กลุ่มอาการทารกถูกเขย่า
Abusive head trauma | |
---|---|
ชื่ออื่น | Shaken baby syndrome, non accidental head injury |
An intraparenchymal bleed with overlying skull fracture from abusive head trauma | |
อาการ | Variable[1] |
ภาวะแทรกซ้อน | Seizures, visual impairment, cerebral palsy, cognitive impairment[2][1] |
การตั้งต้น | Less than 5 years old[3] |
สาเหตุ | Blunt trauma, vigorous shaking[1] |
วิธีวินิจฉัย | CT scan[1] |
การป้องกัน | Educating new parents[1] |
พยากรณ์โรค | Long term health problems common[3] |
ความชุก | 3 per 10,000 babies per year (US)[1] |
การเสียชีวิต | ~25% risk of death[3] |
กลุ่มอาการทารกถูกเขย่า (อังกฤษ: shaken baby syndrome, SBS) หรือ การบาดเจ็บต่อศีรษะจากการถูกกระทำทารุณ (อังกฤษ: abusive head trauma, AHT) คือการบาดเจ็บต่อศีรษะของเด็กที่เกิดจากการถูกผู้อื่นกระทำ[1] ผู้ป่วยอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยหรือมีอาการชัดเจนมากก็ได้[1] อาการที่มีเช่นอาเจียน หรือร้องกวนผิดปกติ[1] บ่อยครั้งอาจไม่มีอาการแสดงของการบาดเจ็บภายนอกใดๆ[1] ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้เช่น ชัก ตาบอด สมองพิการ และสติปัญญาบกพร่องได้[2][1] ภาวะนี้เป็นการกระทำทารุณต่อเด็กประเภทหนึ่ง[4]
สาเหตุอาจเกิดจากการถูกกระแทกด้วยของแข็งไม่มีคม หรือเกิดจากการเขย่าอย่างรุนแรง[1] มักเกิดจากการที่ผู้เลี้ยงดูเกิดความเครียดอย่างรุนแรงจากการที่เด็กร้องกวน[3] การวินิจฉัยอาจทำได้ยากเนื่องจากอาการของผู้ป่วยมักไม่จำเพาะ[1] หากสงสัยภาวะนี้แนะนำให้ทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง[1] การตรวจพบเลือดออกที่จอตาพบนั้นพบได้บ่อยในภาวะนี้ แต่ก็พบในภาวะอื่นได้เช่นกัน[1]
การให้ความรู้กับพ่อแม่มือใหม่มีประโยชน์ช่วยลดอัตราการเกิดภาวะนี้ได้[1] การรักษาบางครั้งอาจต้องผ่าตัด เช่นการวางทางระบายน้ำจากโพรงสมอง[1] ภาวะนี้ในปีหนึ่งๆ จะพบได้ในเด็กประมาณ 3-4 ต่อ 10,000 คน[1] ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี[3] เมื่อเป็นแล้วมีโอกาสเสียชีวิต 25%[3] การวินิจฉัยภาวะนี้มักมีผลทางกฎหมายต่อผู้ดูแลเด็กตามมา[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 Shaahinfar, A; Whitelaw, KD; Mansour, KM (June 2015). "Update on abusive head trauma". Current Opinion in Pediatrics. 27 (3): 308–14. doi:10.1097/mop.0000000000000207. PMID 25768258.
- ↑ 2.0 2.1 Advanced Pediatric Assessment, Second Edition (ภาษาอังกฤษ) (2 ed.). Springer Publishing Company. 2014. p. 484. ISBN 9780826161765. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-05.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 "Preventing Abusive Head Trauma in Children". www.cdc.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 4 April 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 June 2017. สืบค้นเมื่อ 9 June 2017.
- ↑ 4.0 4.1 Christian, CW; Block, R (May 2009). "Abusive head trauma in infants and children". Pediatrics. 123 (5): 1409–11. doi:10.1542/peds.2009-0408. PMID 19403508.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
- Centers for Disease Control and Prevention - Abusive head trauma