งูตาแมว
งูตาแมว | |
---|---|
งูปล้องทอง (B. dendrophila) เป็นชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย โดยมักอาศัยอยู่ในป่าชายเลน | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลื้อยคลาน |
อันดับ: | กิ้งก่าและงู |
อันดับย่อย: | งู Serpentes |
วงศ์: | วงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง |
วงศ์ย่อย: | วงศ์ย่อยงูเขียว |
สกุล: | งูตาแมว Fitzinger, 1826 |
งูตาแมว[1] หรือ งูแมว (อังกฤษ: Cat-eyed snakes, Cat snakes, Boigas) เป็นสกุลของงูในสกุล Boiga ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหลัง (Colubridae) ในวงศ์ย่อยงูเขียว (Colubrinae)
เป็นงูที่มีถิ่นกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย, อินเดีย และออสเตรเลีย เป็นงูที่มีพิษแต่ทว่าพิษไม่ร้ายแรงและไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ หากถูกรบกวนจะมีพฤติกรรมยกหัวและลำตัวส่วนหน้า (ประมาณ 1/3 ของความยาวลำตัว) สูงขึ้นมาจากพื้นดิน พับลำตัวไป-มาโดยมีหัวอยู่ในตำแหน่งตรงกลางของรอยพับ พร้อมทั้งโยกลำตัวให้เอนไป-มาทางด้านหน้าและทางด้านหลัง แกว่งหางค่อนข้างถี่และอ้าปากกว้าง ต่อจากนั้นยืดลำตัวและพุ่งเข้าฉกหรือกัดอย่างรวดเร็ว แล้วดึงลำตัวกลับไปอยู่ในตำแหนงเดิม[2] ได้รับความนิยมในแง่ของการเป็นสัตว์เลี้ยงในหลายชนิด[3] เป็นงูที่ออกลูกเป็นไข่[4] หากินในเวลากลางคืน จับสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กิ้งก่า, จิ้งจก, งูขนาดเล็ก หรือนกเป็นอาหาร
การจำแนก
[แก้]รายชื่อชนิดและชนิดย่อยด้านล่างได้รับการยอมรับว่าอยู่ในชนิดนี้จริง[5] โดยพบในประเทศไทยอย่างน้อย 11 ชนิด
- Boiga andamanensis (Wall, 1909) – Andaman cat snake
- Boiga angulata (W. Peters, 1861) – Leyte cat snake
- Boiga barnesii (Günther, 1869) – Barnes' cat snake
- Boiga beddomei (Wall, 1909) – Beddome's cat snake
- Boiga bengkuluensis Orlov, Kudryavtzev, Ryabov & Shumakov, 2003
- Boiga bourreti Tillack, Ziegler & Le Khac Quyet, 2004
- Boiga ceylonensis (Günther, 1858) – Sri Lanka cat snake
- Boiga cyanea (A.M.C. Duméril, Bibron & A.H.A. Duméril, 1854) – งูเขียวบอน, งูเขียวดง
- Boiga cynodon (F. Boie, 1827) – งูแส้หางม้า
- Boiga dendrophila (F. Boie, 1827) – งูปล้องทอง
- Boiga dendrophila annectens (Boulenger, 1896)
- Boiga dendrophila dendrophila (F. Boie, 1827)
- Boiga dendrophila divergens Taylor, 1922
- Boiga dendrophila gemmicincta (A.M.C. Duméril, Bibron & A.H.A. Duméril, 1854)
- Boiga dendrophila latifasciata (Boulenger, 1896)
- Boiga dendrophila levitoni Gaulke, Demegillo & G. Vogel, 2005
- Boiga dendrophila multicincta (Boulenger, 1896)
- Boiga dendrophila occidentalis Brongersma, 1934
- Boiga dightoni (Boulenger, 1894) – Pirmad cat snake
- Boiga dightoni whitakeri Ganesh, Mallik, Achyuthan, Shanker & G. Vogel, 2021 – Whitaker's cat snake
- Boiga drapiezii (H. Boie in F. Boie, 1827) – งูดงลาย
- Boiga flaviviridis G. Vogel & Ganesh, 2013
- Boiga forsteni (A.M.C. Duméril, Bibron & A.H.A. Duméril, 1854) – Forsten's cat snake
- Boiga gocool (Gray, 1835) – arrowback tree snake
- Boiga guangxiensis Wen, 1998
- Boiga hoeseli Ramadhan, Iskandar & Subasri, 2010
- Boiga irregularis (Merrem, 1802) – brown tree snake
- Boiga jaspidea (A.M.C. Duméril, Bibron & A.H.A. Duméril, 1854) – งูกระ
- Boiga kraepelini (Stejneger, 1902) – Kelung cat snake
- Boiga melanota (Boulenger, 1896)
- Boiga multifasciata (Blyth, 1861) – many-banded cat snake
- Boiga multomaculata (F. Boie, 1827) – งูแม่ตะงาวรังนก
- Boiga nigriceps (Günther, 1863) – งูต้องไฟ
- Boiga nuchalis (Günther, 1875) – collared cat snake
- Boiga ochracea (Günther, 1868) – tawny cat snake
- Boiga philippina (W. Peters, 1867) – Philippine cat snake
- Boiga quincunciata (Wall, 1908)
- Boiga ranawanei (Samarawickrama, Samarawickrama, Wijesena, & Orlov, 2005) – Ranawana's cat snake
- Boiga saengsomi Nutphand, 1985 – งูเขียวดงลาย
- Boiga schultzei Taylor, 1923 – Schultze's blunt-headed tree snake
- Boiga siamensis (Nutphand, 1971) – งูแส้หางม้าเทา
- Boiga tanahjampeana Orlov & Ryabov, 2002
- Boiga thackerayi Giri, Deepak, Captain, Pawar & Tillack, 2019 – Thackeray's cat snake
- Boiga trigonata (Schneider, 1802) – Indian gamma snake
- Boiga trigonata trigonata (Schneider, 1802)
- Boiga trigonata melanocephala (Annandale, 1904)
- Boiga wallachi Das, 1998 – Nicobar cat snake
- Boiga westermanni Reinhardt, 1863 – Indian egg-eating snak
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่องู
- ↑ "งูเขียวบอน งูเขียวดง" (PDF). สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช.
- ↑ "The Brown Treesnake on Guam". Fort Collins Science Center, United States Geological Survey.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-08. สืบค้นเมื่อ 2016-08-14.
- ↑ แม่แบบ:EMBL genus www.reptile-database.org.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Fitzinger LI (1826). Neue Classification der Reptilien nach ihren natürlichen Verwandtschaften. Nebst einer Verwandtschafts-tafel und einem Verzeichnisse der Reptilien-Sammlung des k.k. zoologischen Museums zu Wien. Vienna: J.G. Heubner. five unnumbered + 67 pp. + one plate. (Boiga, new genus, p. 60). (in German and Latin).