อินเทล 8051
อินเทล 8051 เป็นชื่อของตระกูลไมโครคอนโทรลเลอร์ สถาปัตยกรรมฮาร์วาร์ด ที่พัฒนาโดยบริษัทอินเทลเมื่อปีค.ศ.1980 เพื่อใช้ในอุปกรณ์แบบฝังตัว ชิปตระกูล 8051 นี้ ได้รับความนิยมอย่างสูง ในคริสต์ทศวรรษที่ 1980 และต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1990 แต่ในปัจจุบัน ถูกแทนที่ด้วยชิปตัวอื่น ซึ่งรวดเร็วกว่า มีฟังก์ชันมากกว่า และยังคงเข้ากันได้กับสถาปัตยกรรมของ8051 (8051-compatible) โดยมีผู้ผลิตอุปกรณ์เหล่านี้มากกว่า 20 บริษัท อาทิ อินเทล แอทเมล(Atmel) ฟิลิปส์(NXP) และซีเมนส์ รหัสดั้งเดิมที่อินเทลใช้เรียกไมโครคอนโทรลเลอร์ตัวนี้คือ MCS 51
ชิป 8051 ดั้งเดิมของอินเทลนั้นใช้เทคโนโลยีแบบ NMOS แต่ในรุ่นถัดๆมาใช้เทคโนโลยีแบบ CMOS ซึ่งใช้พลังงานน้อยกว่า (ทำให้สามารถนำไปใช้ในอุปกรณ์ ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี) สังเกตว่าจะมีการ เพิ่มอักษร C เข้ามาในชื่อรุ่น เป็น C51 เช่น 80C51 หรือ AT89C51(Atmel)
ไมโครคอนโทรลเลอร์เบอร์นี้ สามารถติดต่อกับหน่วยข้อมูล และหน่วยความจำโปรแกรม พร้อมกันนั้นเครื่องมือในการพัฒนาระบบก็มีราคาถูกและ ครบถ้วนไม่ว่าจะเป็นแอสเซมเบลอร์, คอมไพเลอร์ภาษา C, ซิมูเลเตอร์, โปรแกรมมอนิเตอร์ และบอร์ดพัฒนา (Development Circuit Board)
รายละเอียดทางเทคนิค
[แก้]- ติดต่อกับหน่วยความจำรอมได้สูงถึง 32 กิโลไบต์
- มีหน่วยความจำแรมภายในขนาด 128 ไบต์และ 256 ไบต์สำหรับ 8052
- มีเรจิสเตอร์แบบ 8 บิต 19 ตัว และแบบ 16 บิต 5 ตัว
- มีพอร์ตอนุกรมในตัว
- สามารถติดต่อกับแหล่งกำเนิดอินเตอร์รัปต์ได้ 5 ชุดและ 9 ชุดสำหรับเบอร์ 8032 และ 8052
- มีพอร์ตอินพุตเอาต์พุต 32 บิต
- มีตัวตั้งเวลา (ไทเมอร์) ขนาด 16 บิต 2 ตัว และ 3 ตัว ในเบอร์ 8032 และ 8052
- มีคำสั่ง 111 คำสั่งสามารถอ้างแอดเดรสได้ 2 โหมด
คุณสมบัติอีกอย่างซึ่งใช้ประโยชน์ได้มากจากชิปตัวนี้ คือ มันสามารถประมวลผลทางตรรกศาสตร์ ได้ในระดับบิท ได้โดยตรง ทั้งในเรจิสเตอร์(Register) และหน่วยความจำ(RAM)และด้วยคุณสมบัตินี้เอง ทำให้ 8051 เริ่มเป็นที่นิยม นำมาใช้ในการควบคุมอุปกรณ์ทางอุตสาหกรรมในสมัยนั้น นอกจากนี้ 8051 ยังมีกลุ่มเรจิสเตอร์ให้เลือกใช้ถึง 4 กลุ่ม ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกมากในการใช้อินเตอร์รัพท ์และ UART บน 8051 ก็ใช้งานง่าย ทำให้เหมาะสำหรับนำชิปนี้ ไปใช้ในการสื่อสารแบบอนุกรม (serial communications interface)
ชิป 8051 โดยทั่วไป มักจะมี 1 ถึง 2 UART มี 2 ถึง 3 ไทเมอร์ (Timer) มีหน่วยความจำภายในสำหรับเก็บข้อมูล (Internal Data RAM)ประมาณ 128 ถึง 256 ไบต์ มี I/O อาจจะมากถึง 128 ไบต์ และมีหน่วยความจำภายในสำหรับโปรแกรม(ไว้แฟลช)จำนวน 512 ไบต์ ถึง 64 กิโลไบต์ (โดยทั่วไป 8051 เรียกใช้หน่วยความจำสำหรับโปรแกรมได้ไม่เกิน 64 กิโลไบต์ ยกเว้นในชิปรุ่นใหม่ๆ อาจมีฟังก์ชันพิเศษช่วย ให้สามารถเรียกใช ้หน่วยความจำสำหรับโปรแกรมได้เกิน 64 กิโลไบต์)
นอกจากนี้ ในปัจจุบัน สามารถดาวน์โหลดสถาปัตยกรรมแบบ 8051 ซึ่งอยู่ในรูปภาษาVHDL จากอินเทอร์เน็ต เพื่อนำมาใช้ใน Programmmable Logic Device ประเภท FPGA ได้อีกด้วย
ดูเพิ่ม
[แก้]- Intel MCS 51 series microcontrollers
- Atmel 8051 เก็บถาวร 2007-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- NXP (Philips) เก็บถาวร 2009-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Maxim Integrated Products เก็บถาวร 2007-03-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Keil Compiler for 8051, free version available
- Small Device C Compiler (SDCC) open-source C compiler for 8051
- ASEM-51 Assembler (ฟรี) สำหรับ 8051