ข้ามไปเนื้อหา

เซลล์ประสาทสองขั้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Bipolar neuron)
เซลล์ประสาทสองขั้ว
(Bipolar neuron)
เซลล์ประสาทสองขั้วจาก spinal ganglion ของปลาสปีชีส์ Esox lucius
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินneuron bipolare
THH2.00.06.1.00050
FMA67282
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

เซลล์ประสาทสองขั้ว[1] (อังกฤษ: bipolar cell, bipolar neuron, bipolar nerve cell, neuron bipolare) เป็นเซลล์ประสาทที่มีส่วนยื่น (extension) ออกไปเป็นสองขั้ว เป็นเซลล์ประสาทรับความรู้สึกมีหน้าที่พิเศษในการส่งข้อมูลจากประสาทสัมผัสต่าง ๆ และเพราะเหตุนั้น จึงเป็นส่วนของวิถีประสาทรับความรู้สึกเกี่ยวกับการได้กลิ่น การเห็น การลิ้มรส การได้ยิน และประสาทเกี่ยวกับการทรงตัว

ตัวอย่างสามัญของเซลล์ประเภทนี้รวมทั้งเซลล์ประสาทสองขั้วในเรตินา, ปมประสาทของเส้นประสาท vestibulocochlear nerve[2], และเซลล์มากมายที่ใช้ในการส่งสัญญาณที่ส่งจากระบบประสาทกลาง (efferent) เพื่อควบคุมกล้ามเนื้อ

ในเรตินา

[แก้]

พบได้บ่อย ๆ ในเรตินา เซลล์ประสาทสองขั้วเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ในวิถีประสาททั้งแบบตรงและแบบอ้อม ตำแหน่งเฉพาะของเซลล์ทำให้เซลล์สามารถทำหน้าที่เป็นส่วนของทางสัญญาณ ทั้งที่เริ่มจากเซลล์รับแสงและทั้งก่อนที่จะไปถึง retinal ganglion cell เซลล์ประสาทสองขั้วในเรตินามีการส่งสัญญาณที่ไม่เหมือนกับเซลล์อื่น ๆ ในเรตินา คือ มีลานรับสัญญาณแบบจุดกลาง-ส่วนรอบ (center-surround) และเซลล์หนึ่งจึงอาจจะเป็นแบบ off-center หรือ on-center เซลล์ off-center จะมีความสัมพันธ์แบบเร้า (excitatory) กับไซแนปส์ที่เชื่อมกับเซลล์รับแสงและมีสภาพเป็น hyperpolarization เมื่อมีแสง ส่วนเซลล์ on-center จะมีไซแนปส์แบบยับยั้ง (inhibitory) และดังนั้นจึงมีสภาพเป็น depolarization เมื่อมีแสง[3]

ในเส้นประสาท Vestibular Nerve

[แก้]

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีเซลล์ประสาทสองขั้วในเส้นประสาท vestibular nerve ที่มีหน้าที่การรับรู้โดยเฉพาะเกี่ยวกับการได้ยิน การทรงตัว และการตรวจจับการเคลื่อนไหว ซึ่งโดยมากเป็นส่วนของ vestibular nerve ภายใน vestibular ganglion โดยมีแอกซอนส่งไปที่ maculae ของ utricle และของ saccule และส่งไปที่ ampullae ของหลอดกึ่งวงกลม (semicircular canal)[4]

ในปมประสาทของไขสันหลัง

[แก้]

ยังมีเซลล์ประสาทสองขั้วในปมประสาทของไขสันหลัง (spinal ganglia) อีกด้วย เมื่อเซลล์อยู่ในสภาพเอ็มบริโอ บางครั้งส่วนยื่น (extension หรือ process) ที่ออกมาจากเซลล์มาจากขั้วตรงกันข้ามกัน ดังนั้นเซลล์จึงมีรูปร่างคล้ายกระสวย ส่วนในเซลล์อื่น ส่วนยื่นทั้งสองออกมาจากเซลล์ที่จุดเดียวกัน ในบางกรณีที่ดูเหมือนจะมีใยประสาทสองเส้นเชื่อมอยู่กับเซลล์ แต่ใยประสาทเส้นหนึ่งจริง ๆ แล้วมาจากเซลล์ที่อยู่ติดกันและกำลังวิ่งผ่านไปเป็นสาขาเชื่อมกับ ganglion cell หรือบางทีอาจจะเป็นใยประสาทของเซลล์นั้นเองที่พันรอบส่วนที่ยื่นออกมาเป็นเกลียว[5]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. "พจนานุกรมคำศัพท์ (หมวด B)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2557-07-08. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. Bipolar+cell จากเว็บไซต์ eMedicine Dictionary
  3. David Hubel's Eye, Brain and, Vision, [1] เก็บถาวร 2018-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. Clinically Oriented Anatomy, [2]
  5. Henry Gray (1918). "Anatomy of the Human Body". สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2557. {{cite web}}: |chapter= ถูกละเว้น (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

รูปอื่น ๆ

[แก้]