สงครามนากอร์โน-คาราบัคครั้งที่สอง
สงครามนากอร์โน-คาราบัคครั้งที่สอง | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งนากอร์โน-คาราบัค | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
อาเซอร์ไบจาน |
สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
อิลฮัม แอลีเยฟ (ประธานาบดีอาเซอร์ไบจาน, ผู้บัญชาการ) ซาคีร์ แฮแซนอฟ (รัฐมนตรีกลาโหมอาเซอร์ไบจาน) มาอิส แบร์คูดารอฟ (ผู้บัญชาการทหารบก)[13] |
นีกอล พาชินยัน (นายกรัฐมนตรีอาร์มีเนีย, ผู้บัญชาการ) ดาวิท ตอนอยัน (รัฐมนตรีกลาโหมอาร์มีเนีย) อารายิก ฮารุทยุนยัน (ประธานาธิบดีสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค, ผู้บัญชาการ) จาลัล ฮารุทยูนยัน (รัฐมนตรีกลาโหมสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค) | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
ข้อมูลจากอาเซอร์ไบจาน:
ข้อมูลจากอาร์มีเนีย:[16] |
ข้อมูลจากอาร์มีเนีย: ข้อมูลจากอาเซอร์ไบจาน:
| ||||||||
พลเมืองอาเซอร์ไบจานเสียชีวิต 65 คน พลเมืองอาร์มีเนียเสียชีวิต 40 คน;[25] พลเมืองอาเซอร์ไบจานบาดเจ็บ 297 คน[26] พลเมืองอาร์มีเนีย 100 คนบาดเจ็บ[27] ผู้สื่อข่าวชาวรัสเซีย 3 คน ฝรั่งเศส 2 คน อาร์มีเนีย 1 คน อาเซอร์ไบจาน 1 คน ได้รับบาดเจ็บ[28] พลเมืองชาวอิหร่าน 1 คน ได้รับบาดเจ็บ |
สงครามนากอร์โน-คาราบัคครั้งที่สอง เป็นความขัดแย้งทางอาวุธในภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัคระหว่างอาเซอร์ไบจานซึ่งได้รับการสนับสนุนจากตุรกี กับสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค (อาร์ทซัค) ซึ่งประกาศตัวเองเป็นเอกราชและได้รับการสนับสนุนจากอาร์มีเนีย นับเป็นความขัดแย้งที่บานปลายครั้งล่าสุดในภูมิภาคซึ่งได้รับการรับรองจากนานาชาติว่าเป็นส่วนหนึ่งของอาเซอร์ไบจาน แต่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคและมีชาวอาร์มีเนียเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลักที่อาศัยอยู่
การปะทะเริ่มขึ้นในเช้าวันที่ 27 กันยายน ตามแนวติดต่อนากอร์โน-คาราบัคซึ่งได้รับการกำหนดขึ้นหลังสงครามนากอร์โน-คาราบัค (พ.ศ. 2531–2537) เพื่อเป็นการตอบสนองต่อการปะทะครั้งนี้ อาร์มีเนียและสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคได้ประกาศกฎอัยการศึกและการระดมพลทั้งหมด[29][30] ในขณะที่อาเซอร์ไบจานได้ประกาศกฎอัยการศึกและเคอร์ฟิว[31] และต่อมาได้ประกาศการระดมพลบางส่วนในวันที่ 28 กันยายน[32] ตุรกีให้การสนับสนุนทางทหารแก่อาเซอร์ไบจาน แม้ว่าขอบเขตของการสนับสนุนจะยังเป็นที่ถกเถียงก็ตาม[33][34] เชื่อกันว่าการเข้ามามีส่วนร่วมของตุรกีเป็นความพยายามที่จะขยายเขตอิทธิพลของตนทั้งโดยการเสริมสถานะของอาเซอร์ไบจานในความขัดแย้งและโดยการลดอิทธิพลของรัสเซียในภูมิภาค[33][35]
นักวิเคราะห์ระหว่างประเทศเชื่อว่าอาเซอร์ไบจานเป็นผู้เปิดฉากรุกก่อน[33][36] และเป้าหมายหลักของการรุกน่าจะเป็นไปเพื่อยึดพื้นที่ตอนใต้ของนากอร์โน-คาราบัคซึ่งมีภูเขาน้อยกว่าและง่ายต่อการเข้ายึดมากกว่าพื้นที่ตอนในของภูมิภาคซึ่งมีการป้องกันอย่างดี[37][38] ในสงครามครั้งนี้มีการโจมตีโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ เครื่องรับรู้ ปืนใหญ่พิสัยไกล[39] และขีปนาวุธ ตลอดจนการโฆษณาชวนเชื่อโดยรัฐและการใช้บัญชีสื่อสังคมทางการในยุทธการข้อมูลข่าวสารออนไลน์[40] ผู้เสียชีวิตจากการสู้รบของทั้งสองฝ่ายรวมกันแล้วอาจอยู่ในระดับหลายพันคน[41]
หลายประเทศและสหประชาชาติออกมาประณามอย่างรุนแรงต่อการใช้กำลังและเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายผ่อนคลายความตึงเครียดและกลับสู่การเจรจาที่มีนัยสำคัญโดยไม่รอช้า[42] ข้อตกลงหยุดยิงเพื่อมนุษยธรรมตามแนวทางของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศซึ่งมีรัสเซียเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยและได้รับความเห็นชอบจากทั้งอาร์มีเนียและอาเซอร์ไบจานมีผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม[43][44][45] อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวถูกทั้งสองฝ่ายเพิกเฉยอย่างสิ้นเชิง ส่งผลให้แผนการส่งร่างผู้เสียชีวิตกลับประเทศและการแลกเปลี่ยนผู้บาดเจ็บและเชลยหยุดชะงัก[46]
หลังจากอาเซอร์ไบจานเข้ายึดชูชาซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองของสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค มีการลงนามข้อตกลงสันติภาพระหว่างอิลฮัม แอลีเยฟ ประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจาน, นีกอล พาชินยัน นายกรัฐมนตรีอาร์มีเนีย และวลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ซึ่งยุติการสู้รบทั้งหมดในพื้นที่ตั้งแต่เวลา 00:00 น. ของวันที่ 10 พฤศจิกายน ตามเวลามอสโก[47][48][49] อารายิก ฮารุทยุนยัน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค ตกลงที่จะยุติการสู้รบด้วยเช่นกัน[50] ตามข้อตกลงดังกล่าว แต่ละฝ่ายจะยังคงปักหลักในพื้นที่ที่ตนเองควบคุมอยู่ในปัจจุบัน ในขณะที่ชาวอาร์มีเนียตกลงที่จะคืนดินแดนรอบภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัคที่ตนเองยึดครองให้แก่อาเซอร์ไบจาน นอกจากนี้อาเซอร์ไบจานยังจะสามารถเข้าถึงดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันทางบกได้อีกด้วย[51] ส่วนรัสเซียจะส่งทหารจำนวนเกือบ 2,000 นายไปเป็นกองกำลังรักษาสันติภาพเพื่อคุ้มครองเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างอาร์มีเนียกับสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคเป็นเวลาอย่างน้อยห้าปี[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kofman, Michael (2 October 2020). "Armenia-Azerbaijan War: Military Dimensions of the Conflict". Russia Matters. Belfer Center for Science and International Affairs. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-03. สืบค้นเมื่อ 2020-10-05.
Turkey has publicly, and militarily, backed Azerbaijan in this conflict....
- ↑ Jones, Dorian (28 September 2020). "Turkey Vows Support for Azerbaijan in Escalating Nagorno-Karabakh Conflict". Voice of America. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-30. สืบค้นเมื่อ 2020-10-05.
"Turkey is already supporting Azerbaijan militarily, through technical assistance through arms sales, providing critical military support, especially in terms of armed drones and technical expertise," said Turkish analyst Ilhan Uzgel.
- ↑ Ravid, Barak (30 September 2020). "Azerbaijan using Israeli "kamikaze drones" in Nagorno-Karabakh clashes". Axios. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-30. สืบค้นเมื่อ 2020-10-05.
- ↑ "Azerbaijani official says military using Israeli-made drones in war with Armenia". i24 News. 30 September 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-30. สืบค้นเมื่อ 2020-10-05.
- ↑ "Israel sending weapons to Azerbaijan as fight with Armenia rages on: Sources". Al Arabiya. 30 September 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-03. สืบค้นเมื่อ 2020-10-05.
...a US intelligence source told Al Arabiya English that Israel was sending planes full of weapons to Azerbaijan.
- ↑ Dans le Haut-Karabakh, les volontaires arméniens découvrent la guerre // RFI. 03/10/2020.
- ↑ 7.0 7.1 "Deal Struck to End Nagorno-Karabakh War". The Moscow Times. 10 November 2020. สืบค้นเมื่อ 10 November 2020.
- ↑ "Azerbaijan and Armenia agree full ceasefire in Nagorno-Karabakh". Financial Times. 10 November 2020.
Agreement is seen as victory for Baku and will be monitored by Russian forces
- ↑ "Armenia, Azerbaijan and Russia sign Nagorno-Karabakh peace deal". BBC. 10 November 2020.
The BBC's Orla Guerin in Baku says that, overall, the deal should be read as a victory for Azerbaijan and a defeat for Armenia.
- ↑ Staff, Reuters (27 September 2020). "Nagorno-Karabakh says the region has lost some territory to Azerbaijan's army" – โดยทาง www.reuters.com.
- ↑ Armenian, Azeri forces battle again, at least 21 reported killed
- ↑ "Azerbaijan kills over a dozen Armenian servicemen in Karabakh fighting". trtworld.com (ภาษาอังกฤษ). TRT World. 27 September 2020. สืบค้นเมื่อ 27 September 2020.
- ↑ Major General Mayis Barkhudarov: "We will fight to destroy the enemy completely"
- ↑ 14.0 14.1 Outbreak of fighting in Karabakh, updated. News and reports. Video/photo
- ↑ "Fighting Erupts Between Azeris and Armenians Over Disputed Land". Bloomberg. 27 September 2020. สืบค้นเมื่อ 27 September 2020.
- ↑ "Armenia military top brass hold tactical consultation". 28 September 2020. สืบค้นเมื่อ 28 September 2020.
- ↑ "Azerbaijan has suffered over 400 manpower losses". armenpress.am (ภาษาอังกฤษ). Armenpress. 28 September 2020. สืบค้นเมื่อ 28 September 2020.
- ↑ "Azeri-Armenian Clashes: Nagorno-Karabakh Army Seizes 11 Azerbaijani Armoured Vehicles". 28 September 2020.
- ↑ Karabakh says 28 more of its troops killed in fighting with Azeri forces
- ↑ "About 200 military servicemen wounded in Nagorno-Karabakh". 28 September 2020.
- ↑ "URGENT: Turkish F-16 shoots down Armenia jet in Armenian airspace". Armenpress. 29 September 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2020. สืบค้นเมื่อ 29 September 2020.
- ↑ https://theaviationist.com/2020/09/30/armenia-releases-images-of-su-25-wreckage-continues-to-claim-it-was-shot-down-by-turkish-f-16/
- ↑ "Müdafiə Nazirliyi Ermənistanın itkilərini açıqladı" (ภาษาอาเซอร์ไบจาน). 28 September 2020. สืบค้นเมื่อ 28 September 2020.
- ↑ "MN: Düşmənin 3 silah-sursat anbarı, onlarla texnikası məhv edilib, 550-dən artıq canlı qüvvə itkisi var" (ภาษาอาเซอร์ไบจาน). 28 September 2020. สืบค้นเมื่อ 28 September 2020.
- ↑ Death Toll Rises as Armenia-Azerbaijan Fighting Enters Second Day
- ↑ "Ermənilərin yaşayış məntəqəsini atəşə tutması nəticəsində Ağdam sakini həlak olub". report.az (ภาษาอาเซอร์ไบจาน). Report Information Agency. 28 September 2020. สืบค้นเมื่อ 28 September 2020.
- ↑ Over 30 civilians injured in Artsakh – preliminary information
- ↑ Staff, Reuters (1 October 2020). "Two French journalists seriously wounded after shelling in Nagorno-Karabakh" – โดยทาง www.reuters.com.
- ↑ "Armenia and Azerbaijan erupt into fighting over disputed Nagorno-Karabakh". BBC News. 27 September 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2020. สืบค้นเมื่อ 27 September 2020.
- ↑ "Nagorno-Karabakh announces martial law and total mobilization". Reuters. 27 September 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2020. สืบค้นเมื่อ 27 September 2020.
- ↑ "Azerbaijan's parliament approves martial law, curfews – president's aide". Reuters. 27 September 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2020. สืบค้นเมื่อ 27 September 2020.
- ↑ "Azerbaijan's president orders partial military mobilization". tass.com. สืบค้นเมื่อ 2020-10-26.
- ↑ 33.0 33.1 33.2 Kofman, Michael (2 October 2020). "Armenia–Azerbaijan War: Military Dimensions of the Conflict". Russia Matters. Belfer Center for Science and International Affairs. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-03. สืบค้นเมื่อ 2020-10-05.
On 27 September 2020, Azerbaijan launched a military offensive, resulting in fighting that spans much of the line of contact in the breakaway region of Nagorno-Karabakh...
- ↑ Jones, Dorian (28 September 2020). "Turkey Vows Support for Azerbaijan in Escalating Nagorno-Karabakh Conflict". Voice of America. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-30. สืบค้นเมื่อ 2020-10-05.
แม่แบบ:-'Turkey is already supporting Azerbaijan militarily, through technical assistance through arms sales, providing critical military support, especially in terms of armed drones and technical expertise', said Turkish analyst Ilhan Uzgel.
- ↑ Gall, Carlotta (2020-10-01). "Turkey Jumps Into Another Foreign Conflict, This Time in the Caucasus". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2020-10-04.
- ↑ Kucera, Joshua (29 September 2020). "As fighting rages, what is Azerbaijan's goal?". eurasianet.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2020. สืบค้นเมื่อ 29 September 2020.
The Azerbaijani offensive against Armenian forces is its most ambitious since the war between the two sides formally ended in 1994.
- ↑ Palmer, James (28 September 2020). "Why Are Armenia and Azerbaijan Heading to War?". Foreign Policy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2020. สืบค้นเมื่อ 29 September 2020.
- ↑ "'Забуксовала, заглохла': эксперт о военной операции Азербайджана в Карабахе" (ภาษารัสเซีย). EurAsia Daily. 2 October 2020.
Азербайджанская армия не выполнила за 5 дней ни одной задачи первого дня. Михаил Ходарёнок
- ↑ Gatopoulos, Alex. "The Nagorno-Karabakh conflict is ushering in a new age of warfare". aljazeera.com. สืบค้นเมื่อ 2020-10-15.
- ↑ Mirovalev, Mansur (15 October 2020). "Armenia, Azerbaijan battle an online war over Nagorno-Karabakh". Al Jazeera.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ McKernan, Bethan; Zavallis, Achilleas (2020-10-13). "Trench warfare, drones and cowering civilians: on the ground in Nagorno-Karabakh". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
- ↑ "UN Security Council calls for immediate end to fighting in Nagorno-Karabakh". france24.com. Associated Press. 2020-09-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-09-30.
- ↑ "Nagorno-Karabakh: Armenia and Azerbaijan shaky ceasefire in force". BBC News. 2020-10-10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-10-10.
- ↑ Hovhannisyan, Nailia Bagirova, Nvard (2020-10-10). "Armenia and Azerbaijan accuse each other of violating Nagorno-Karabakh ceasefire". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-15. สืบค้นเมื่อ 2020-10-10.
- ↑ "Armenia Azerbaijan: Reports of fresh shelling dent ceasefire hopes". BBC News. 2020-10-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 October 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-10-11.
- ↑ Bagirova, Nvard Hovhannisyan, Nailia (2020-10-13). "Humanitarian crisis feared as Nagorno-Karabakh ceasefire buckles". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2020-10-13.
- ↑ "Путин выступил с заявлением о прекращении огня в Карабахе" (ภาษารัสเซีย). RIA Novosti. 9 November 2020. สืบค้นเมื่อ 9 November 2020.
- ↑ "Пашинян заявил о прекращении боевых действий в Карабахе" (ภาษารัสเซีย). RIA Novosti. 9 November 2020. สืบค้นเมื่อ 9 November 2020.
- ↑ "Nagorno-Karabakh: Russia deploys peacekeeping troops to region". BBC News. 2020-11-10. สืบค้นเมื่อ 2020-11-11.
- ↑ "Президент непризнанной НКР дал согласие закончить войну" (ภาษารัสเซีย). RIA Novosti. 9 November 2020. สืบค้นเมื่อ 9 November 2020.
- ↑ https://www.nytimes.com/2020/11/09/world/middleeast/armenia-settlement-nagorno-karabakh-azerbaijan.html