ข้ามไปเนื้อหา

เหตุโทรมหญิงและฆ่าคนที่หาถรัส พ.ศ. 2563

พิกัด: 27°36′N 78°03′E / 27.60°N 78.05°E / 27.60; 78.05
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก 2020 Hathras gang rape and murder)
เหตุข่มขืนหมู่และฆาตกรรมที่หาถรัส พ.ศ. 2563
เหตุโทรมหญิงและฆ่าคนที่หาถรัส พ.ศ. 2563ตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ
เหตุโทรมหญิงและฆ่าคนที่หาถรัส พ.ศ. 2563
เหตุโทรมหญิงและฆ่าคนที่หาถรัส พ.ศ. 2563 (รัฐอุตตรประเทศ)
สถานที่หาถรัส อำเภออุตรรประเทศ ประเทศอินเดีย
พิกัด27°36′N 78°03′E / 27.60°N 78.05°E / 27.60; 78.05
วันที่14 กันยายน ค.ศ. 2020 (2020-09-14)
ประเภทข่มขืน, ฆาตกรรม, แทงและบีบรัดคอ (ด้วยทุปัตตา)[1]
ตาย1
จำนวนก่อเหตุ4
ผู้ต้องหาสันทีป, รมู, ลวกูศ และ รวี[2]
ค่าภาระติดพันฆาตกรรม, ข่มขืนหมู[3] และละเมิดScheduled Caste and Scheduled Tribe (Prevention of Atrocities) Act, 1989[4]

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2020 เด็กหญิงชาวทลิตคนหนึ่งถูกข่มขืนหมู่โดยชายวรรณะที่สูงกว่าสี่คน ในอำเภอหาถรัส รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย หลังความพยายามช่วยชีวิตเธอยาวนานกว่าสองสัปดาห์ เธอได้เสียชีวิตลงที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเดลี[2][5][6]

พี่/น้องชายของเหยื่ออ้างว่าไม่มีการจับกุมชายผู้กระทำผิดทั้งสี่ในสิบวันแรกตั้งแต่เหตุข่มขืนเกิดขึ้น นอกจากนี้ภายหลังเหยื่อเสียชีวิต ร่างของเธอถูกนำไปเผาโดยเจ้าหน้าที่ตกรวจโดยปราศจากการรับทราบของครอบครัว ต่อมาตำรวจได้ออกมาปฏิเสธข้ออ้างนี้[7]

เหตุการณ์นี้และการรับมือของเจ้าหน้าที่ที่เกิดขึ้นได้รับความสนใจอย่างมากในโลกโซเชียลมีเดียรวมถึงถูกประณามอย่างรุนแรงทั่วประเทศ รวมถึงได้นำไปสู่การประท้วงขับไล่คณะรัฐบาลประจำรัฐอุตตรประเทศของโยคีอาทิตยนาถ โดยนักกิจกรรมและฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล[8]

เหตุการณ์

[แก้]

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2020 ผู้เคราะห์ร้าย เด็กหญิงอายุ 19 ปี ชนชั้นทลิต กำลังเก็บเกี่ยวผลิตผลทางปศุสัตว์ในไร่แห่งหนึ่งก่อนที่จะถูกลากด้วยทุปัตตาซึ่งถูกนำไปรัดคอเธอ ส่งผลให้สันหลังของเธอได้รับบาดเจ็บระหว่างเธอถูกลาก เด็กหญิงชาวทลิตได้ถูกข่มขืนหมู่ (gang-raped) โดยชายสี่คนจากวรรณะราชปุต[9][10] เธอถูกทิ้งไว้พร้อมอาการอัมพาตจากการบาดเจ็บอย่างรุนแรงของสันหลัง ที่ซึ่งต่อมาแพทย์ผู้ทำการรักษาระบุว่ารุนแรงถึงขั้นที่อาจจะเป็นการบาดเจ็บถาวร ผู้กระทำผิดได้พยายามรัดคอ (strangulate) ของเหยื่อและเธอพยายามขัดขืนการข่มขืนของพวกเขา เสียงกรีดร้องและร้องไห้ของเธอได้ต่อมาถูกค้นพบโดยแม่ของเธอภายในไร่ เธอได้ถูกนำตัวส่งไปยังสถานีตำรวจจันทปา (Chand Pa police station) ที่ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจันทปาต่อมาได้ปฏิเสธและกล่าวหาว่าเธอได้ทำให้พวกเขาต้องอับอาย ("humiliated")[11] The police registered a complaint on 20 September.[12] ต่อมาเหตุการณ์นี้ได้ถูกลงทะเบียนโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในวันที่ 22 กันยายน

เหยื่อได้ถูกนำส่งเข้าโรงพยาบาลวิทยาลัยแพทยศาสตร์ชวาหรลาล เนห์รู อลีครห์เป็นที่แรก 15 วันก่อเธอเสียชีวิตด้วยอาการสันหลังเสียหายอย่างรุนแรง ต่อมาเธอได้ถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลซาฟดาร์จุงในเดลี ที่ซึ่งอาการของเธอแย่ลงเรื่อย ๆ เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่าเธอถูกรัดคอด้วยทุปัตตา เธอได้เสียชีวิตลงในวันที่ 29 กันยายน 2020[13][14][15]

การผ่าขันสูตรได้ระบุว่าเหยื่อได้เสียชีวิตด้วย "อาการบาดเจ็บที่สันหลังส่วนคอ (cervical spine) จากแผลบาดเจ็บที่เกิดจากแรงทู่ ๆ (blunt-force trauma)" และการพยายามแขวนคอเธอนั้นไม่ใช่สาเหตุการเสียชีวิตของเธอ รายงานชิ้นสุดท้ายภายหลังการเสียชีวิตของเธอระบุว่าพบ "รอยฉีกขาดเดิมในพื้นที่ลับ, แต่ไม่มีการข่มขืนเกิดขึ้น"[16][17]

เมื่อข่าวเกี่ยวกับเธอได้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกผ่านทางโซเชียลมีเดีย เจ้าหน้าที่ตำรวจอัคระ, ผู้พิพากษาศาลอำเภอหาถรัส และกรมประชาสัมพันธ์รัฐอุตตรประเทศ ระบุว่าเป็น "ข่าวปลอม"[18][19][20] ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจอาวุโสรัฐอุตตรประเทศได้อ้างว่าไม่พบอสุจิในตัวอย่างตามรายงานนิติเวช และคนบางส่วนได้พยายาม "บิดเบือน" เหตุการณ์เพื่อก่อความแตกแยกและ "ความตรึงเครียดระหว่างวรรณะ" เจ้าหน้าที่ยังอ้างว่าผลชันสูตรพลิกศพของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเดลีระบุว่าเธอไม่ได้ถูกข่มขืน[21] อย่างไรก็ตามได้มีผู้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าตัวอย่างที่อ้างมานั้นไม่เป็นที่น่าเชื่อถือ แนวทางปฏิบัติสากลระบุว่าการตรวจเชื้ออสุจิจะสามารถกระทำได้ไม่เกินสามวันหลังเกิดเหตุ[22]

การตอบสนอง

[แก้]

เหตุการณ์นี้และการรับมือของเจ้าหน้าที่ที่เกิดขึ้นได้รับความสนใจอย่างมากในโลกโซเชียลมีเดียรวมถึงถูกประนามอย่างรุนแรงทั่วประเทศ รวมถึงได้นำไปสู่การประท้วงขับไล่คณะรัฐบาลประจำรัฐอุตตรประเทศของโยคีอาทิตยนาถ โดยนักกิจกรรมและฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล[8]

อดีตประธานคองเกรส ราหุล คานธี และเลขานุการใหญ่ ปริยังกา คานธี ได้ถูกข่มขู่ คุกคาม และคุมขังโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐอุตตรประเทศ ระหว่างทั้งสองพยายามเดินทางไปยังหมู่บ้านที่เกิดเหตุทางเท้า หลังรถยนต์ของทั้งสองถูกเจ้าหน้าที่หยุดบนทางด่วน[23][24]

รายงานบางฉบับระบุว่ากลุ่มที่ซึ่งเรียกตนเองว่า "ราษฏริยสวรรณบริษัท" (Rashtriya Savarna Parishad; บริษัท[กลุ่มคน]ของราษฎรสวรรณะ[ผู้มีวรรณะ]) ได้ออกมาสนับสนุนผู้กระทำผิด และบางรายงานระบุอย่างเป็นนัยว่ากรณีนี้มีตำรวจเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างไม่ต้องสงสัย[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Uttar Pradesh Dalit girl, victim of murder, dies in Delhi hospital". The Hindu op. 29 September 2020. สืบค้นเมื่อ 30 September 2020.
  2. 2.0 2.1 Jaiswal, Anuja (29 September 2020). "Rape survivor moved to Delhi, 'spine damage permanent'". The Times of India. Times Now Network (TNN). สืบค้นเมื่อ 1 October 2020.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ DNAIndia-29Sep20
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ timesofindia-28Sep20
  5. "Hathras gangrape: Dalit woman succumbs to injuries in Delhi; security beefed up outside hospital amid protests". The Indian Express. 29 September 2020. สืบค้นเมื่อ 1 October 2020.
  6. Johari, Aarefa (30 September 2020). "In videos: How the Dalit woman raped in Hathras was cremated without letting her family say goodbye". Scroll.in. สืบค้นเมื่อ 1 October 2020.
  7. Halder, Tanseem; Mishra, Himanshu (30 September 2020). "Hathras horror: Police, victim's family give contradictory accounts". India Today. สืบค้นเมื่อ 1 October 2020.
  8. 8.0 8.1 "Hathras gang-rape: Opposition parties demand resignation of U.P. Chief Minister Yogi Adityanath". The Hindu. 1 October 2020. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "Impunity in Hathras". The Indian Express. 1 October 2020. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. 10.0 10.1 "Hathras Rape: A Caste Continuum". Outlook India. 1 October 2020. สืบค้นเมื่อ 2 October 2020. The men who raped the 19-year-old girl in Hathras are Rajputs/Thakurs, the one community that owns perhaps the largest share of land in rural India. Why are media houses that were so comfortable reporting the victimhood of a Dalit woman so chary about exposing the immense power that dominant castes still hold on to?..........We even saw a ‘Rashtriya Savarna Parishad’ come out in support of the rapists—the ‘betas’ of the community who can never do anything wrong. Boys will be boys. And Thakur boys will be Thakur boys....{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. Nandy, Asmita (1 October 2020). "'This Is All Drama': Accused's Kin on Hathras Dalit Girl's Assault". The Quint (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 October 2020.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. DM Hathras [@dm_hathras] (21 September 2020). "इसे पढ़ लीजिए।" (ทวีต) (ภาษาฮินดี). สืบค้นเมื่อ 3 October 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  13. "Rape victim cremated 'without family's consent'". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-09-30. สืบค้นเมื่อ 2020-09-30.
  14. "Hathras gang rape: India victim's death sparks outrage". BBC News. 29 September 2020.
  15. "हाथरस गैंगरेप मामले में दलित युवती की मौत से लोगों में गुस्सा, कह रहे- इंसाफ दो…". india.com (ภาษาฮินดี). 29 September 2020. สืบค้นเมื่อ 30 September 2020.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "No Rape In Hathras Case, Senior UP Cop Claims, Citing Forensic Report". NDTV (ภาษาอังกฤษ). 2 October 2020. สืบค้นเมื่อ 3 October 2020.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "No Rape, Case Twisted to Cause Caste Tension: UP ADG on FSL Report". The Quint (ภาษาอังกฤษ). 1 October 2020. สืบค้นเมื่อ 1 October 2020.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "Brushing It As Fake News To Cremating In Secrecy, UP Police Sabotaged Hathras Gangrape Case". IndiaTimes. สืบค้นเมื่อ 3 October 2020.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. Shishir [@ShishirGoUP] (26 September 2020). "फेक न्यूज़ के विरुद्ध कार्यवाई करते हुए अभी तक 105 FIR पंजीकृत कराई गई हैं और विभिन्न जनपदों में 26 लोगों को गिरफ्तार किया गया है।" (ทวีต) (ภาษาฮินดี) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  20. Agra Police [@agrapolice] (24 September 2020). "आज दिनांक 24.09.2020 को जनपद आगरा में 19 वर्षीय दलित युवती के साथ बताई जा रही सामूहिक बलात्कार की घटना न तो किसी भी थाने में पंजीकृत हुई है और न ही आगरा पुलिस के संज्ञान में है। कृपया भ्रामक सूचना न फैलाएं।" (ทวีต) (ภาษาฮินดี). สืบค้นเมื่อ 3 October 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  21. "Hathras woman not raped: UP Police". The Times of India. 1 October 2020. สืบค้นเมื่อ 3 October 2020.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  22. Biswas, Soutik (2020-10-02). "Hathras case: Are Indian state police trying to discount a woman's story of rape?". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2020-10-02.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  23. "Rahul and Priyanka Gandhi arrested on way to meet Indian rape victim's family". The Guardian. 1 October 2020.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  24. "Stopped on way, Rahul, Priyanka make a point — helped by police". Indian Express. 2 October 2020.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)