ข้ามไปเนื้อหา

อัชเมร์

พิกัด: 26°27′00″N 74°38′24″E / 26.4499°N 74.6399°E / 26.4499; 74.6399
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Ajmer)
อัชเมร์
นคร
อัชเมร์ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
อัชเมร์
อัชเมร์
อัชเมร์ตั้งอยู่ในรัฐราชสถาน
อัชเมร์
อัชเมร์
พิกัด: 26°27′00″N 74°38′24″E / 26.4499°N 74.6399°E / 26.4499; 74.6399
ประเทศ อินเดีย
รัฐราชสถาน
อำเภออัชเมร์
ผู้ก่อตั้งอชยราชที่ 1 หรือ อชยราชที่ 2
ตั้งชื่อจากอชยราชที่ 1 หรือ อชยราชที่ 2
การปกครอง
 • ประเภทสภาเทศบาล
 • องค์กรสภาเทศบาลอัชเมร์
 • นายกเทศบาลพรัช ลตา หทา (Braj Lata Hada)[1]
พื้นที่[2]
 • นคร55 ตร.กม. (21 ตร.ไมล์)
ความสูง480 เมตร (1,570 ฟุต)
ประชากร
 (2011)
 • นคร542,321 คน
 • ความหนาแน่น9,900 คน/ตร.กม. (26,000 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง551,101 คน
เขตเวลาUTC+5:30 (IST)
PIN305001 ถึง 305023
รหัสโทรศัพท์0145, +91145
ทะเบียนพาหนะRJ-01
เว็บไซต์www.ajmer.rajasthan.gov.in

อัชเมร์ (อักษรเทวนาครี: अजमेर, อักษรโรมัน: Ajmer ออกเสียง: [ədʒmeːr]  ( ฟัง)) เป็นหนึ่งในนครสำคัญและเก่าแก่ที่สุดของรัฐราชสถาน และศูนย์กลางการปกครองของอำเภออัชเมร์ อัชเมร์ตั้งอยู่ตรงกลางของรัฐในทางภูมิศาสตร์ จึงทำให้บางทีอาจเรียกว่าเป็น "ใจกลางของรัฐราชสถาน" นครนี้สถาปนาขึ้นในชื่อ "อชยเมรุ" (Ajayameru; "เนินเขาอันมิพ่ายแพ้") โดยผู้นำจหามนะ ซึ่งอาจจะเป็นอชยราชที่ 1 หรือ อชยราชที่ 2 และคงสถานะเป็นราชธานีเรื่อยมาถึงศตวรรษที่ 12[3][4]

อัชเมร์ถูกล้อมรอบด้วยเทือกเขาอรวัลลี และได้รับสถานะเทศบาลตั้งแต่ปี 1869 ในปี 2018 นครอัชเมร์ได้รับการคัดเลือกโดยรัฐบาลอินเดียให้เป็นนครหฤทัย[5] และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสมาร์ตซิตีของรัฐบาลกลางในปี 2015[6]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

นักประวัติศาสตร์ ทศรถ ชาร์มา ชี้ให้เห็นว่าหลักฐานการกล่าวถึงนครที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏอยู่ใน ปัฏฏวลี ซึ่งเขียนขึ้นในปี 1113 (1170 ว.ส.) ที่นครธารา ข้อเท็จจริงนี้ทำให้สรุปได้ว่านครอัชเมร์มีอยู่มาแล้วก่อนปี 1113[7] ปรศัสตี (จารึกสรรเสริญ) โดยกษัตริย์วิครหราชที่ 4 ซึ่งพบที่วิทยาลัยสันสกฤตอาธยทินกาโฌนปรา ระบุว่ากษัตริย์อชยเทวะ (ซึ่งคือ อชยราชที่สอง) ได้ย้ายที่พำนักของตนมายังอัชเมร์[3] ส่วนในเอกสารยุคหลังจากนั้น ประพันธโกษ ระบุว่าเป็นกษัตริย์ยุคศตวรรษที่ 8 นามว่าอชยราชที่ 1 เป็นผู้สร้างป้อมอชยเมรุขึ้น ป้อมดังกล่าวต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อป้อมตาราครห์[4] นักประวัติศาสตร์ อาร์ บี สิงห์ (R. B. Singh) เสนอว่าข้อเสนอดังกล่าวเป็นจริง เนื่องจากมีจารึกอายุศตวรรษที่ 8 ค้นพบในอัชเมร์[8] นอกจากนี้เขายังตั้งทฤษฎีซึ่ง อชยราชที่สอง เป็นผู้ขยับขยายเขตเมือง สร้างวัง และเป็นผู้ย้ายราชธานีของจหามนะจากศกัมภรี มายังอัชเมร์[9]

อัชเมร์ถูกควบรวมในปี 1193 เข้ากับฆูรีด ก่อนจะคืนแก่เจ้าครองนครชาวราชปุตหลังยอมจำนนเครื่องบรรณาการให้[10] และในปี 1556 อัชเมร์ถูกยึดครองโดยจักรวรรดิโมกุล นำโดยจักรพรรดิอักบัร[10] และตั้งเป็นราชธานีของแคว้นอัชเมรซูบะฮ์ ในยุคโมกุล ชาวมุสลิมจำนวนมากเดินทางมาแสวงบุญที่ดัรกะฮ์ ของ โมยนุดดีน ชีชตี ทำให้เมืองนี้เป็นที่ชมชอบของโมกุล รวมถึงยังถูกใช้เป็นฐานทัพต่อสู้กับพวกราชปุต ขุนนางและจักรพรรดิของโมกุลบริจาคเงินจำนวนมากให้กับนครอัชเมร์ ซึ่งรวมถึงการสร้างวังอักบัร และศาลาจำนวนมากริมอนสาคร[11][12][13] และมีการสร้างถาวรวัตถุขึ้นมากมายในบริเวณของ ดัรกะฮ์[14] ทั้งจาฮานารา เบกุม และ ดารา ชีโกฮ์ บุตรของชะฮ์จาฮาน ล้วนเกิดที่อัชเมร์ ในปี 1614 และ 1615 ตามลำดับ[15][16]

โมกุลเริ่มเสื่อมอำนาจในอัชเมร์ลงในศตวรรษที่ 18[17] ในปี 1752 สสินทิยาเข้ายึดครองอัชเมร์[18] ก่อนที่ในปี 1818 จะถูกยึดครองโดยอังกฤษอย่างเป็นทางการ[10] และมีการตั้งเทศบาลอัชเมร์ขึ้นในปี 1866[19] ในยุคอาณานิคม อัชเมร์เป็นเมืองหลวงของแคว้นอัชเมร์-เมรวาระ รวมถึงมีการสร้างเรือนจำกลางกับโรงพยาบาลกลางขนาดใหญ่ขี้น นับตั้งแต่ทศวรรษ 1900s ได้มีการตั้งโลสถ์คริสต์โดยคริสตจักรสก็อตแลนด์, คริสตจักรอังกฤษ, โรมันคาทอลิก และเมธอดิสต์อเมริกัน ที่นี่[20] รวมถึงมีการตั้งโรงพิมพ์ขึ้น 12 แห่ง ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์อยู่แปดหัว[21]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Braj Lata Hada of BJP was elected mayor of the Ajmer Muncipa". Times of India (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 8 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
  2. "AMC".
  3. 3.0 3.1 Har Bilas Sarda 1911, pp. 68–74.
  4. 4.0 4.1 R. B. Singh 1964, p. 87.
  5. "Hriday Cities | Heritage City Development and Augmentation Yojana (HRIDAY)". www.hridayindia.in (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-09-28.
  6. "Introduction". Hriday official website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 August 2015. สืบค้นเมื่อ 30 April 2015.
  7. Dasharatha Sharma 1959, p. 40.
  8. R. B. Singh 1964, p. 88.
  9. R. B. Singh 1964, pp. 131–132.
  10. 10.0 10.1 10.2 "Ajmer". Encyclopaedia Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2015. สืบค้นเมื่อ 21 October 2020.
  11. Asher, Catherine B. (1992-09-24). Architecture of Mughal India. Cambridge University Press. pp. 77–80. doi:10.1017/chol9780521267281. ISBN 978-0-521-26728-1.
  12. Asher, Catherine B. (1992-09-24). Architecture of Mughal India. Cambridge University Press. pp. 118–122. doi:10.1017/chol9780521267281. ISBN 978-0-521-26728-1.
  13. Asher, Catherine B. (1992-09-24). Architecture of Mughal India. Cambridge University Press. pp. 170 & 174–178. doi:10.1017/chol9780521267281. ISBN 978-0-521-26728-1.
  14. Asher, Catherine B. (1992-09-24). Architecture of Mughal India. Cambridge University Press. p. 220. doi:10.1017/chol9780521267281. ISBN 978-0-521-26728-1.
  15. Government of India, MoC. "IndianCulture". indianculture.gov.in. MoC, IIT Bombay, IGNOU. สืบค้นเมื่อ 21 October 2021.
  16. Singhal, Shruti (บ.ก.). "thebetterindia". thebetterindia.com. thebetterindia. สืบค้นเมื่อ 21 October 2021.
  17. Asher, Catherine B. (1992-09-24). Architecture of Mughal India. Cambridge University Press. p. 310. doi:10.1017/chol9780521267281. ISBN 978-0-521-26728-1.
  18. Currie, Peter Mark (2009-10-01), "Ajmer", Encyclopaedia of Islam, THREE (ภาษาอังกฤษ), Brill, doi:10.1163/1573-3912_ei3_com_23249, สืบค้นเมื่อ 2021-12-14
  19. Rima Hooja (2006). A History of Rajasthan. Rupa. p. 1166. ISBN 9788129108906.
  20. "#World Tourism Day 2018:सूफियत की महक और तीर्थनगरी पुष्कर की सनातन संस्कृति". www.patrika.com (ภาษาฮินดี). สืบค้นเมื่อ 2018-09-28.
  21. THE IMPERIAL GAZETTEER OF INDIA, 1908. OUP. pp. Extract.

บรรณานุกรม

[แก้]