หอดูดาวอาเรซิโบ
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
ชื่ออื่น | ศูนย์ดาราศาสตร์และชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์แห่งชาติ |
---|---|
การตั้งชื่อตาม | อาเรซิโบ |
หน่วยงาน | University of Central Florida |
ที่ตั้ง | อาเรซิโบ, ปวยร์โตรีโก |
พิกัด | 18°20′39″N 66°45′10″W / 18.34417°N 66.75278°W |
ระดับความสูง | 498 เมตร (1,634 ฟุต) |
เว็บไซต์ | www |
กล้องโทรทรรศน์ | กล้องโทรทรรศน์วิทยุอาเรซิโบ 12m กล้องโทรทรรศน์อาเรซิโบ |
ศูนย์ดาราศาสตร์และชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์แห่งชาติ | |
นครใกล้สุด | อาเรซิโบ |
พื้นที่ | 118 เอเคอร์ (48 เฮกตาร์) |
สร้างเมื่อ | 1963 |
สถาปนิก | Kavanaugh, T. C. |
วิศวกร | von Seb, Inc., T. C. Kavanaugh of Praeger-Kavanagh, และ Severud-Elstad-Krueger Associates[1] |
เลขอ้างอิง NRHP | 07000525 |
ขึ้นทะเบียน NRHP | 23 กันยายน 2008[2] |
หอดูดาวอาเรซิโบ (สเปน: Observatorio de Arecibo; อังกฤษ: Arecibo Observatory) เป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองอาเรซิโบทางตอนเหนือของปวยร์โตรีโก ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ร่วมกับมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation, NSF) ของสหรัฐอเมริกา ภายใต้หน่วยงานที่ชื่อว่า "ศูนย์ดาราศาสตร์และชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์แห่งชาติ" (National Astronomy and Ionosphere Center, NAIC)
กล้องโทรทรรศน์วิทยุที่นี่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ยาว 305 เมตร เป็นกล้องโทรทรรศน์เดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยสร้างขึ้นมา[3] โครงการก่อสร้างเริ่มต้นนำเสนอตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 โดยศาสตราจารย์ วิลเลียมส์ อี. กอร์ดอน แห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ เพื่อที่จะใช้ศึกษาบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ของโลก แต่ได้ขยายขอบเขตของโครงการออกไป การก่อสร้างเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 เริ่มเปิดใช้งานตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506[4]
เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 หอดูดาวแห่งนี้ได้ส่งสัญญาณวิทยุขนาด 1,679 บิต (ประมาณ 205 ไบต์) ที่มีชื่อว่า "ข้อความอาเรซิโบ" ขึ้นสู่อวกาศไปยังกระจุกดาวเอ็ม 13 ที่อยู่ห่างจากโลก 25,000 ปีแสง[5] เป็นข้อมูลกราฟิกขนาด 23 คูณ 73 จุด ซึ่งออกแบบโดย ดร. แฟรงก์ เดรก และคาร์ล เซแกน สื่อความหมายถึงระบบตัวเลข ธาตุเคมี ดีเอ็นเอ และระบบสุริยะ เป็นสัญลักษณ์ของก้าวสู่ยุคอวกาศของโลก และคาดหวังว่าอาจมีสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาจากนอกโลกได้รับสัญญาณนี้และส่งสัญญาณตอบมาในอนาคต
หอดูดาวแห่งนี้มีการปรับปรุงเครื่องมืออุปกรณ์มาตลอดอายุการใช้งาน ครั้งสำคัญคือเมื่อ พ.ศ. 2517 และ พ.ศ. 2540 และใช้เป็นแหล่งข้อมูลของโครงการ SETI@home ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542
กล้องโทรทรรศน์วิทยุอาเรซิโบเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์หลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่อง Goldeneye (ชื่อไทย: พยัคฆ์ร้าย 007 รหัสลับทลายโลก) ออกฉายใน พ.ศ. 2538 และเรื่อง Contact (ชื่อไทย: อุบัติการณ์สัมผัสห้วงเวลา) ออกฉายใน พ.ศ. 2540 และเป็นฉากหลังในนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง 2010: Odyssey Two (ชื่อไทย: 2010 จอมจักรวาล) ของอาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก (แต่ในการถ่ายทำภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2525 ได้เปลี่ยนสถานที่เป็น VLA แทน)
ปิดทำการ
[แก้]เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. สำนักข่าว BBC รายงานว่า หอดูดาวอาเรซีโบ กล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดใหญ่ ที่ตั้งอยู่ในเขตป่าชื้นใกล้เมืองอาเรซีโบ ของเปอร์โตริโก ได้เกิดการพังถล่มลงมาทั้งในส่วนของจานรับสัญญาณขนาดยักษ์ของหอดูดาว และโครงสร้าง 900 ตัน ที่แขวนอยู่เหนือพื้นราว 137 เมตร หลังจากที่เมื่อสัปดาห์ก่อน มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Science Foundation-NSF) ของสหรัฐฯ เพิ่งประกาศยุติการทำงานของหอดูดาวแห่งนี้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Radio-Radar Telescope Will Probe Solar System". Electrical Engineering. 80 (7): 561. July 1961. doi:10.1109/EE.1961.6433355.
- ↑ National Park Service (October 3, 2008). "Weekly List Actions". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 29, 2013. สืบค้นเมื่อ February 6, 2018.
- ↑ Frederic Castel (2000-05-08). "Arecibo: Celestial Eavesdropper". Space.com. สืบค้นเมื่อ 2008-09-02.
- ↑ "Description of Engineering of Arecibo Observatory". Acevedo, Tony (June 2004). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-04. สืบค้นเมื่อ 2009-05-05.
- ↑ arecibo message สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2553