พังกาหัวสุมดอกแดง
พังกาหัวสุมดอกแดง | |
---|---|
![]() | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Malpighiales |
วงศ์: | Rhizophoraceae |
สกุล: | Bruguiera |
สปีชีส์: | B. gymnorrhiza |
ชื่อทวินาม | |
Bruguiera gymnorrhiza (L.) Lam. |
พังกาหัวสุมดอกแดง หรือโกงกางหัวสุม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bruguiera gymnorrhiza; อังกฤษ: Black mangrove, อาฟรีกานส์: Swart-wortelboom, โคซา: Isikhangati, ซูลู: Isihlobane)[1] เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Rhizophoraceae เปลือกต้นแตกเป็นแนวยาว สีน้ำตาลหรือสีดำ โคนต้นมีพูพอนสูง มีรากหายใจ ใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม ท้องใบสีอ่อน ก้านใบสีเหลืองอมน้ำตาล ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ กลีบเลี้ยงสีแดง ดอกตูมรูปร่างเป็นทรงกระสวย กลีบดอกสีขาวอมชมพู ผลคล้ายลูกข่าง งอกตั้งแต่อยู่บนต้น ฝักคล้ายกระสวย อ่อนเป็นสีเขียวเข้ม แก่แล้วเป็นสีม่วงออกดำ
การใช้ประโยชน์
[แก้]เปลือกแห้งมีแทนนินถึง 35% ใช้ในการฟอกย้อมหนังและแหอวน สารโพลบาฟีนในเปลือกลำต้นให้สีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม ใช้ทำเสาเพราะทนทานต่อการทำลายของปลวกและเพรียง เปลือกใช้ทำกาว มีฤทธิ์เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเสีย ใช้กินกับหมาก[2] ในมัลดีฟส์ นำฝักของพังกาหัวสุมดอกแดงไปต้มแล้วรับประทานเป็นผัก ซึ่งเป็นที่นิยมมากกว่าฝักถั่วขาว[3]
อ้างอิง
[แก้]- มัณฑนา นวลเจริญ. 2552. สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่. กทม. สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ↑ "Protected Trees" (PDF). Department of Water Affairs and Forestry, Republic of South Africa. 3 May 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-07-05. สืบค้นเมื่อ 2013-05-20.
- ↑ พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3: พืชให้สีย้อมและแทนนิน. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544.หน้า 61 –62
- ↑ Xavier Romero-Frias, The Maldive Islanders, A Study of the Popular Culture of an Ancient Ocean Kingdom, Barcelona 1999, ISBN 84-7254-801-5