บิลลี จีน คิง
บิลลี จีน คิง | |
---|---|
บิลลี จีน คิง ในเดือนกันยายน 2011 | |
เกิด | บิลลี จีน มอฟฟิตต์ พฤศจิกายน 22, 1943 ลองบีช รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ |
ส่วนสูง | 1.64 m (5 ft 4 1⁄2 in) |
อาชีพนักเทนนิส | |
ประเทศ (กีฬา) | สหรัฐ |
เทิร์นโปร | 1959 |
ถอนตัว | 1990 |
การเล่น | มือขวา (แบ็คแฮนด์มือเดียว) |
College | California State University, Los Angeles |
เงินรางวัล | 1,966,487 ดอลลาร์สหรัฐ[1] |
Int. Tennis HoF | 1987 (member page) |
เว็บไซต์ทางการ | www.billiejeanking.com |
เดี่ยว | |
สถิติอาชีพ | 695–155 (81.76%) |
รายการอาชีพที่ชนะ | 129 (67 during open era) |
อันดับสูงสุด | No. 1 (1966, Lance Tingay) |
ผลแกรนด์สแลมเดี่ยว | |
ออสเตรเลียนโอเพน | W (1968) |
เฟรนช์โอเพน | W (1972) |
วิมเบิลดัน | W (1966, 1967, 1968, 1972, 1973, 1975) |
ยูเอสโอเพน | W (1967, 1971, 1972, 1974) |
คู่ | |
สถิติอาชีพ | 87–37 (as shown on WTA website)[1] |
อันดับสูงสุด | No. 1 (1967) |
ผลแกรนด์สแลมคู่ | |
ออสเตรเลียนโอเพน | F (1965, 1969) |
เฟรนช์โอเพน | W (1972) |
วิมเบิลดัน | W (1961, 1962, 1965, 1967, 1968, 1970, 1971, 1972, 1973, 1979) |
ยูเอสโอเพน | W (1964, 1967, 1974, 1978, 1980) |
การแข่งขันคู่อื่น ๆ | |
Tour Finals | W (1974, 1976, 1978, 1980) |
คู่ผสม | |
รายการอาชีพที่ชนะ | 11 |
ผลแกรนด์สแลมคู่ผสม | |
Australian Open | W (1968) |
French Open | W (1967, 1970) |
Wimbledon | W (1967, 1971, 1973, 1974) |
US Open | W (1967, 1971, 1973, 1976) |
การแข่งขันแบบทีม | |
Fed Cup | W (1963, 1966, 1967, 1976, 1977, 1978, 1979) (as player) W (1976, 1996, 1999, 2000) (as captain) |
อาชีพการฝึกสอน | |
ลายมือชื่อ | |
บิลลี จีน คิง (อังกฤษ: Billie Jean King เดิม Moffitt ; 22 พฤศจิกายน 1943) เป็นอดีตนักเทนนิสมือ 1 ของโลกชาวอเมริกัน เคยคว้าแชมป์รายการแกรนด์สแลม ทั้งหมด 39 รายการ 12 รายการในประเภทเดี่ยว 16 ในประเภทหญิงคู่และ 11 รายการในประเภทคู่ผสม เธอเป็นตัวแทนของสหรัฐอเมริกาในแข่งขัน Federation Cup และ Wightman Cup หลายครั้ง และเป็นสมาชิกคนหนึ่งของทีมชาติสหรัฐที่สามารถคว้าแชมป์ Federation Cup ถึง 7 สมัย และ Wightman Cup คัพถึง 9 สมัย เธอเป็นกัปตันทีมชาติสหรัฐ ในการแข่งขันFedetration Cup เป็นเวลาสามปี
คิงเป็นผู้สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศและเป็นผู้บุกเบิกความเสมอภาคและความยุติธรรมทางสังคม[2] ในปีค.ศ. 1973 เมื่ออายุ 29 เธอชนะการแข่งขันเทนนิส " Battle of the Sexes " กับ บ็อบบี้ ริกส์ วัย 55 ปี[3] เธอเป็นผู้ก่อตั้ง สมาคมนักเทนนิสอาชีพหญิงและมูลนิธิกีฬาสตรี อีกด้วย และเธอยังมีบทบาทสำคัญในการโน้มน้าวแบรนด์บุหรี่ เวอร์จิเนียสลิมส์ ให้สนับสนุนกีฬาเทนนิสหญิงในปีค.ศ. 1970 และดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมการของบริษัทแม่ Philip Morris ในช่วงปีค.ศ. 2000
เธอได้รับการยกย่องจากหลาย ๆ คนในวงการกีฬาว่าเป็นหนึ่งในนักเทนนิสหญิงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล [4] [5] [6] [7] คิงได้รับแต่งตั้งให้เข้าสู่หอเกียรติยศเทนนิสนานาชาติ ในปีค.ศ. 1987 รางวัลความเป็นเลิศของ Fed Cup มอบให้กับเธอในปีค.ศ. 2010 ในปีค.ศ. 1972 เธอเป็นผู้ชนะร่วมกับ John Wooden จากรางวัล Sports Illustrated สาขานักกีฬาแห่งปี และ เป็นหนึ่งในบุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์ในปีค.ศ. 1975 เธอยังได้รับรางวัล เหรียญอิสรภาพประธานาธิบดี และ Sunday Times Sportswoman of the Year lifetime achievement award เธอได้รับการเสนอชื่อเข้าหอเกียรติยศสตรีแห่งชาติในปีค.ศ. 1990 และในปี ค.ศ. 2006 ศูนย์เทนนิสแห่งชาติ USTA ในนิวยอร์กซิตี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์เทนนิสแห่งชาติบิลลี จีน คิง ในปีค.ศ. 2018 เธอได้รับรางวัล BBC Sports Personality of the Year Lifetime Achievement Award
ด้วยความสูง 1.64 เมตร (5 ฟุต 4 1⁄2 นิ้ว) คิงเป็นผู้เล่นเตี้ยที่สุดที่เคยชนะรายการแกรนด์สแลม
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]บีลลี จีนและแลร์รี่ คิงหมั้นกันในฤดูใบไม้ร่วงปีค.ศ. 1964 และแต่งงานกันที่ลองบีช แคลิฟลอเนียเมื่อวันที่ 17 กันยายน 1965 [8] [9] บิลลี จีนให้เครดิตกับแลร์รี่ว่าเป็นผู้แนะนำให้เธอรู้จักกับคตินิยมสิทธิสตรี และผลักดันให้เธอเล่นเทนนิสเป็นอาชีพ [10] บิลลี จีนกล่าวในภายหลังว่าเธอ "ตกหลุมรักแลร์รี่" ตอนที่พวกเขาแต่งงานกัน [11]
ในปี 1968 คิงตระหนักว่าเธอชอบผู้หญิง [12] ในปี 1971 เธอเริ่มมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเลขานุการของเธอ มาริลิน บาร์เน็ตต์ (เกิด มาริลิน แคธลิน แมคเลย์ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 1948) มาริลิน บาร์เน็ตต์ อาศัยอยู่โดยไม่ได้จ่ายค่าเช่าในบ้านบาลิบูของบิลลี จีนและแลร์รี่ คิง ในปี 1979 คิงขอให้บาร์เน็ตต์ย้ายออกจากบ้าน แต่บาร์เน็ตต์ไม่ต้องการ เธอปฏิเสธที่จะออกจากบ้าน และขู่ว่าจะรั่วไหลบันทึกและใบเสร็จรับเงินระหว่างทั้งสองที่เธอเก็บไว้ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทั้งจดหมายจากคิง ใบเสร็จรับเงินบัตรเครดิต และใบเรียกเก็บเงินที่ชำระแล้ว [13] เมื่อความพยายามที่จะรั่วไหลข้อมูลเหล่านี้ล้มเหลว มาริลินจึงฟ้องคิงในปี 1981 เพื่อขอเงินครึ่งหนึ่งและบ้านมาลิบูที่เธอเคยพัก [13] บิลลี จีน คิงไม่ทราบเกี่ยวกับคดีนี้ จนกระทั่งนักข่าวจาก Los Angeles Times ถามเธอ เพราะเธอไม่ต้องการยืนยันเรื่องนี้ เธอจึงปฏิเสธความสัมพันธ์[14] บิลลี จีนออกมายอดรับถึงความสัมพันธ์นี้ เมื่อถูกเปิดเผยต่อสาธารณะในคดีฟ้องร้องเมื่อเดือนพฤษภาคม 1981 ซึ่ง บาร์เน็ตต์ยื่นฟ้อง ทำให้ Billie Jean เป็นนักกีฬาอาชีพหญิงที่มีชื่อเสียงคนแรกที่ Coming out เธอรู้สึกว่าเธอไม่สามารถเปิดเผยตัวตนของเธอได้ จึงกล่าวถึงความสัมพันธ์นี้ว่าเป็นความสัมพันธ์ระยะสั้นๆและความผิดพลาด [10] เธอยังคงแต่งงานกับแลร์รี[10] คดีดังกล่าวทำให้ บิลลี จีนสูญเสียเงินสนับสนุนประมาณ 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐและบังคับให้เธอเล่นอาชีพเทนนิสของเธอต่อเพื่อจ่ายค่าทนายความ [15] ในเดือนธันวาคม 1981 คำสั่งศาลระบุว่าบาร์เน็ตต์ต้องออกจากบ้าน และการขู่ว่าจะเผยแพร่จดหมายโต้ตอบส่วนตัวระหว่างเธอกับคิงเพื่อแลกกับเงินก็ใกล้เข้าขั้นการขู่กรรโชกแล้ว คดีความของบาร์เน็ตต์ถูกนำออกจากศาลในเดือนพฤศจิกายน 1982 โดยสรุปว่าเธอไม่มีคดีกับนางคิงและแลร์รีสามีของเธอ [16] เพียงไม่กี่เดือนต่อมาในเดือนมีนาคม 1983 บ้านของคิงที่มาลิบูก็ได้ถูกทำลายลงระหว่างพายุฤดูหนาวที่พัดโหมกระหน่ำหลายครั้งซึ่งกระทบแนวชายฝั่งทางตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย [17]
นอกจากนี้ในปี 1971 คิงได้ทำแท้งและโดนเผยแพร่ในบทความนิตยสาร Ms. [12] แลร์รี่ได้เปิดเผยเรื่องที่บิลลี่ จีนทำแท้งโดยไม่ปรึกษาเธอ [12]
หลังจากเป็นกังวลในการปกปิดเรื่องเพศของเธอมานานหลายปี บิลลี่ จีน กล่าวว่า: ฉันอยากจะบอกความจริงแต่พ่อแม่ของฉันเป็นโฮโมโฟเบียและฉันจึงต้องปกปิดตัวตน นอกจากนั้น ฉันมีคนบอกฉันว่าถ้าฉันพูดถึงสิ่งที่ฉันกำลังเผชิญ มันจะเป็นจุดสิ้นสุดของการทัวร์ของฉัน ฉันไม่สามารถจะซ่อนตัวเองในตู้ที่ลึกพอ เป้าหมายใหญ่อย่างหนึ่งของฉันคือการซื่อสัตย์กับพ่อแม่เสมอ และฉันก็ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ ฉันพยายามจะพูดถึงเรื่องนี้แต่รู้สึกว่าทำไม่ได้ แม่ของฉันจะพูดว่า "เราจะไม่พูดถึงเรื่องแบบนั้น" และฉันก็หยุดได้ง่ายมากเพราะว่าฉันยังลังเลอยู่ดี ฉันลงเอยด้วยความผิดปกติของการกินที่เกิดจากการพยายามทำให้ตัวเองชาจากความรู้สึกของฉัน ฉันต้องยอมแพ้เร็วกว่าที่ฉันทำ เมื่ออายุ 51 ปี ในที่สุดฉันก็สามารถพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้กับพ่อแม่ได้ และฉันไม่ต้องวัดคำพูดกับพ่อแม่อีกต่อไป นั่นเป็นจุดเปลี่ยนสำหรับฉัน เพราะมันหมายความว่าฉันไม่เสียใจอีกต่อไป บิลลี จีน และ แลร์รี่ ยังคงแต่งงานกันหลังคดีความสิ้นสุดลง[10] การแต่งงานสิ้นสุดลงในปี 1987 หลังจากที่บิลลี จีน ตกหลุมรักกับ ลานา คลอสส์ ซึ่งเป็นคู่เล่นเทนนิสของเธอ [10] แลร์รี คิงและบิลลี จีนยังคงสนิทสนมกันแม้หลังจากเธอออกมายอมรับว่าเป็นรักร่วมเพศ[14] และบิลลี จีน ทำหน้าที่เป็นแม่ทูนหัวให้กับลูกชายของแลร์รี่จากการแต่งงานครั้งต่อไปของเขา [10] บิลลี จีน คิงมีที่พักอยู่ในนิวยอร์กซิตี้และชิคาโก [18] กับคลอสส์ภรรยาของเธอ [19] เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2018 คิงและคลอสแต่งงานโดยอดีตนายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก เดวิด ดินคินส์ ในพิธีลับ [20]
บิลลี จีนเป็น มังสวิรัติ [21]
มีการประกาศเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ว่า บิลลี จีนจะเป็นที่ปรึกษาให้กับธนาคารสตรีแห่งแรกในชิคาโก [22]
สถิติ
[แก้]- จำนวนการแข่งเดี่ยวมากที่สุดที่เล่นในหนึ่งฤดูกาล (1971): 125
- จำนวนการแข่งขันเดี่ยวชนะในหนึ่งฤดูกาล (1971): 112
- คว้าแชมป์ประเภทคู่สูงสุดในหนึ่งฤดูกาล (1971): 21
- คว้าแชมป์ประเภทเดี่ยวและคู่มากที่สุดในหนึ่งฤดูกาล (1971): 38
- ชนะการแข่งขันประเภทเดี่ยวและคู่ในหนึ่งฤดูกาล (1971): 192
- ชนะคู่ผสมมากที่สุดในหนึ่งฤดูกาล (1971): 80
- อายุมากที่สุดที่สามารถคว้าแชมป์ WTA Tour (Birmingham 1983): 39 ปี 7 เดือน
หนังสือ
[แก้]- King, Billie Jean; Brennan, Christine (2008). Pressure Is a Privilege: Lessons I've Learned from Life and the Battle of the Sexes. New York: LifeTime Media. ISBN 978-0-9816368-0-1. OCLC 1036819775.
- ——; Howard, Johnette; Vollers, Maryanne (2021). All In: An Autobiography. New York: Alfred A. Knopf. ISBN 978-1-101-94733-3.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Women's Tennis Association biography of Billie Jean King". Sonyericssonwtatour.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 5, 2009. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 4, 2011.
- ↑ King, Billie Jean. "Billie Jean King – Speaker – TED".
- ↑ Deixlia. "Billie Jean King in 1973 Wimbledon match against Bobby Riggs". ElasticReviews.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 14, 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-09-14.
- ↑ Jason Le Miere (August 28, 2015). "Top 10 Women's Tennis Players Of All-Time: Where Does Serena Williams Rank On List Of Greatest Ever?". International Business Times. สืบค้นเมื่อ January 30, 2017.
- ↑ "Serena Williams: Is she your greatest female player of the Open era?". BBC Sport. January 28, 2017. สืบค้นเมื่อ January 30, 2017.
- ↑ "Who Is the Greatest Female Player Ever?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 28, 2008.
- ↑ "International Tennis Hall of Fame biography of Billie Jean Moffitt King". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 19, 2006. สืบค้นเมื่อ February 15, 2007.
- ↑ Higdon, Hal (August 23, 2013). "Plays Tennis Like a Man, Speaks Out Like – Billie Jean King". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ September 16, 2017.
- ↑ "Billie Jean King of Her Family". Long Beach Press-Telegram. Long Beach, California: Digital First Media. November 23, 1965. p. C-4.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 Hingston, Sandy (June 17, 2011). "Billie Jean King: Racquet Revolutionary – Page 4 of 5 – Philadelphia Magazine". Philadelphia Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 30, 2017. สืบค้นเมื่อ September 30, 2017.
- ↑ Walsh, David (December 9, 2007) The Big Interview: Billie Jean King. Sunday Times.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 Stanley, Alessandra (April 26, 2006). "The Legacy of Billie Jean King, an Athlete Who Demanded Equal Play". The New York Times. สืบค้นเมื่อ February 1, 2014.
- ↑ 13.0 13.1 Ware, S. (2015). Game, set, match: Billie Jean King and the revolution in women's sports. Chapel Hill: The University Of North Carolina Press.
- ↑ 14.0 14.1 Ware, S. (2015). Game, set, match : Billie Jean King and the revolution in women’s sports. Chapel Hill: The University Of North Carolina Press.
- ↑ Grossfeld, Stan (December 3, 2006). "No royalty like King". The Boston Globe. สืบค้นเมื่อ July 4, 2011.
- ↑ "Billie Jean King wins palimony case". UPI. November 11, 1982.
- ↑ "An angry storm Wednesday smashed historic piers". UPI. March 2, 1983.
- ↑ "Billie Jean King, Mother of Modern Sports" (PDF). Imgspeakers.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ September 29, 2011. สืบค้นเมื่อ July 4, 2011.
- ↑ "Evert, Navratilova weigh in on tennis legend Billie Jean King". Pittsburghlive.com. April 23, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 22, 2009. สืบค้นเมื่อ July 4, 2011.
- ↑ King, Billie Jean (2021). All In. Knopf. pp. 412–413. ISBN 978-1-101-94733-3.
- ↑ Avery-Grant, Anika (1999). The Vegetarian Female: A Guide to a Healthier Diet for Women of All Ages. Avery Publishing. pp. 86–87. ISBN 978-0-89529-840-9.
- ↑ "Billie Jean King Joins First Women's Bank (in organization) in Effort to Close the Gender Gap in Access to Capital". Assosciated Press. March 24, 2021. สืบค้นเมื่อ 25 March 2021.