แพทยนาถมนเทียร
ไวทยนาถชโยติรลึงค์ | |
---|---|
แพทยนาถชโยติรลึงค์ | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
เขต | อำเภอเทวฆัร |
เทพ | บาบาไพทยนาถ (แพทยนาถ) (พระศิวะ) |
เทศกาล | มหาศิวราตรี, Shravani Mela |
หน่วยงานกำกับดูแล | คณะกรรมการบริการไพทยนาถมนเทียร (Baba Baidyanath Temple Management Board) |
ที่ตั้ง | |
รัฐ | รัฐฌารขัณฑ์ |
ประเทศ | ประเทศอินเดีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 24°29′33″N 86°42′00″E / 24.49250°N 86.70000°E |
สถาปัตยกรรม | |
ผู้สร้าง | ราชาปุราณมาล (Raja Puran Mal) |
วัด | 22[1] |
เว็บไซต์ | |
babadham.org |
ไพทยนาถชโยติรลึงค์มนเทียร หรือ แพทยนาถมนเทียร (Baidyanatha Jyotirlinga temple) หรือ ไวทยนาถมนเทียร, เวทยนาถมนเทียร (Vaidyanath Temple) เป็นหนึ่งในสิบสองชโยติรลึงค์ หรือศาสนสถานสูงสุดของพระศิวะ แพทยนาถมนเทียรตั้งอยู่ในเทวฆัร มณฑลสันตัล ปรคนัส ในรัฐฌารขัณฑ์ ประเทศอินเดีย ภายในหมู่มนเทียรประกอบด้วยมนเทียรหลักขององค์บาบาแพทยนาถ (Baba Baidyanath) ที่ประดิษฐานองค์ชโยติรลึงค์ และรอบ ๆ มีมนเทียรอื่นอีก 21 แห่ง[1]
ตามความเชื่อฮินดู ราวาณะ จ้าวแห่งอสูร ได้บูชาพระศิวะที่จุดที่เป็นมนเทียรนี้ในปัจจุบัน ราวณะได้ถวายศีรษะของตนหนึ่งศีรษะจากสิบเพื่อเป็นการบูชาพระศิวะ พระศิวะทราบดังกล่าวจึงเสด็จลงมาเพื่อรักษาแผลจากการตัดศีรษะของราวาณะ การที่พระศิวะเสด็จลงมารักษาความเจ็บป่วยนั้นจึงเรียกว่าพระองค์ทรงเป็น แพทยะ (หรือ ไพทยะ, ไวทยะ, เวทยะ; Vaidhya แปลว่า "หมอ") ซึ่งเป็นที่มาของชื่อมนเทียร
กานวรยาตรา (อักษรเทวนาครี: कांवड़ यात्रा) เป็นการจาริกแสวงบุญ (ยาตรา) ประจำปีของผู้นับถือพระศิวะ เรียกว่าชาวกานวริยะ (Kānvarias; कावड़िया) หรือ "โภเล" (Bhole; भोले) ไปยังสุลตานคังชะ (Sultanganj) ในรัฐพิหาร เพื่อรับน้ำศักดิ์สิทธิ์จากแม่น้ำคงคา แล้วจึงนำน้ำนั้นมาถวายยังแพทยนาถมนเทียรในรัฐฌารขัณฑ์เป็นการถวายบูชา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Baba Baidyanath Temple Complex". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-27. สืบค้นเมื่อ 2010-04-05.