ข้ามไปเนื้อหา

ไมโครโพรเซสเซอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไมโครโปรเซสเซอร์)
อินเทล 4004 ไมโครโพรเซสเซอร์ทั่วไปตัวแรกที่มีการจำหน่าย

ไมโครโพรเซสเซอร์ (อังกฤษ: microprocessor) หมายถึงชิปที่ใช้เป็นหน่วยประมวลผลกลางของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์

ชนิด

[แก้]

เราสามารถแบ่งไมโครโพรเซสเซอร์ตามสถาปัตยกรรมได้เป็น 2 ชนิด คือ

Reduced Instruction Set Computer

[แก้]

RISC (Reduced Instruction Set Computer) คือ ไมโครโพรเซสเซอร์ที่มีคำสั่งน้อย แต่คำสั่งทำงานได้เร็ว เริ่มต้นพัฒนาด้วยความร่วมมือของ ไอบีเอ็ม มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ในยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 ไมโครโพรเซสเซอร์ที่ได้ คือ IBM 801, Stanford MIPS และ Berkeley RISC 1 และ 2 ไมโครโพรเซสเซอร์ชนิดนี้ในยุคต่อมาได้แก่ SPARC ของ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ และ PowerPC ของ โมโตโรล่า

Complex Instruction Set Computer

[แก้]

CISC (Complex Instruction Set Computer) เป็นสถาป้ตยกรรมของไมโครโพรเซสเซอร์ที่มีคำสั่งมากกว่าและซับซ้อนกว่า ได้แก่ ไมโครโพรเซสเซอร์ x86 เพนเทียมและเซเลรอนของอินเทลและ ไมโครโพรเซสเซอร์จากบริษัทเอเอ็มดี (AMD)

ตัวอย่าง ไมโครโพรเซสเซอร์

[แก้]

ไมโครโพรเซสเซอร์ที่รู้จักกันดีก็ได้แก่

รูปแบบโครงสร้าง

[แก้]

โครงสร้าง แบบ RISC มีการทำงานที่เร็วกว่า CISC ใช้ เพียง 1-2 machine cycle เท่านั้น

อนาคตมีแนวโน้มที่จะเป็นไปใช้แบบ RISC แต่ ที่ยังใช้โครงสร้างแบบ CISC อยู่นั้นเพราะ ว่าถ้าเปลี่ยนเป็นแบบ RISC แล้ว โปรแกรมที่มีอยู่เดิมจะใช้งานไม่ได้ทันที ถ้าต้องการใช้ก็ต้องเป็นการจำลองการทำงานบนโครงสร้างที่ต่างออกไป ทำให้ประสิทธิภาพลดต่ำลง

อุปกรณ์ประเภทอื่น

[แก้]

นอกจาก Microprocessor แล้วยังมีอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่ง คือ Microcontroller ซึ่ง Microcontroller ก็คือ Microprocessor ที่รวมอุปกรณ์อื่นๆเข้าไปด้วย เช่น หน่วยความจำ (RAM), DMA, UART, Watch Dog, RTC, USB, I/O, etc. กล่าวคือเราสามารถนำ Microcontroller ไปใช้งานโดยต่ออุปกรณ์ภายนอกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งต่างจาก Microprocessor ที่ต้องต่ออุปกรณ์อื่นเป็นจำนวนมาก Microcontroller มีมากมายหลายตระกูล เช่น แบบCISC มี MCS-51, 68HCxx, Z80, เป็นต้น แบบ RISC มี PIC, AVR, ARM เป็นต้น โดยเฉพาะในตระกูล ARM มาแรงมากในปัจจุบัน เนื่องจากมี โครงสร้างแบบ RISC 16/32 bit,64 bit มีผู้ผลิตมากมายหลายเจ้า ARM ยังนิยมนำไปใช้ ใน อุปกรณ์มือถือระดับสูง เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (PDA) มี OS รองรับหลายรุ่น เช่น Windows CE เป็นต้น

อ้างอิง

[แก้]
  • Ray, A. K.; Bhurchand, K.M. Advanced Microprocessors and Peripherals. India: Tata McGraw-Hill.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]