศ์ย่อย: Anatinae
เผ่า: Anatini
สกุล: Callonetta
Delacour, 1936
สปีชีส์: C.  leucophrys
ชื่อทวินาม
Callonetta leucophrys
(Vieillot, 1816)
ชื่อพ้อง
  • Anas leucophrys Vieillot, 1816
Callonetta leucophrys

นกเป็ดน้ำหางวงแหวน (อังกฤษ: Ringed teal; ชื่อวิทยาศาสตร์: Callonetta leucophrys) เป็นสัตว์ปีกจำพวกเป็ดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์นกเป็ดน้ำ (Anatidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Callonetta[2]

มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับเป็ด แต่มีขนาดลำตัวเล็กกว่ามาก มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวค่อนข้างป้อมสั้น มีจะงอยปากสีเทาดำ เท้าสีเทาดำเป็นพังผืดเพื่อช่วยในการว่ายน้ำ ขนตามตัวจะมีสีน้ำตาลแกมน้ำตาลแดงส่วนปลายหางจะมีสีน้ำตาลแดงและล้อมรอบด้วยสีเทาดำอย่างเห็นได้ชัด ส่วนขนที่ปลายปีกจะออกสีน้ำตาลปนสีเทาดำชัดเจน มีปีกที่ค่อนข้างยาวและมีความสามารถพิเศษที่สามารถกระพือปีกได้เร็วกว่านกอื่นทั่วไป จึงบินได้สูงและเร็ว และสามารถบินต่อเนื่องได้เป็นเวลานานหลายชั่วโมงโดยไม่หยุดพัก

มีการกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปอเมริกาใต้ โดยอาศัยรวมกันเป็นฝูงอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงตั้งแต่ 2 ตัว จนถึงหลายร้อยตัว เมื่อตกใจหรือบินจะบินตามติดกันเป็นฝูง ๆ ออกหากินในเวลากลางวันในละแวกใกล้เคียงที่อยู่อาศัยและกลับมานอนที่เดิมในตอนพลบค่ำ[3]

นกเป็ดน้ำหางวงแหวน ได้ชื่อว่าเป็นนกที่จับคู่ครองเพียงคู่เดียวตลอดชีวิต จึงมักใช้เป็นสัญลักษณ์ของความรักอยู่เสมอ ๆ

โดยนกเป็ดน้ำหางวงแหวน ไม่ใช่นกประจำถิ่นของประเทศไทย แต่อาจพบได้ในบางฤดูกาลด้วยว่าเป็นนกอพยพ แต่ก็พบได้ในปริมาณที่น้อยมาก ตามพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ต่าง ๆ เช่น บึงบอระเพ็ด เป็นต้น ซึ่งมักมีผู้มายิงนำไปรับประทานอยู่บ่อย ๆ โดยที่ไม่ได้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมายไทยแต่ประการใด[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. BirdLife International (2012). "Callonetta leucophrys". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. สืบค้นเมื่อ 26 November 2013.
  2. จาก itis.gov (อังกฤษ)
  3. นกเป็ดน้ำ
  4. สัตว์ป่าคุ้มครอง

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Callonetta leucophrys ที่วิกิสปีชีส์