ข้ามไปเนื้อหา

แอปเปิล (บริษัท)

พิกัด: 37°19′55″N 122°01′52″W / 37.33182°N 122.03118°W / 37.33182; -122.03118
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Apple Computer)

37°19′55″N 122°01′52″W / 37.33182°N 122.03118°W / 37.33182; -122.03118

แอปเปิล
ชื่อเดิม
  • Apple Computer Company
    (1976–1977)
  • Apple Computer, Inc.
    (1977–2007)
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
ISINUS0378331005 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรม
ก่อตั้ง1 เมษายน ค.ศ. 1976 (1976-04-01) (48 ปี)
ผู้ก่อตั้ง
สำนักงานใหญ่
Apple Park, 1 Apple Park Way, Cupertino, California
,
จำนวนที่ตั้ง529 ร้านค้าปลีก (2023)
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
บุคลากรหลัก
  • อาร์เธอร์ เดวิด เลวินสัน (ประธาน)[1]
  • ทิม คุก (ซีอีโอ)
  • Jeff Williams (ซีโอโอ)
  • Luca Maestri (ซีเอฟโอ)
ผลิตภัณฑ์
บริการ
รายได้ลดลง US$383.29 พันล้าน (2023)
รายได้จากการดำเนินงาน
ลดลง US$114.30 พันล้าน (2023)
รายได้สุทธิ
ลดลง US$97.00 พันล้าน (2023)
สินทรัพย์ลดลง US$352.58 พันล้าน (2023)
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น US$62.15 พันล้าน (2023)
พนักงาน
161,000 (2023)
บริษัทในเครือ
อันดับความน่าเชื่อถือSteady AAA (Moody's Corporation)[2]
เว็บไซต์www.apple.com
เชิงอรรถ / อ้างอิง
[3][4][5][6][7]

บริษัทแอปเปิล (อังกฤษ: Apple Inc.) ชื่อเดิม บริษัท แอปเปิล คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: Apple Computer Inc.) และ (อังกฤษ: Apple Computer Company) เป็นบริษัทในซิลิคอนแวลลีย์ ทำธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แอปเปิลปฏิวัติคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในยุค 70 ด้วยเครื่องแอปเปิล I และแอปเปิล II และแมค ในยุค 80 ปัจจุบันแอปเปิลมีชื่อเสียงด้านฮาร์ดแวร์ เช่น ไอแมค ไอโฟน ไอแพด แอปเปิลวอตซ์

ประวัติ

[แก้]

1976–1980: การก่อตั้งและการรวมกัน

[แก้]
จุดเริ่มต้นของแอปเปิลในโรงรถของสตีฟ จ๊อบส์สถานที่ถูกใช้เริ่มต้นในการผลิตคอมพิวเตอร์แอปเปิล I
แอปเปิล I ผลิตภัณฑ์แรกของ Apple ถูกขายเป็นแผงวงจรที่ประกอบและการขาดคุณสมบัติพื้นฐานเช่นแป้นพิมพ์จอภาพและกรณีที่ เจ้าของของหน่วยนี้จะเพิ่มแป้นพิมพ์และเป็นกรณีที่ทำด้วยไม้ที่สร้างโดย วอซเนียก วางจำหน่ายในเดือน กรกฎาคม 1976 เลิกวางจำหน่ายในวันที่ 30 กันยายน 1977
แอปเปิล II พลัส สร้างโดย สตีฟ วอซเนียก ว่างจําหน่ายในวันที่ มิถุนายน 1979 เลิกวางจําหน่ายในเดือน ธันวาคม 1982

บริษัทแอปเปิล ถูกก่อตั้งในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1976 โดย สตีฟ จอบส์ สตีฟ วอซเนียก[8]และ โรนัลด์ เวนน์ในเมือง คูเปอร์ติโน รัฐแคลิฟอร์เนียโดยการทำการปฏิวัติธุรกิจคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในยุค 70 โดยการนำเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ประดิษฐ์จากโรงรถออกมาขายในชื่อ แอปเปิล I[9][10] ที่ราคาจำหน่าย 666.66 เหรียญ[11][12][13][14][15] และแสดงต่อหน้าสาธารณะชนครั้งแรกที่ Homebrew Computer Club จำนวนและระยะเวลาจำกัด ภายในปีถัดมาก็ได้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทํายอดมหาศาลและมีผู้ร่วมถือหุ้นในวันที่ 3 มกราคม 1977 โดย Wayne ไม่ร่วมบริษัทอีกต่อไปและบริษัทนั้นได้เปลี่ยนชื่อบริษัทจาก Apple Computer Company เป็น Apple Computer Inc. [16][17]

Apple II ได้รับการแนะนำในวันที่ 16 เมษายน 1977 ที่แรกที่ West Coast Computer Fair มันแตกต่างจากคู่แข่งรายใหญ่ ซึ่งในขณะนั้นคือ TRS - 80 และ Commodore PET เพราะมาพร้อมกับกราฟิกสีและสถาปัตยกรรมระบบปฏิบัติการแบบเปิด ในขณะที่รุ่นแรกที่ใช้เทปคาสเซ็ทธรรมดาเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลพวกเขาถูกแทนที่โดยการแนะนำของ 5 1 / 4 นิ้วฟลอปปี้ดิสก์ไดรฟ์และอินเตอร์เฟซ, Disk II[18] Apple II ได้รับเลือกให้เป็นแพลตฟอร์มเดสก์ทอปแบบแรกในโลก "app ตัวเด็ด" ของธุรกิจคอมพิวเตอร์โลก - ด้วยโปรแกรม VisiCalc ที่ใช้ทำใบปลิวและเอกสารแบบง่ายๆ โดย VisiCalc สร้างตลาดธุรกิจสำหรับ Apple II และให้ผู้ใช้ที่บ้านด้วยเหตุผลเพิ่มเติมเพื่อซื้อความเข้ากันได้ของ Apple II กับสำนักงาน ตาม Brian Bagnall ในตอนแรก Apple สร้างตัวเลขยอดขายที่พูดเกินจริงและมียอดขายเป็นอันดับ 3 รองจาก Commodore และ Tandy จน VisiCalc ได้เปิดตัวและมาพร้อมกับ Apple II ยอดขายจึงสูงขึ้น




1980-1990: การประสบความสําเร็จของแมคอินทอช

[แก้]

ต่อมาในเดือนธันวาคม 1979 Jobs และพนักงานแอปเปิลหลายคน รวมทั้ง Jef Raskin เยี่ยมชมบริษัท Xerox PARC เพื่อไปดู Xerox Alto ซีร็อกซ์ได้รับวิศวกรของแอปเปิลสามวันของการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวก PARC ตอบแทนสำหรับตัวเลือกในการซื้อ 100,000 หุ้นของแอปเปิลที่ราคา IPO ก่อน $ 10 หุ้น งานเชื่อมั่นทันทีว่าคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอนาคตจะใช้อินเตอร์เฟซผู้ใช้แบบกราฟิก (GUI) และการพัฒนาของ GUI เริ่มสำหรับแอปเปิลลิซ่า

ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 1980 ได้เปิดตัว Apple III และ Jobs ได้พัฒนาคอมพิวเตอร์อีกรุ่นในชื่อ Apple Lisa และต่อมาในวันที่ 12 ธันวาคม 1980 แอปเปิลเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์เป็นครั้งแรกราคาหุ้น IPO ที่ถืออยู่คืออยู่ที่ $22 ต่อหุ้นและมีชื่อย่อตลาดหลักทรัพย์ว่า AAPL ต่อมาสิ้นปีเดียวกัน แอปเปิลและทีมงานของนักออกแบบคอมพิวเตอร์และสายการผลิตของตนเอง ด้วยความความพยายามที่จะแข่งขันกับไอบีเอ็มและไมโครซอฟท์ในตลาดคอมพิวเตอร์ธุรกิจและองค์กรแต่กลับที่ว่าประสบความล้มเหลว

ต่อมาในปี 1982 เขาได้ถูกขับออกจากทีมพัฒนานี้ด้วยเหตุทะเลาะวิวาทภายในทีม ทำให้ Steve ต้องไปทำโปรเจกต์คอมพิวเตอร์ที่ตั้งใจให้มีราคาย่อมเยาอย่าง Macintosh ที่ Jef Raskin ได้เริ่มทำเอาไว้ สงครามในบริษัทที่ต้องงัดข้อกันระหว่าง Jobs และมนุษย์ออฟฟิศเริ่มปะทุขึ้นเรื่อยๆ ถกเถียงกันว่าผลิตภัณฑ์ไหนควรจะได้รับการเปิดตัวก่อนกัน โดยกลายเป็นว่า Lisa ได้รับการเลือกให้เปิดตัวออกมาก่อนในปี 1983 โดย Lisa ถือว่าเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรกที่มาพร้อมกับ GUI แต่กลับล้มเหลวอย่างมาก ด้วยราคาขายปลีกที่สูงเกินไป จนลูกค้าซื้อไม่ได้

ต่อมาในปี 1984 ได้เปิดตัว แมคอินทอช ที่ใช้โมโตโรลา 68000 ซีรีส์ คราวนี้ขอเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ด้วยโฆษณาทีวีทุนสร้างสูงมหาศาลเป็นประวัติการณ์ด้วยเงินจำนวน 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในโฆษณาชื่อ ‘1984’ ซึ่งได้รับการกำกับโดย Ridley Scott มากำกับหนังโฆษณาให้ ด้วยออกฉายในช่วงพักโฆษณาในงาน Super BOWL X V III ในวันที่ 22 มกราคม 1984

แมคอินทอชรุ่น 128K วางจําหน่ายในวันที่ 24 มกราคม 1984 เลิกวางจำหน่ายในวันที่ 1 ตุลาคม 1985

และถือได้ว่าโฆษณาดังกล่าวเป็นงานชิ้นโบว์แดงของแอปเปิลที่ได้รับเสียงตอบรับอย่างล้นหลาม สร้างประกฎการณ์และภาพจำให้กับคนดูโทรทัศน์ในช่วงนั้นกับผลิตภัณฑ์ของแอปเปิล ที่เหมือนจะมากอบกู้ผู้บริโภคจากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบเดิมๆในยุคนั้น ซึ่ง IBM กำลังครองตลาดอยู่

ในช่วงแรกนั้น Macintosh ขายได้ดีมาก สามารถสร้างเม็ดเงินให้บริษัทเป็นจำนวนสูง แต่ต่อมายอดขายกลับตกลงมาเรื่อยๆ สอดคล้องกับความนิยมในตัวเครื่อง เนื่องด้วยราคานั้นสูงเกินไป อีกทั้งซอฟต์แวร์ที่จะมารองรับกลับมีอย่างจำกัด แต่สถานการณ์กลับดีขึ้นอีกครั้ง เมื่อมีการเปิดตัว LaserWriter อันเป็นเครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่เปิดตัวด้วยราคาที่สมเหตุสมผล และ PageMaker ที่เป็นซอฟต์แวร์เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์เป็นซอฟต์แวร์แรกๆ หลังจากนี้ Macintosh กลายเป็นพระเอกในท้องตลาดเลยทีเดียว เนื่องด้วยความสามารถด้านกราฟิกที่สูงกว่าคนอื่นอย่างเห็นได้ชัด เพราะมีการนำเอา Macintosh GUI ที่โดดเด่นที่สุดในตลาดมาใช้ ดังนั้นการที่จับเอาผลิตภัณฑ์ทั้งสามแบบข้างต้นนี้มารวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถทำให้ Macintosh ตีตลาดผู้ที่ต้องการคอมพิวเตอร์ที่จะนำมาทำสื่อสิ่งพิมพ์ได้เป็นอย่างดี

ต่อมาในปี 1985 สถานการณ์ในบริษัทกลับตึงเครียดมากขึ้น เมื่อความผิดใจแบบลึกๆระหว่าง Jobs Wozniak และ John Sculley ผู้ที่เป็น CEO ของ Apple ในขณะนั้น กลับชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความที่บอร์ดผู้บริหารของ Apple พยายามจะจำกัดสิทธิ์เสียงของ Jobs และ Wozniak ในบริษัท อีกทั้งยังมอบหมายงานใหญ่ๆให้ Sculley เป็นคนตัดสินแทน ทำให้ Jobs และ Wozniak รู้สึกอึดอัดมาก หลายครั้งที่เขาพยายามนัดประชุมบอร์ดผู้บริหารโดยที่ไม่มี Sculley ทำให้สุดท้ายแล้ว Jobs ถูกไล่ออกจากบริษัทที่เขาเป็นคนสร้างมันขึ้นมากับมือ ทำให้เขาต้องออกไปเปิดบริษัท NeXT Inc. ในปีเดียวกัน และ Wozniak ถูกไล่ออกจากบริษัทเหมือนกัน[19][20]

ต่อมาในปี 1989 ได้เปิดตัว Macintosh Portable ด้วยความที่ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่เกินไป รวมไปถึงสมรรถนะตัวเครื่องที่ต่ำกว่าที่ลูกค้าคาดหวัง ทำให้ยอดขายตกต่ำและในส่วน Macintosh Portable ออกแบบมาให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับแมคอินทอชแต่กลับมีน้ำหนักที่สูงจนเกินไป และมีแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ 12 ชม.

1990-1997: การลดลงและการปรับโครงสร้าง

[แก้]

ต่อมาในปี 1991 Apple จึงเปิดตัวเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาที่ไม่นํ้าหนักสูงเกินไปเหมือน Macintosh Portable ในชื่อ เพาเวอร์บุ๊ก 100 และในการเปิดตัวเพาเวอร์บุ๊กนั้นถือได้ว่าประสบความสำเร็จได้ดีมากและสามารถสร้างเม็ดเงินเข้าบริษัทได้อย่างมากและในปีเดียวกันนี้แอปเปิล ได้เปิดตัว แมคโอเอส 7 ซึ่งเป็นการอัพเกรดระบบปฏิบัติการของแอปเปิลครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการเพิ่มอินเตอร์เฟซแบบสี และเปิดตัวคุณสมบัติการเชื่อมต่อแบบใหม่ในยุคนั้นอีกด้วยและถือว่าเป็นรากฐานของแมคโอเอสอันโด่งดังในปัจจุบันเลยทีเดียว

และแอปเปิลได้พัฒนาแท็บเล็ตตัวต้นแบบขึ้นมาโดยมีชื่อเพาเวอร์บุ๊ก ดีโอ ที่มีชื่อว่า เพ็นไลต์ แต่ก็ตัดสินใจไม่วางจำหน่ายเนื่องเกรงว่าจะกระทบยอดจำหน่ายของเมสเสจแพดและนอกจากสินค้าอื่นๆข้างต้นแล้ว Apple ยังเปิดตัวผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ของโลกในชื่อ Newton ในปี 1993 ที่เป็นต้นแบบของ PDA หรือ Personal Digital Assistance ในเวลาต่อมา แต่นั่นก็ดูเหมือนจะไม่ได้ช่วยอะไรให้กับบริษัทเลย เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ราคาหุ้นและส่วนแบ่งตลาดของ Apple ถดถอยลงไปทุกทีต่อมาในปีเดียวกัน Sculley ลาออกจากแอปเปิล และ Spindler เป็น CEO แทน Sculley ที่ลาออกไป

เพ็นไลต์ เป็นคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตตัวต้นแบบของแอปเปิล สร้างขึ้นในปี 1992 เพื่อนําแมคโอเอสมาสู่แท็บเล็ตแต่สุดท้ายถูกยกเลิกวางจำหน่ายเพราะจะกระทบการขายเมสเสจแพด

ต่อมาในปี 1994 Apple ร่วมกับ IBM และ Motorola ในการพัฒนาแพลทฟอร์มคอมพิวเตอร์ตัวใหม่ ที่จะเป็นการผนวกกันระหว่าง hardware ของ IBM และ Motorola กับ Software จาก Apple โดยหวังว่าการรวมตัวกันพัฒนาครั้งนี้จะช่วยทำให้ Apple กลับไปนำหน้า Microsoft ได้อีกครั้ง ในปีนั้นเอง หลังจากการร่วมมือในการพัฒนาแพลตฟอร์มล่าสุด Apple ก็พร้อมเปิดตัว Power Macintosh เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกจาก Apple ที่เปลี่ยนจากชิป โมโตโรลา 68000 ซีรีส์ เป็นชิป เพาเวอร์พีซี[21]

ต่อมาในปี 1996 ได้มีการเปลี่ยนตำแหน่ง CEO อีกครั้ง โดย จิล อิเมลิโอ มาดำรงตำแหน่งแทน Michael Spindler โดย อิเมลิโอ ได้ทำการปลดพนักงานจำนวนมาก[22] อีกทั้งยังริเริ่มโครงการผลิตภัณฑ์ต่างๆซึ่งมาสู่ความล้มเหลวทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น Taligen, Copland และ Gershwin ดังนั้น

ต่อมาในปลายปีเดียวกัน แอปเปิล ได้ซื้อบริษัท NeXT ในราคา 402 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นของตัวเอง เพื่อจะนำตัว สตีฟ จ๊อบส์ กลับมาทำงาน Apple อีกครั้ง [23]

1997-2007 กลับสู่ความสามารถทำกำไร

[แก้]

ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 1997 การซื้อกิจการบริษัท NeXT เสร็จเป็นที่เรียบร้อยและในวันที่ 9 กรกฎาคม 1997 ได้มีการเปลี่ยนตําแหน่ง CEO อีกครั้งในรอบ 1 ปี โดย สตีฟ จอบส์ มาดํารงตำแหน่ง CEO ชั่วคราวแทน จิล อิเมลิโอ ผู้บริหารระดับสูงของแอปเปิลในขณะนั้นถูกถอดออกและในปีเดียวกันไมโครซอฟท์ช่วยเหลือแอปเปิลไม่ให้ล้มลายและไมโครฟอซท์ลงทุนให้แอปเปิลในราคา 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[24]

iMac G3
iBook G3
Power Macintosh G3
PowerBook G3

ในวันที่ 6 พฤษภาคม 1998 Jobs ทำการเปิดตัว iMac G3 ที่สร้างความโด่งดังไปทั่วโลก โดดเด่นทั้งรูปลักษณ์และความสามารถ ส่งผลให้ยอดขายพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยสถิติ 800,000 เครื่องในเวลาเพียง 5 เดือนหลังออกขาย

ต่อมาในปี 1999 แอปเปิล ได้เปิดตัว iBook G3 และ AirPort แล็ปท็อปรุ่นแรกที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในงาน MacWorld NY 1999

ต่อมาในปี 2001 ได้เปิดตัวแอปเปิลสโตร์ 2 สาขาในสหรัฐอยู่ในรัฐวอชิงตันและอยู่ในแคลิฟอร์เนียและในวันที่ 23 ตุลาคม 2001 ได้เปิดตัวไอพอดเครื่องเล่นเพลงพกพาและต่อมาในปี 2003 แอปเปิลได้เปิด iTunes Store เป็นครั้งแรก

ต่อมาในปี 2005 ในงาน WWDC 2005 แมคอินทอชจะเปลี่ยนชิปซีพียูจากเพาเวอร์พีซีเป็นอินเทล เอกซ์86-64

แมคบุ๊กโปร รุ่นแรกใช้ชิปของอินเทล

และในวันที่ 10 มกราคม 2006 ได้เปิดตัวแมคบุ๊กโปร แล็ปท็อปรุ่นแรกที่ใช้ชิปอินเทลและในปีเดียวกันนี้ได้เปิดตัวแอปเปิลทีวีชื่อในขณะนั้นเรียกว่าไอทีวีแต่ชื่อซํ้ากับสถานีโทรทัศน์ไอทีวีของประเทศอังกฤษต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นแอปเปิลทีวี

2007-2011: การประสบความสำเร็จของไอโฟน

[แก้]
ไอโฟนรุ่นแรกตั้งโชว์ในตู้กระจกในงาน Macworld Expo ในวันที่ 9 มกราคม 2007

ในงาน Macworld Expo วันที่ 9 มกราคม 2007 สตีฟ จ๊อบส์ได้เปิดตัวไอโฟนเป็นครั้งแรกที่พลิกหน้าวงการโทรศัพท์มือถือและในวันเดียวกันนี้ได้เปลี่ยนชื่อบริษัทโดยตัดคำว่าคอมพิวเตอร์ออกเพื่อเข้าสู่ตลาดอิเล็กทรอนิกส์

และในปี 2008 ได้เปิดตัวแอปสโตร์เป็นครั้งแรกในไอโฟน 3จี และในปีเดียวกันได้เปิดตัวแมคบุ๊กแอร์ที่บางลงกว่าแมคบุ๊กโปรแต่มีราคาถูกกว่าแมคบุ๊กโปร

นิตยสารฟอร์จูนมอบตำแหน่งให้กับแอปเปิลที่ชื่นชมมากที่สุดของ บริษัททั้งหมดในปี 2008, 2009 และ 2010 บริษัทได้รับการวิจารณ์อย่างกว้างขวางทั้งสำหรับผู้ใช้และทั้งแรงงานผู้เหมาและสิ่งแวดล้อมและแนวทางธุรกิจ

และในวันที่ 27 มกราคม 2010 สตีฟ จ๊อบส์เปิดตัวไอแพดเป็นครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2010 ได้เปิดตัวไอโฟน 4และเปลี่ยนชื่อซอฟต์แวร์ของไอโฟนจากไอโฟนโอเอสเป็นไอโอเอสและไอโฟนรุ่นแรกที่มีกล่องหน้าและมีเฟซไทม์

และในวันที่ 17 มกราคม 2011 จ๊อบส์ประกาศในบันทึกของแอปเปิลว่าจ๊อบส์จะลาป่วยให้ทิม คุกเป็น CEO ชั่วคราวแทน

และในเดือนมิถุนายน 2011 จ๊อบส์ได้เปิดตัวไอคลาวด์แทนโมบายล์มีในงาน WWDC 2011 จ๊อบส์เปิดตัวผลิตภัณฑ์สุดท้ายก่อนที่จะเสียชีวิต

และในวันที่ 24 สิงหาคม 2011 จ๊อบส์ได้ลาออกจากแอปเปิลจากการเป็น CEO ให้ทิม คุก เป็น CEO แทน

2011-ปัจจุบัน ทิม คุก เป็น CEO

[แก้]

ในวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2011 สตีฟ จ๊อบส์ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับอ่อนหลังได้เปิดตัว ไอโฟน 4เอส เพียงแค่วันเดียว

และในวันที่ 9 กันยายน 2014 ทิม คุกได้เปิดตัวแอปเปิลวอตช์เป็นสมาร์ทวอตซ์เป็นนาฬิกาสุขภาพ

แอปเปิลวอตช์ รุ่นที่ 1

ในเดือนมิถุนายน 2017 ได้เปิดตัวโฮมพอดเป็นลำโพงอัจฉริยะในงาน WWDC 2017 และในปีเดียวกันแอปเปิลได้ย้ายอาคารสํานักงานจาก Apple Campus ถนน One Infinite Loop ไปยัง แอปเปิลพาร์ก ถนน One Apple Park Way ที่อยู่ใกล้เคียงกับอาคารสํานักงานของแอปเปิลเดิม

แมคบุ๊กแอร์ M1

ในงาน WWDC 2020 คอมพิวเตอร์แมคของแอปเปิลเปลี่ยนซีพียูอีกครั้งในรอบ 15 ปี จากชิปอินเทล เอกซ์86-64 เป็นชิปแอปเปิลซิลิคอนและคอมพิวเตอร์ของแอปเปิลที่ใช้ชิปแอปเปิลซิลิคอนรุ่นแรกคือ แมคบุ๊กแอร์ M1

ต่อมาในปี 2021 ได้เปิดตัว ไอแมค 24 นิ้ว (M1) และใช้ชิป Apple M1 และการกลับมาที่มีหลากหลายสี เหมือนตอน iMac G3 ที่เปิดตัวในปี 1998

ต่อมาในปี 2022 ได้เปิดตัว macOS 13 iOS 16 ในงาน WWDC 2022 และได้ปรับปรุงโดยการเพิ่มระบบหน้าจอ Lock Screen สามารถเปลี่ยนฟอนต์ตัวเลขหน้าจอล็อกได้

{{ในงาน WWDC 2023 เปิดตัว แอปเปิลวิชันโปร พร้อม macOS 14 Sonoma, iOS 17 และอื่น ๆ}}

ผลิตภัณฑ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Press Info – Apple Leadership". Apple. สืบค้นเมื่อ February 22, 2012.
  2. Moody's gives Apple top 'AAA' credit rating on growth promise
  3. "Consolidated Financial Statements for Q4 FY21" (PDF). Apple Inc. October 28, 2021. สืบค้นเมื่อ December 22, 2021.
  4. "Apple 10-K Report FY2021" (PDF). September 25, 2021. สืบค้นเมื่อ January 23, 2022.
  5. "Apple Retail Store – Store List" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Apple. สืบค้นเมื่อ June 3, 2020.
  6. Certificate of Amendment of Articles of Incorporation เก็บถาวร 2020-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, November 17, 1977. California Secretary of State.
  7. Certificate of Ownership เก็บถาวร 2021-02-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, January 9, 2007. California Secretary of State.
  8. Linzmayer, Ronald W. (1999). Apple Confidential: The Real Story of Apple Computer, Inc. No Starch Press.
  9. Apple co-founder tells his side of the story
  10. A Chat with Computing Pioneer Steve Wozniak NPR. September 29, 2006.
  11. "BBC News: History of Technology". November 15, 2007. สืบค้นเมื่อ January 19, 2008.
  12. "Computer History Museum (ComputerHistory.org)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-26. สืบค้นเมื่อ January 19, 2008.
  13. Game Makers (TV Show): Apple II. Originally aired January 6, 2005.
  14. "Picture of original ad featuring US666.66 price".
  15. Wozniak, Steven: "iWoz", page 180. W. W. Norton, 2006. ISBN 978-0-393-06143-7
  16. Apple Investor Relations FAQ เก็บถาวร 2009-10-16 ที่ Portuguese Web Archive, Apple inc. Retrieved on March 2, 2007.
  17. Gilbert, Ben (December 26, 2016). "Where are the first 10 Apple employees today?". Business Insider. สืบค้นเมื่อ May 2, 2017.
  18. Steven Weyhrich (April 21, 2002). "Apple II History Chapter 4". สืบค้นเมื่อ August 18, 2008.
  19. Hormby, Thomas. Growing Apple with the Macintosh: The Sculley years, Low End Mac, February 22, 2006. Retrieved on March 2, 2007.
  20. Spector, G (September 24, 1985). "Apple's Jobs Starts New Firm, Targets Education Market". PC Week. p. 109.
  21. "Power Macintosh 6100". สืบค้นเมื่อ August 12, 2008.
  22. Chaffin, Bryan. "Former Apple CEO Gil Amelio Lands A New CEO Job | The Mac Observer", The Mac Observer, February 6, 2001. Retrieved August 15, 2008.
  23. "Apple Computer, Inc. Finalizes Acquisition of NeXT Software Inc". Apple Inc. February 7, 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2001-07-24. สืบค้นเมื่อ June 25, 2006.
  24. Microsoft and Apple Affirm Commitment to Build Next Generation Software for Macintosh, Apple Inc., August 6, 1997.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]