อะมีบา
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
Amoeba | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | Eukaryota |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Amoebozoa |
ไฟลัมย่อย: | Lobosa |
ชั้น: | Tubulinea |
อันดับ: | Euamoebida |
วงศ์: | Amoebidae |
สกุล: | Amoeba Bory de Saint-Vincent, 1822[1] |
Species | |
|
อะมีบา (อังกฤษ amoeba, ameba) เป็นโปรโตซัวสกุลหนึ่ง สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยส่วนของลำตัวที่ยื่นออกมาชั่วคราว เรียกว่าเท้าเทียม (pseudopods) และถือว่าเป็นตัวแทนของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่รู้จักกันดี คำว่า อะมีบา นั้นมีการใช้หลากหลาย หมายถึงสัตว์เช่นนี้ และสัตว์จำพวกอื่นที่มีความใกล้ชิดในทางชีววิทยา ปัจจุบันจัดกลุ่มเป็น อะมีโบซัว (Amoebozoa) หรือหมายถึงโปรโตซัวทั้งหมด ที่เคลื่อนไหวได้ด้วยเท้าเทียม หรืออาจเรียกว่า อมีบอยด(amoeboids) อะมีบา เองนั้นพบได้ในน้ำจืด โดยปกติอยู่ในพืชผักที่เน่าเปื่อย จมอยู่ในลำน้ำ แต่ไม่ได้พบมากเป็นพิเศษในธรรมชาติ แท้จริงแล้วอะมีบาที่ก่อให้เกิดโรคในคนได้ เป็นอะมีบาที่อาศัยเป็นอิสระ ในธรรมชาติตามแหล่งน้ำ ดิน โคลนเลน มีด้วยกัน 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์เนจีเรีย ฟาวเลอรี่ (Naegleria fowleri) และสายพันธุ์อะคันธามีบา (Acanthamoeba)
สายพันธุ์เนจีเรีย ฟาวเลอรี่ (Naegleria fowleri)
[แก้]พบครั้งแรกใน ค.ศ. 1965 แต่มีรายงานว่าพบในประเทศไทยเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2526 พบได้ในเขตร้อนหรือเขตอบอุ่นเกือบทั่วโลก ได้แก่ ทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย ยุโรป เอเชียและแอฟริกาใต้ ในประเทศไทย มีการสำรวจจาก แหล่งน้ำในหลายจังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา สุรินทร์ อุบลราชธานีและศรีสะเกษ และจากแหล่งน้ำขังในเขตอุตสาหกรรมของจังหวัดปทุมธานี และสมุทรปราการ สายพันธุ์นี้มีรูปร่างลักษณะ 2 ระยะ แต่มี 3 แบบได้แก่ระยะ trophozoite แบ่งเป็น Ameboid form และ Flagellate และระยะ Cyst Ameboid form มีขนาด 8-30 ไมครอน รูปร่างไม่แน่นอน ขณะเคลื่อนที่มีรูปร่างค่อนข้างยาว คล้ายหอยทากหรือคล้ายนิ้วมือ ปลายด้านหน้าตัวกว้างกว่าปลายด้านท้าย ซึ่งจะเรียวเล็กลง และมีปุ่ม (knob) ขนาด 2 ไมครอน เรียกว่า uroid process Flagellate มีขนาด 8-20 ไมครอน รูปร่างคล้ายลูกแพร์ มีแฟลกเจลลัม 2 เส้นอยู่ปลายด้าน กว้างเคลื่อนที่ ไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ด้วยแฟลกเจลลัม หรือหมุนรอบตัวเป็นวงกลม Cyst มีขนาด 7-10 ไมครอน รูปร่างกลม หนังหุ้มหนาเรียบ เนจีเรีย ฟาวเลอรี่ เป็นอะมีบาที่ดำรงชีวิตเป็นอิสระ เจริญเติบโตได้ดี ที่อุณหภูมิ สูงถึง 45 องศาเซลเซียส พบได้ในแหล่งน้ำทั่ว ๆ ไป ยกเว้นน้ำกร่อยหรือทะเล ติดต่อสู่คนได้โดยการสำลักน้ำ หรือหายใจเอาฝุ่น ที่มีเชื้อเข้าไปและผ่าน olfactory nerve ไปยัง สมองแล้วแบ่งตัวเพิ่มขึ้น ทำให้เนื้อสมองและเยื่อหุ้มสมอง เกิดการอักเสบ และถูกทำลาย เนจีเรีย ฟลาวเลอรี่ ทำให้เกิดโรค primary amebic meningoencephalitis (PAM) มักติดเชื้อในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง อายุน้อย และมีประวัติว่ายน้ำ ก่อนเกิดอาการ 2-3 วัน บางรายอาจนานถึง 14 วัน ผู้ป่วย จะมีอาการคัดจมูก เจ็บคอ การได้กลิ่นเสียไป ต่อมาจะมีอาการปวดศีรษะอย่างมาก มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน คอแข็ง หลังแข็ง ชัก ในวันที่ 4 หรือวันที่ 5 ผู้ป่วยเริ่มไม่รู้สึกตัว และถึงแก่กรรม ภายใน 1-2 วันถัดมา ผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตทุกรายการวินิจฉัยจะใช้วิธีการตรวจน้ำไขสันหลัง โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ ในขนาด กำลังขยายสูง เนื่องจาก PAM มีจะมีการดำเนินของโรคอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการวินิจฉัย และการรักษาโรคอย่างถูกต้อง และรวดเร็วอาจช่วยชีวิต ของผู้ป่วยได้โดยการให้ยา amphotericin B และ miconazole เข้าเส้นเลือด ดำ และเข้าโพรงสมองควรหลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ หรือเล่นน้ำในแหล่งน้ำขัง หรือน้ำจากโรงงาน อุตสาหกรรม ระวังการสำลักน้ำ สระว่ายน้ำควรกรองน้ำให้สะอาด และตรวจสอบ อย่าให้มีรอยแตกร้าว
สายพันธุ์อะคันธามีบา (Acanthamoeba)
[แก้]พบครั้งแรกใน ค.ศ. 1958 พบได้เกือบทั่วโลก ได้แก่ ทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอฟริกา และออสเตเรีย ในประเทศไทยมีการสำรวจพบจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ในจังหวัดนครราชสีมา อะคันธามีบา ที่ทำให้เกิดโรคในคนมี 7 species มีรูปร่างลักษณะ 2 ระยะ คือ Trophozoitte และ Cyst Trophozoitte มีขนาด 10-60 ไมครอน รูปร่าง ไม่แน่นอน มี pseudopod หรือ ขาเทียม รูปร่าง คล้ายหนามยื่นออกมาทั่วตัว เคลื่อนที่ช้า Cyst มีขนาด 10-25 ไมครอน รูปร่างค่อนข้างกลม มีผนังหุ้ม 2 ชั้น ผนังชั้นนอก ไม่เรียบเป็น รอยย่น ผนังชั้นในเป็นรูปหลายเหลี่ยม มุมที่ผนังชั้นในสัมผัส กับผนังชั้นนอก จะเป็นตำแหน่งรูปเปิดของ Cyst ดำรงชีวิตเป็นอิสระในน้ำ ดิน โคลนเลน เจริญเติบโต ได้ดีที่อุณหภูมิ 25-35 องศาเซลเซียส พบได้ในแหล่งน้ำทั่วไป รวมทั้งน้ำกร่อย และน้ำทะเล เข้าสู่ทางร่างกาย โดยผ่านทางผิวหนัง ตา ระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิด โรคที่ผิวหนัง ตาอักเสบ การติดเชื้อที่ไซนัส ส่วนการติดเชื้อที่สมอง เชื่อว่าเชื้อ มาตามกระแสเลือด มักติดเชื้อในผู้ที่สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ ส่วนในผู้ที่สุขภาพ แข็งแรงมีอาการติดเชื้อได้น้อย ระยะฟักตัวของโรคนี้ ไม่แน่นอน อาจนานกว่า 10 วัน หรือเรื้อรังนานเป็นเดือน การติดเชื้อเป็น แบบกึ่งเฉียบพลันหรือเรื้อรัง อาการเริ่มแรก คล้ายกับอาการของไข้หวัด มีเจ็บคอ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน และอาการของ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ต่อมาอาการคล้ายโรคฝีหรือเนื้องอกในสมองได้แก่ ชัก สับสน ประสานหลอน มึนงง ง่วงซึม และถึงแก่กรรม หลังจากเริ่มมีอาการประมาณ 3 สัปดาห์ การวินิจฉัยทำได้ด้วยการตรวจจากน้ำไขสันหลัง หรือการตรวจพยาธิวิทยา จากการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ หรือการตรวจหาแอนตี้บอดี้ ในรายที่มีการติดเชื้อที่ตา หรืออวัยวะอื่น ๆ ควรรีบให้การรักษา เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่สมอง ผู้ที่ใช้คอนแทกเลนส์ ควรทำความสะอาดเลนส์ด้วยน้ำยาที่สะอาดผ่านการฆ่าเชื้อโรคแล้ว และไม่ควรใส่คอนแทกเลนส์ในขณะว่ายน้ำ ถึงแม้ว่าอะมีบาจะไม่ใช่โรคติดต่อและโอกาสที่จะติดเชื้อจนถึงขั้นเสียชีวิตมีน้อย แต่ก็ไม่ควรประมาทเพราะหากได้รับเชื้ออะมีบาแล้ว โอกาสที่จะรอดมีน้อยมาก
การสืบพันธุ์ (propagation)
[แก้]อะมีบาสืบพันธุ์โดยการแบ่งเซลล์ โดยการเริ่มแยกนิวเคลียสค่อยๆแยกแล้วจึงเริ่มแบ่งตัวออกจากกัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bory de Saint-Vincent, J.B.G.M. (1822-1831). Article "Amiba". In: Dictionnaire classique d'histoire naturelle par Messieurs Audouin, Isid. Bourdon, Ad. Brongniart, De Candolle, Daudebard de Férusac, A. Desmoulins, Drapiez, Edwards, Flourens, Geoffroy de Saint-Hilaire, A. De Jussieu, Kunth, G. de Lafosse, Lamouroux, Latreille, Lucas fils, Presle-Duplessis, C. Prévost, A. Richard, Thiébaut de Berneaud, et Bory de Saint-Vincent. Ouvrage dirigé par ce dernier collaborateur, et dans lequel on a ajouté, pour le porter au niveau de la science, un grand nombre de mots qui n'avaient pu faire partie de la plupart des Dictionnaires antérieurs. 17 vols. Paris: Rey et Gravier; Baudoin frères, vol. 1, p. 260, [1].