กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฮ่องกง
กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฮ่องกง มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า กฎหมายสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการรักษาความมั่นคงแห่งชาติในเขตปกครองพิเศษฮ่องกง เป็นกฎหมายความมั่ยคงแห่งชาติที่เกี่ยวเนื่องกับฮ่องกง ตราเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563 คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติ (NPCSC) เป็นผู้ตรากฎหมายดังกล่าวแทนสภานิติบัญญัติฮ่องกง ทั้งที่ข้อ 23 ของกฎหมายหลักพื้นฐานฮ่องกงระบุว่ากฎหมายดังกล่าวควรให้ฮ่องกงตราเพียงผู้เดียวโดยไม่มีการรับจากแหล่งอื่น ซึ่งออกแบบมาเพื่อคุ้มครองการแทรกแซงกิจการดินแดนของฮ่องกง
ไม่นานหลังฮ่องกงคืนสู่ประเทศจีน มีความพยายามในปี 2546 เพื่อผ่านกฎหมายภายใต้มาตรา 23 แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากการเดินขบวนขนาดใหญ่ ทั้งความพยายามผ่านกฎหมายความมั่นคงในปี 2546 และ 2563 เกิดขึ้นระหว่างเกิดโรคระบาด (คือ โรคซาร์สและโควิด-19 ตามลำดับ) ทั้งสองครั้งเกิดเสียงตอบรับเชิงลบด้วยกันทั้งคู่
27 ประเทศวิจารณ์กฎหมายดังกล่าวอย่างรุนแรง โดยเฉพาะประเทศตะวันตก รวมทั้งประเทศญี่ปุ่น ทำให้มีมาตรการผ่อนปรนกฎหมายคนเข้าเมืองแก่คนเข้าเมืองชาวฮ่องกง มีความสนใจต่อมาตรา 38 ของกฎหมายนี้เป็นพิเศษ ซึ่งระบุว่ากฎหมายนี้ยังใช้บังคับแก่ผู้ที่มิใช่ผู้อยู่อาศัยถาวรของฮ่องกง และผู้ที่มิได้อาศัยอยู่ ณ ที่นั้นด้วย ซึ่งบางคนตีความว่ากฎหมายนี้อาจใช้ได้กับบุคคลทั่วโลก[1]
เนื้อหา
[แก้]ร่างกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติปี 2546 | กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติปี 2563 | |
---|---|---|
วิธีการตรากฎหมาย | เอกสารปรึกษาที่รัฐบาลเผยแพร่;
ผ่านการปรึกษาหารือในท้องถิ่น; อภิปรายและพิจารณากลั่นกรองในสภานิติบัญญัติฮ่องกง; รัฐบาลเสนอแก้ไขหลังเกิดปฏิกิริยาเชิงลบ |
คณะกรรมาธิการสามัญสภาประชาชนแห่งชาติผ่าน และสภาฯ อนุมัติในเวลาต่อมา
ไม่มีการปรึกษาหารือหรือเผยแพร่เนื้อหาก่อนผ่าน |
อำนาจตรวจค้นของตำรวจโดยไม่ต้องมีหมายศาล | อนุญาตภายใต้ร่างกฎหมายทีแรก แต่ลบออกไปภายหลัง | อนุญาต |
นิยามของอาชญากรรมการแยกตัวออก | การใช้ "กำลังหรือวิธีการผิดกฎหมายร้ายแรง" ซึ่ง "เป็นภัยอย่างร้ายแรงต่อเสถียรภาพ" ของจีน หรือเข้าร่วมในสงครามจึงครบองค์ประกอบของการแยกตัวออก | การแยกตัวออกรวมทั้งการกระทำ "ไม่ว่าใช้กำลังหรือข่มขู่ใช้กำลังหรือไม่" |
ตัวการที่อยู่ภายใต้กฎหมาย | การบ่อนทำลายและการแยกตัวออกจำกัดเฉพาะผู้อยู่อาศัยถาวรของฮ่องกง และกบฏใช้กับผู้มีสัญชาติจีนไม่ว่าก่ออาชญากรรมที่ใด | ครอบคลุมบุคคลในฮ่องกงไม่ว่ามีสัญชาติใดหรือสถานภาพอยู่อาศัยใด และยังใช้กับความผิดที่เกิดขึ้นนอกฮ่องกงโดยผู้ที่มิใช่ผู้อยู่อาศัยถาวร |
เขตอำนาจสำหรับพิจารณาคดี | รัฐบาลและศาลฮ่องกง | สำนักงานพิทักษ์ความมั่นคงแห่งชาติ (Office for Safeguarding National Security) และศาลประชาชนสูงสุดของจีนมีอำนาจในบางพฤติการณ์ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bristow, Michael (9 November 2020). "Hong Kong security law: Why students abroad fear it". BBC News (www.bbc.com). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2020. สืบค้นเมื่อ 9 November 2020.
- ↑ Wong, Natalie (2020-07-09). "Five differences between Hong Kong's security law and 2003's shelved bill". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-03-05.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Hong Kong Government Gazette promulgation of the law
- UK government six-monthly report on Hong Kong for July to December 2019 (published June 2020)
- BBC live feed on Hong Kong (1 July 2020)
- The Guardian live feed on Hong Kong (1 July 2020)
- Lord Chris Patten – China's Global Posture and its Evolution (1 July 2020) (VIDEO)