นกเค้าแมวหิมะ
นกเค้าแมวหิมะ | |
---|---|
ตัวผู้ (♂) | |
บินโฉบเหยื่อที่ควิเบก, แคนาดา | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Strigiformes |
วงศ์: | Strigidae |
สกุล: | Bubo |
สปีชีส์: | B. scandiacus |
ชื่อทวินาม | |
Bubo scandiacus (Linnaeus, 1758) | |
สถานที่ขยายพันธุ์ สถานที่ไม่ขยายพันธุ์ | |
ชื่อพ้อง | |
|
นกเค้าแมวหิมะ หรือ นกเค้าหิมะ (อังกฤษ: Snowy owl; ชื่อวิทยาศาสตร์: Bubo scandiacus) นกล่าเหยื่อชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกเค้าแมว (Strigidae)
นกเค้าแมวหิมะจัดเป็นนกเค้าแมวที่มีขนาดใหญ่ มีลักษณะเด่น คือ ขนตามลำตัวเป็นสีขาวล้วนสะอาด มีหัวกลมสีเหลือง ดวงตากลมโตสีดำ, สีฟ้า หรือสีเหลือง เท้ามีขนมาก ขนตามลำตัวโดดเด่นด้วยสีขาวแต้มด้วยบางส่วนสีดำเป็นแถบแนวนอนหรือลายจุด นกตัวเมียและนกวัยที่ยังไม่โตเต็มที่จะมีจุดดำขึ้นตามลำตัวมากกว่า ในขณะที่ตัวผู้เป็นสีขาวเกือบทั้งหมด และสีขนอาจเปลี่ยนไปตามฤดูกาลเพียงเล็กน้อย[2]
ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ มีขนาดความยาวลำตัวประมาณ 51–68.5 เซนติเมตร (20–27 นิ้ว) ในขณะที่ตัวเมียประมาณ 66 เซนติเมตร (26 นิ้ว) ความยาวปีกประมาณ 137–164 เซนติเมตร (54–65 นิ้ว) เมื่อกางออก 137–164 เซนติเมตร (54–65 นิ้ว) น้ำหนักประมาณ 1,134–2,000 กรัม (40–70 ออนซ์) ตัวเมียประมาณ 1,707 กรัม (60 ออนซ์) ตัวผู้ประมาณ 1,612 กรัม (57 ออนซ์) [3] จัดเป็นนกเค้าแมวที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของโลก[4]
นกเค้าแมวหิมะ พบกระจายพันธุ์ในแถบซีกโลกทางตอนเหนือ เช่น เขตทุนดราทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปตอนเหนือบริเวณใกล้กับขั้วโลกเหนือ, วงกลมอาร์กติก หรือสแกนดิเนเวีย หากินช่วงกลางวันตั้งแต่เช้าถึงค่ำ มีความแข็งแรงและมั่นคงบินมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว บินสั้น ๆ ใกล้พื้นดิน นกเค้าแมวหิมะมีความก้าวร้าวเมื่อทำรังวางไข่ นกเค้าแมวหิมะทำรังบนพื้นดินที่เป็นทุ่งหญ้าในช่วงฤดูร้อนของเขตอาร์กติก [2]วางไข่ครั้งละ 6–8 หรือ 10 ฟอง โดยไข่ฟองแรกจะฟักเป็นตัวก่อนฟองสุดท้ายประมาณ 2 สัปดาห์ ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันดูแลไข่และลูกนก พ่อแม่นกจะฉีกเหยื่อเป็นชิ้น ๆ ก่อนจะป้อนให้ จนกว่าลูกนกจะโตพอแล้วจึงจะกลืนกินทั้งตัว จนกระทั่งลูกนกอายุได้ 6 สัปดาห์จึงพอจะช่วยเหลือตัวเองได้ นกเค้าแมวหิมะมีพฤติกรรมการเลี้ยงลูกนกต่างจากนกล่าเหยื่อชนิดอื่น ๆ ตรงที่จะดูแลลูกนกตัวที่อ่อนแอที่สุดด้วยโดยไม่ทอดทิ้ง เมื่อลูกนกค่อย ๆ โตขึ้น จะมีขนสีเทาขึ้นปกคลุมลำตัว และพ่อแม่นกจะทิ้งลูกนกให้อยู่ตามลำพังมากขึ้น ลูกนกเค้าแมวหิมะจะเริ่มหัดบินก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูหนาว[2]
มีพฤติกรรมในการล่าเหยื่อด้วยการเฝ้ารอ หรือกระทั่งติดตามเหยื่อ ส่วนใหญ่มักล่าเหยื่อในเวลากลางวัน เหยื่อมีทั้งถูกจับบนพื้นและในอากาศ เหยื่อขนาดเล็กจะถูกกลืนทั้งหมด เหยื่อขนาดใหญ่จะถูกฉีกเป็นชิ้นใหญ่ กินอาหารจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือสัตว์เลือดอุ่นขนาดเล็ก เช่น นก, หนูเลมมิ่ง, กระรอก, กระต่าย, เป็ด, ห่าน หรือแม้กระทั่งลูกของหมาป่าหรือหมาจิ้งจอกขนาดเล็ก แต่จะไม่ล่าใกล้รังของนกชนิดอื่น แต่ขณะเดียวกันไข่นกหรือลูกนกก็ถูกรังควาญจากหมาป่าหรือหมาจิ้งจอกด้วยเช่นกัน[2]
รูปภาพ
[แก้]-
ตัวเมีย (♀)
-
นกคู่ในรังที่บริติชโคลัมเบีย, แคนาดา
-
สีขนของนกที่ยังโตไม่เต็มที่ที่อลาสกา
-
ที่แคนซัสซิตี
-
ที่ออตตาวา, แคนาดา
-
Bubo scandiacus
อ้างอิง
[แก้]- ↑ BirdLife International (2012). "Bubo scandiaca". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. สืบค้นเมื่อ 26 November 2013.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 TUNDRA, "Wildest Arctic" สารคดีทางแอนิมอลแพลนเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: จันทร์ที่ 30 ธันวาคม 2556
- ↑ Potapov, Eugene and Sale, Richard (2013). The Snowy Owl. T&APoyser. ISBN 978-0713688177.
- ↑ "10 อันดับ สายพันธุ์นกฮูกที่ใหญ่ที่สุด". Toptenthailand.com. 24 March 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 24 March 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Bubo scandiacus ที่วิกิสปีชีส์