ข้ามไปเนื้อหา

แนวรบยูเครนที่ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก 1st Ukrainian Front)
แนวรบยูเครนที่ 1
ผู้บัญชาการและทหารของแนวรบยูเครนที่ 1 ในพิธีสวนสนามชัยกรุงมอสโก ณ วันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1945
ประจำการค.ศ. 1943–45
ประเทศ สหภาพโซเวียต
เหล่า กองทัพแดง
รูปแบบกลุ่มกองทัพ
บทบาทการประสานงานและการปฏิบัติการของกองทัพแดงในยูเครน, โปแลนด์ และเยอรมนี
กำลังรบหลายกองทัพ
ปฏิบัติการสำคัญคอร์ซุน-เชฟเชนคีฟสกี
ฮูเบสพ็อกเกต
การรุกลวอฟ–ซานโดเมียร์ซ
การรุกวิสตูลา–โอเดอร์
การรุกไซลีเชีย
ยุทธการที่เบร็สเลา (ค.ศ. 1945)
ยุทธการที่เบอร์ลิน
ยุทธการที่ฮัลเบอ
การรุกปราก
ผู้บังคับบัญชา
ผบ. สำคัญนายพล นีโคไล เอฟ. วาตูติน (ตุลาคม ค.ศ. 1943–มีนาคม ค.ศ. 1944)
จอมพล เกออร์กี เค. จูคอฟ (มีนาคม ค.ศ. 1944–พฤษภาคม ค.ศ. 1944)
จอมพล อีวาน เอส. โคเนฟ (พฤษภาคม ค.ศ. 1944–พฤษภาคม ค.ศ. 1945)

แนวรบยูเครนที่ 1 (รัสเซีย: Пéрвый Укрáинский фронт; ยูเครน: Пе́рший Украї́нський фронт) เป็นแนวรบ—ขนาดกองทัพของกลุ่มกองทัพตะวันตก—แห่งกองทัพแดงของสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ช่วงทำสงคราม

[แก้]

ในช่วงเดือนแรกของสงครามจาก 16 ภูมิภาคของยูเครน สำนักงานเกณฑ์ทหารได้ระดมพลประมาณ 2.5 ล้านนาย ทหารอาสาสมัคร 1.3 ล้านนายจากฝั่งซ้ายและภาคใต้ของยูเครนได้ต่อสู้ปะทะกับศัตรู ใน ค.ศ. 1941 พลเมืองของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนคนถูกส่งไปยังกองทัพแดงและกองทัพเรือโซเวียต ชาวยูเครนได้เติมเต็มหน่วยของแนวรบด้านใต้และตะวันตกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของกองทัพที่ 37, 38, 40, กองพลน้อยทหารราบที่ 13 และ 17 และต้องขอบคุณการดำเนินการระดมพล โดยการมีส่วนของพลเมืองยูเครนในหน่วยต่อสู้ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสิ่งนี้เกินอัตราร้อยละของยูเครนจากกองทัพโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญ[1]

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1943 แนวรบโวโรเนจได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นแนวรบยูเครนที่ 1 การเปลี่ยนชื่อนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเขยิบฐานะทางทิศตะวันตกของกองทัพแดงในการศึกเพื่อต่อต้านแวร์มัคท์ของเยอรมัน โดยปล่อยให้รัสเซียอยู่ข้างหลังและเคลื่อนทัพเข้ามาอยู่ในยูเครน แนวรบนี้เข้าร่วมหรือทำการต่อสู้ในยูเครน, โปแลนด์, เยอรมนี และเชโกสโลวาเกียในช่วง ค.ศ. 1944 ถึง 1945

ระหว่าง ค.ศ. 1944 แนวรบนี้เข้าร่วมกับแนวรบอื่นในยุทธการคอร์ซุน-เชฟเชนคีฟสกี และยุทธการฮูเบสพ็อกเกตในยูเครน ซึ่งดำเนินการการรุกลวอฟ–ซานโดเมียร์ซ โดยแนวรบนี้ได้ทำการควบคุมกองทัพรถถังอารักขาโซเวียตที่ 1, กองทัพรถถังอารักขาที่ 3, กองทัพรถถังที่ 4, กองทัพอารักขาที่ 3, กองทัพอารักขาที่ 5, กองทัพที่ 13, กองทัพที่ 38 และกองทัพที่ 60 จากนั้นจึงมีส่วนร่วมในยุทธการสำหรับเทอร์โนพิล

ใน ค.ศ. 1945 แนวรบนี้ได้มีส่วนร่วมในการรุกวิสตูลา–โอเดอร์ และดำเนินการในไซลีเชีย รวมถึงปฏิบัติการปราก ตลอดจนการล้อมเบร็สเลา นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมในปฏิบัติการเบอร์ลินในประเทศเยอรมนีและโปแลนด์ แนวรบนี้ยังดำเนินการในส่วนสำคัญของการล้อมรอบฮัลเบอ ซึ่งกองทัพเยอรมันที่ 9 ส่วนใหญ่ถูกทำลายทางใต้ของกรุงเบอร์ลิน มาถึงตอนนี้กองทัพโปแลนด์ที่สองได้ปฏิบัติการในฐานะส่วนหนึ่งของแนวรบ ในที่สุดแนวรบยูเครนที่ 1 ได้จัดเตรียมการป้องกันการโจมตีจากอาร์เมเวนค์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาเบอร์ลินและกองทัพที่ 9 ทั้งนี้ การรุกปรากเป็นยุทธการสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป

หลังจากสงคราม กองบัญชาการส่วนหน้าได้จัดตั้งกองกลางกองกำลังของกองทัพแดงในออสเตรียและฮังการีจนถึง ค.ศ. 1955 และได้รับการฟื้นฟูใน ค.ศ. 1968 ในประเทศเชโกสโลวาเกียในฐานะมรดกของเหตุการณ์ปรากสปริง

ผู้บัญชาการ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Ukrainians in the Second World War Igor Vityk, Candidate of Law, Doctor of Philosophy, Professor". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-23.
  • Konev, I.S. Aufzeichnungen eines Frontbefehlshabers
  • Konev, I.S. Das Jahr 1945
  • Ziemke, E.F. Stalingrad to Berlin
  • Tissier, Tony Slaughter at Halbe
  • Duffy, Christopher Red Storm on the Reich
  • Antill, P., Battle for Berlin: April – May 1945.

อ่านเพิ่ม

[แก้]