ข้ามไปเนื้อหา

ซุยโกเด็ง: เท็นเมโนะชิไก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Bandit Kings of Ancient China)
ซุยโกเด็ง: เท็นเมโนะชิไก
งานศิลปะบรรจุภัณฑ์
ผู้พัฒนาโคอิ
ผู้จัดจำหน่าย
  • โคอิ Edit this on Wikidata
เครื่องเล่นเอ็มเอสเอกซ์, แฟมิคอม, เอ็มเอส-ดอส, อามิกา, แมคอินทอช, แซตเทิร์น, เพลย์สเตชัน
วางจำหน่ายค.ศ. 1989: เอ็มเอส-ดอส, อามิกา
ธันวาคม ค.ศ. 1990: แฟมิคอม
ค.ศ. 1996: เพลย์สเตชัน, แซตเทิร์น
แนววางแผนผลัดกันเล่น
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, ฮอตซีตหลายผู้เล่น

แบนดิตคิงส์ออฟเอนเชียนต์ไชนา (อังกฤษ: Bandit Kings of Ancient China) หรือที่รู้จักกันในชื่อซุยโกเด็ง: เท็นเมโนะชิไก (ญี่ปุ่น: 水滸伝・天命の誓い, การแปลตามตัวอักษร ริมน้ำ: คำสาบานแห่งโชคชะตา) ในประเทศญี่ปุ่น เป็นวิดีโอเกมวางแผนผลัดกันเล่นที่พัฒนาและเผยแพร่โดยบริษัทโคอิ[1] และวางจำหน่ายใน ค.ศ. 1989 สำหรับเอ็มเอสเอกซ์, เอ็มเอส-ดอส, อามิกา และแมคอินทอช รวมถึงใน ค.ศ. 1990 สำหรับแฟมิคอม[2][3][4][5] ครั้นใน ค.ศ. 1996 บริษัทโคอิได้ออกฉบับรีเมกสำหรับเซกา แซตเทิร์น และเพลย์สเตชันของญี่ปุ่น ซึ่งมีกราฟิกที่ได้รับการปรับปรุงอย่างมากและการปรับแต่งบทเพลงต้นฉบับใหม่[ต้องการอ้างอิง]

รูปแบบการเล่น

[แก้]

เกมนี้อิงจากซ้องกั๋งซึ่งเป็นวรรณกรรมคลาสสิกที่ยิ่งใหญ่ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เกมดังกล่าวเกิดขึ้นในประเทศจีนโบราณในจักรพรรดิซ่งฮุ่ยจงแห่งราชวงศ์ซ่ง ซึ่งแบนดิตคิงส์ออฟเอนเชียนต์ไชนา—มีกลุ่มโจรสิบคน—ทำสงครามกับเกาฉิว เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ผู้เป็นขุนนางกังฉินที่ทรงอำนาจอย่างไร้ขีดจำกัด วัตถุประสงค์ของเกมคือสร้าง, รักษา และสั่งการกองทหารเพื่อจับกุมเกาฉิวก่อนการรุกรานของนฺหวี่เจินในเดือนมกราคม ค.ศ. 1127 โดยผู้เล่นจะมีคุณลักษณะบางอย่าง เช่น ความแข็งแกร่ง, ความคล่องแคล่ว และสติปัญญา ตลอดจนผู้เล่นยังต้องรับมือกับสถานการณ์อื่น ๆ เช่น ภาษี, การดูแลกองกำลัง, การบำรุงรักษาและการเปลี่ยนอาวุธและอุปกรณ์, พลังแห่งธรรมชาติ, ความไม่สงบและการละทิ้งหน้าที่ของกองกำลัง

สนามรบอุบัติในตารางรูปหกเหลี่ยม ซึ่งผู้เล่นเคลื่อนกองทัพไปตามภูมิประเทศต่าง ๆ เพื่อต่อสู้และเอาชนะกองทัพศัตรูด้วยกลยุทธ์ กองทหารมีความสามารถในการต่อสู้ด้วยอาวุธระยะประชิด, ธนูและลูกศร, เวทมนตร์ หรือดาบประจัญบาน รวมถึงการจุดไฟเผา เมื่อผู้เล่นเอาชนะกองทัพศัตรูได้ พวกเขามีทางเลือกในการรับเป็นสมาชิกใหม่, คุมขัง, เนรเทศ หรือประหารชีวิตกองทหารศัตรูที่ถูกจับกุม ผู้โจมตีมีเวลา 30 วันในการเอาชนะกองทหารข้าศึกที่ประจำการทั้งหมด, จับกุมผู้บัญชาการ หรือทำให้พ่ายแพ้โดยอัตโนมัติ เกมจบลงด้วยความพ่ายแพ้สำหรับผู้เล่น (ทั้งหลาย) เมื่อปฏิทินเกมมาถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 1127[6]

แผนที่เกมแสดงอาณาจักรที่ประกอบด้วย 49 จังหวัด จังหวัดใดก็ตามอาจถูกรุกรานจากดินแดนที่อยู่ติดกัน - ข้อยกเว้นเพียงอย่างเดียวคือที่ตั้งปัจจุบันของเกาฉิว (โดยปกติคือไคเฟิง ที่เป็นเมืองหลวง) ซึ่งผู้เล่นจะต้องสร้างความนิยมมากพอที่จะได้รับความสนใจจากจักรพรรดิผู้ซึ่งจะพระราชทานพระราชกฤษฎีกา โดยอนุญาตให้ผู้เล่นพยุหยาตราเข้าไปในเมืองหลวง

การตอบรับ

[แก้]

ในนิตยสารเกมส์อินเตอร์เนชันแนลฉบับเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ค.ศ. 1990 (ฉบับที่ 13) พอล เมสัน ชื่นชมคู่มือ โดยระบุว่า "ครอบคลุมและนำเสนอได้อย่างชัดเจน" รวมถึงกราฟิกซึ่งเขาระบุว่า "มีประสิทธิภาพ" อย่างไรก็ตาม หลังจากเล่นเกมเป็นเวลาหนึ่งเดือน เมสันก็ยังไม่ใกล้ที่จะได้รับพระราชกฤษฎีกาเพื่อสู้กับเกาฉิว เขาชี้ให้เห็นว่าในเกมที่มีหลายผู้เล่น จะมีผู้เล่นเพียงคนเดียวเท่านั้นที่จะได้รับพระราชกฤษฎีกา และ "จะมีความชัดเจนในครึ่งทางของเกมว่าใครมีโอกาสชนะและใครไม่มีโอกาสชนะ จากนั้นไม่มีอะไรสนุกนักสำหรับผู้ที่ไม่มี" เขาสรุปโดยให้คะแนนเกมเฉลี่ย 7 เต็ม 10 สำหรับรูปแบบการเล่น และ 8 เต็ม 10 สำหรับกราฟิก โดยกล่าวว่า "ในฐานะเกมที่มีหลายผู้เล่น มันมีปัญหา [...] ส่วนในฐานะเกมผู้เล่นเดี่ยว มันดำเนินงานได้ดีนอกเหนือจากความยากที่มากเกินไป"[7]

นักวิจารณ์ในหนังสือพิมพ์ออสตินอเมริกัน-สเตตสแมน มุ่งเสนอว่าความลุ่มลึกของเกมนั้นท่วมท้น โดยกล่าวถึงเกมนี้ว่า "เป็นเกมเล่นตามบทบาทที่อุดมที่สุดและซับซ้อนที่สุดที่เคยออกจำหน่าย" แต่บอกว่าเขา "แต่บอกว่าเขามีปัญหาในการคิดออก ... ว่า [เขา] ควรจะทำอะไร และเพื่อใคร"[8]

จอห์นนี แอล. วิลสัน ได้วิจารณ์เกมสำหรับนิตยสารคอมพิวเตอร์เกมมิงเวิลด์ และระบุว่า "แบนดิตคิงส์ออฟเอนเชียนต์ไชนานำเสนอ "บางสิ่งบางอย่างสำหรับทุกคน" ที่เป็นที่เลื่องลือ ยกเว้นนักเล่นเกมอาร์เคดที่ฝังแน่น มีเพียงไม่กี่เกมที่นักวิจารณ์คนนี้เคยเล่นซึ่งทำให้เขาเล่นในตอนเช้าตรู่โดยไม่รู้ตัว และซุยโกเด็ง: เท็นเมโนะชิไก เป็นหนึ่งในนั้น[9]

ตลอดจนนิตยสารพีซี แมกกาซีน วิจารณ์เกมนี้ในเชิงบวก โดยสรุปว่า "เป็นเกมที่เล่นแล้วติดใจ มีชีวิตชีวาด้วยส่วนผสมของบุคลิกที่ขับเคลื่อนด้วยคอมพิวเตอร์, เรื่องผจญภัยของวัฒนธรรมที่จากไป, ตัวเลือกกลุ่มคนขนาดใหญ่ และรูปแบบการเล่นที่คาดเดาไม่ได้"[10]

นิตยสารคอมพิวเตอร์เกมมิงเวิลด์ให้คะแนนเกมนี้สามดาวจากห้าดาวใน ค.ศ. 1990[11] และสองดาวใน ค.ศ. 1993[12]

ส่วนการวิจารณ์แบนดิตคิงส์ออฟเอนเชียนต์ไชนาเวอร์ชันแฟมิคอม นิตยสารนินเท็นโดเพาเวอร์แนะนำว่าผู้เล่นบางคนอาจพบว่าความเร็วของเกมช้าเมื่อเทียบกับเกมที่เน้นแอ็กชัน ในขณะที่คนอื่น ๆ จะเพลิดเพลินไปกับ "ความลุ่มลึก, การมีส่วนร่วม และการใส่ใจในรายละเอียด" ของเกม[13]

นิตยสารคอมพิวต์!ยกย่องเกมนี้ในฐานะ "หนึ่งในวิดีโอเกมจำลองเล่นตามบทบาทที่สมบูรณ์และสนุกที่สุดเกมหนึ่งที่มีอยู่"[14] รวมถึงมอบรางวัลชมเชยในประเภทสงคราม/ยุทธศาสตร์ของคอมพิวต์ชอยซ์อะวอดส์ ค.ศ. 1991[15]

นอกจากนี้ เวอร์ชันอามิกาได้รับการวิจารณ์ในเชิงบวกในนิตยสารอามิกา[16]

เกมดังกล่าวได้รับการวิจารณ์เมื่อ ค.ศ. 1994 ในนิตยสารดรากอน ฉบับ 211 โดยเจย์และดีในคอลัมน์ "อายออฟเดอะมอนิเตอร์" ซึ่งนักวิจารณ์ทั้งสองให้เกมนี้ที่ 3 ดาวครึ่งจาก 5 ดาว[17]

อนึ่ง เมื่อ ค.ศ. 1996 นิตยสารคอมพิวเตอร์เกมมิงเวิลด์ได้ยกให้เกาฉิวซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจของแบนดิตคิงส์ออฟเอนเชียนต์ไชนาเป็นวายร้ายเกมที่น่าจดจำอันดับที่ 12[18]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Vestal, Andrew (1998-11-02). "The History of Console RPGs". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-01-06.
  2. Bandit Kings of Ancient China for MSX2. Generation-MSX. สืบค้นเมื่อ 2020-10-15.
  3. Bandit Kings of Ancient China for PC. GameSpot. สืบค้นเมื่อ 2009-02-02.
  4. Bandit Kings of Ancient China for AMI. GameSpot. สืบค้นเมื่อ 2009-02-02.
  5. Bandit Kings of Ancient China for NES. GameSpot. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-02-02.
  6. Baker, Christopher. allgame ((( Bandit Kings of Ancient China > Overview ))). Allgame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-09. สืบค้นเมื่อ 2009-02-02.
  7. Mason, Paul (February–March 1990). "Bandit Kings of Ancient China". Games International. No. 13. p. 47.{{cite magazine}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  8. Warner, Jack (1990-05-14). "You can save the planet from decay, people from evil". Austin American-Statesman.
  9. Wilson, Johnny L. (November 1989). "Guerillas In The Myth: Koei Reveals The "Bandit Kings of Ancient China"". Computer Gaming World. Vol. 1 no. 65. pp. 68–69, 93.
  10. Brenesal, Barry (1990-09-11). "Fight for control of ancient China in Koei's latest role playing game". PC Magazine. Ziff Davis Publishing Company. p. 514.
  11. Brooks, M. Evan (October 1990). "Computer Strategy and Wargames: Pre-20th Century". Computer Gaming World. p. 11. สืบค้นเมื่อ 16 November 2013.
  12. Brooks, M. Evan (June 1993). "An Annotated Listing of Pre-20th Century Wargames". Computer Gaming World. p. 136. สืบค้นเมื่อ 7 July 2014.
  13. "Now playing: Bandit Kings of Ancient China". Nintendo Power. Vol. 22. March 1991. pp. 74–75.
  14. Du Gaue, Robert (April 1991). "Bandit Kings of Ancient China". Compute! (128): 94. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-02-03.
  15. "The 1991 Compute Choice Awards". Compute! (125): 12. January 1991. สืบค้นเมื่อ 2009-09-11.
  16. "Amiga Magazine Rack: Bandit Kings of Ancient China reviews". สืบค้นเมื่อ 2009-02-03.
  17. Jay & Dee (November 1994). "Eye of the Monitor". Dragon (211): 39–42.
  18. "The 15 most memorable game villains" (PDF). Computer Gaming World. Golden Empire Publications Inc. November 1996. p. 121. สืบค้นเมื่อ 18 November 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]