ข้ามไปเนื้อหา

อานี

พิกัด: 40°30′27″N 43°34′22″E / 40.50750°N 43.57278°E / 40.50750; 43.57278
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Ani)
อานี
Անի
ซากของโบสถ์ในอานี มองจากฝั่งประเทศอาร์มีเนีย ทางซ้ายของภาพคืออดีตอาสนวิหารอานีที่โดมสูญหายไป ทางขวาเป็นซากครึ่งหนึ่งของโบสถ์พระมหาไถ่
ที่ตั้งOcaklı (นิคมใกล้สุด),[1][2] จังหวัดคาร์ส ประเทศตุรกี
ภูมิภาคที่สูงอาร์มีเนีย
พิกัด40°30′27″N 43°34′22″E / 40.50750°N 43.57278°E / 40.50750; 43.57278
ประเภทอดีตนิคม
ความเป็นมา
สร้างศตวรรษที่ 5 (ปรากฏอ้างถึงครั้งแรก)
ละทิ้งศตวรรษที่ 17
สมัยยุคกลาง
วัฒนธรรมอาร์มีเนียเป็นหลัก
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนแหล่งโบราณคดีอานี
ประเภทวัฒนธรรม
เกณฑ์ii, iii, iv
ขึ้นเมื่อ2016 (คณะกรรมการสมัยที่ 44)
เลขอ้างอิง1518
รัฐตุรกี
ภูมิภาคยุโรปและอเมริกาเหนือ

อานี (อาร์มีเนีย: Անի; กรีก: Ἄνιον, Ánion;[3] ละติน: Abnicum;[4][5] ตุรกี: Ani)[6] เป็นซากนครของชาวอาร์มีเนีย[7] ปัจจุบันตั้งอยูในจังหวัดคาร์ส ประเทศตุรกี ติดกันกับพรมแดนประเทศอาร์มีเนีย

ในระหว่างปี 961 จนถึง 1045 อานีเคยเป็นราชธานีของราขอาณาจักรบากราทิดอาร์มีเนียซึ่งกินพื้นที่ส่วนใหญ่ของอาร์มีเนียและตุรกีตะวันออกในปัจจุบัน นครอานีซึ่งมีความโดดเด่นนี้ได้รับการเรียกขานว่าเป็น "นครแห่ง 1001 โบสถ์ และ 40 ประตู" ข้อมูลจากการขุดค้นทางโบราณคดีค้นพบโบสถ์แล้วจำนวน 50 แห่ง, โบสถ์ในถ้ำจำนวน 33 แห่ง และโบสถ์น้อยจำนวน 20 แห่ง[5][8][9] หนึ่งในซากโบสถ์ที่สำคัญคือซากของอาสนวิหารอานี ซึ่งเป็นตัวอย่างชิ้นหนึ่งของสถาปัตยกรรมกอทิกในยุคแรก ๆ[10][11][12] ในช่วงที่เจริญรุ่งเรืองสูงสุด อานีเคยเป็นหนึ่งในเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลก[13] ด้วยประชากร 100,000 คน ควบคู่กับดวิน[14]

อานีถูกรุกรานและทำลายโดยเผ่ามองโกลในปี 1236 และเสียหายอย่างหนักจากแผ่นดินไหวในปี 1319 ถึงจุดที่ไม่สามารถกู้คืนได้ ก่อนจะค่อย ๆ ถูกทิ้งร้างและเลือนหายไปภายในศตวรรษที่ 17[15][16] อานีถือกันทั่วไปว่าเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของวัฒนธรรมและความยิ่งใหญ่ของอาร์มีเนีย[17] Razmik Panossian เคยระบุว่าอานีเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่ชัดเจนและจับต้องได้ที่สุดของความยิ่งใหญ่ในอดีตของอาร์มีเนีย จึงควรถือว่าเป็นตัวแทนหนึ่งของความภาคภูมิใจในความเป็นชาวอาร์มีเนีย[16] ในปี 2016 แหล่งโบราณคดีอานีได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก[18]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Watenpaugh 2014, p. 531: "The nearest inhabited village is Ocaklı, a farming village with little infrastructure."
  2. "Büyük Katedral (Fethiye Cami) – Kars". kulturportali.gov.tr (ภาษาตุรกี). Adres: Ocaklı Köyü, Ani Antik Kenti
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ gars
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ eb9
  5. 5.0 5.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ eb11
  6. Ziflioğlu, Vercihan (April 14, 2009). "Building a dialogue atop old ruins of Ani". Hürriyet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 12, 2016. The Turkish government’s practice of calling the town “Anı,” rather than Ani, in order to give it a more Turkish character...
  7. Barthold, W. & Minorsky, V. (1960). "Ānī". ใน Gibb, H. A. R.; Kramers, J. H.; Lévi-Provençal, E.; Schacht, J.; Lewis, B. & Pellat, Ch. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume I: A–B. Leiden: E. J. Brill. OCLC 495469456.
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ hako
  9. Not to confuse with the Binbirkilise/'1001 churches' near Karaman in modern Turkey'
  10. "The Cathedral of Ani." VirtualANI.
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ eco
  12. Talbot Rice, David (1972). The Appreciation of Byzantine Art. Oxford University Press. p. 179. The interior of Ani cathedral, a longitudinal stone building with pointed vaults and a central dome, built about 1001, is astonishingly Gothic in every detail, and numerous other equally close parallels could be cited.
  13. Joel Mokyr. The Oxford Encyclopedia of Economic History. Oxford: Oxford University Press, 2003, p. 157: "The struggle against Persian, Byzantine, and Arab political and economic domination, however, led to the restoration of the Armenian Kingdom (885–1045). Crafts and agricultural prospered. Its capital, Ani, famous for Armenian classical architecture, became one of the biggest cities in the world."
  14. Ghafadaryan, Karo (1974). "s.v. Ani". Armenian Soviet Encyclopedia Volume I (ภาษาอาร์เมเนีย). Armenian Academy of Sciences. pp. 407–412.
  15. Mutafian, Claude. "Ani after Ani: Eleventh to Seventeenth Centuries", in Armenian Kars and Ani, ed. Richard G. Hovannisian, Costa Mesa, CA: Mazda Publishers, 2011, pp. 163–64.
  16. 16.0 16.1 Panossian 2006, p. 60.
  17. Vanadzin, Katie (January 29, 2015). "Recent Publication Highlights Complexities of Uncovering the History of the Medieval City of Ani". Armenian Weekly. As Watenpaugh explains, “Ani is so symbolic, so central for Armenians, as a religious site, as a cultural site, as a national heritage symbol, a symbol of nationhood.”
  18. Ancient city of Ani dazzles visitors