ข้ามไปเนื้อหา

อมรกัณฏกะ

พิกัด: 22°49′19″N 81°45′12″E / 22.822°N 81.7532°E / 22.822; 81.7532
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Amarkantak)
อมรกัณฏกะ

อมรกูฏ
ฮิลล์สเตชั่น
ศรียันตรมนเทียร (Shri Yantra Temple)
ศรียันตรมนเทียร (Shri Yantra Temple)
สมญา: 
ไมกาล
อมรกัณฏกะตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
อมรกัณฏกะ
อมรกัณฏกะ
อมรกัณฏกะตั้งอยู่ในรัฐมัธยประเทศ
อมรกัณฏกะ
อมรกัณฏกะ
พิกัด: 22°49′19″N 81°45′12″E / 22.822°N 81.7532°E / 22.822; 81.7532
ประเทศ อินเดีย
รัฐมัธยประเทศ
อำเภออานุปปุระ
การปกครอง
 • ประเภทรัฐบาลท้องถิ่น
 • องค์กรนครปัญจายัต
พื้นที่
 • ทั้งหมด47 ตร.กม. (18 ตร.ไมล์)
ความสูง1,048 เมตร (3,438 ฟุต)
ประชากร
 (2011)
 • ทั้งหมด8,416 คน
 • ความหนาแน่น181 คน/ตร.กม. (470 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+5:30 (IST)
PIN484886
รหัส ISO 3166IN-MP

อมรกัณฏกะ (อักษรโรมัน: Amarkantak) เป็นนครปัญจายัตในอานุปปุระ รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย และแหล่งจาริกแสวงบุญที่สำคัญในศาสนาฮินดู อมรกัณฏกะตั้งอยู่ตรงตุดที่เทือกเขาวินธยากับสตปุระบรรจบกันที่เขาไมกาล รวมถึงเป็นจุดที่แม่น้ำนรรมทาและแม่น้ำโสนเริ่มต้น ฤาษีและกวีสมัยศตวรรษที่ 15 กวีระ ว่ากันว่าได้ทำสมาธิที่ กพีรจพุตระ ซึ่งตั้งอยู่ในอมรกัณฏกะ[1]

คำว่าอมรกัณฏกะ ประกอบมาจากคำภาษาสันสกฤต อมร (ชีวิตเป็นนิรันดร์) และ กํฏก (ขัดขวาง) กวีกาลิทาสเคยระบุชื่อเมืองนี้ว่า อมรกูฏ ก่อนที่ต่อมาจะเป็น อมรกํฏก[2]

อมรกัณฏกะเป็นแหล่งแสวงบุญหรือที่เรียกว่า "ตีรถะ" ในศาสนาฮินดู โดยเป็นที่ตั้งศาสนสถาน เช่น หมู่มนเทียรที่สร้างขึ้นในสมัยกาลจุรี ตั้งอยู่ทางใต้ของนรรมทากูญฑ์[3] สร้างขึ้นโดยมหาราชากรรณเทพ,[4] สรโวทยไชนมนเทียร และศรียันตรมนเทียร

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Kabir Chabutra". C.P.R. Environmental Education Centre.
  2. Bhattacharyya, P.K. (1977), Historical Geography of Madhya Pradesh from Earlier Records, Motilal Banarsidass, p. 76, ISBN 9788120833944
  3. Chadhar, Mohanlal (2017), Amarakantak kshetra ka puravaibhava, SSDN, Publisher and Distributor, New Delhi, ISBN 978-93-8357-509-1
  4. Mitra, Swati (2012), Templesof Madhya Pradesh – Travel guide, Thomson Press, New Delhi on behalf of Eicher Goodreads Pvt Ltd, p. 89, ISBN 9789380262499