ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ไพรซ์วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส)
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ประเภท | บัญชี |
---|---|
อุตสาหกรรม | ที่ปรึกษา audit |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1998 (ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์) ค.ศ.1849 (ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์) ค.ศ.1854 (คูเปอร์ส แอนด์ ไลแบรนด์ ) |
สำนักงานใหญ่ | ลอนดอน บริเตนใหญ่ ค.ศ. 1845 |
รายได้ | US$29.2 พันล้าน (ค.ศ. 2011) |
พนักงาน | 184,000 คน |
เว็บไซต์ | pwc.com |
ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ หรือ พีดับบลิวซี (อังกฤษ: PricewaterhouseCoopers หรือที่เรียกโดยย่อว่า PwC) เป็นหนึ่งในบริษัทตรวจสอบบัญชีสี่แห่งที่ใหญ่ที่สุดในโลกควบคู่กับ ดีลอยต์ทูชโทมัตสุ เอินส์ท แอนด์ ยัง และ เคพีเอ็มจี นอกจากการตรวจสอบบัญชีแล้ว ยังมีอีกหลากหลายบริการตั้งแต่การเป็นที่ปรึกษาภาษีอากร การจัด ซื้อ การจัดหาทรัพยากรบุคคล การให้บริการด้านเทคโนโลยี และอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นการให้บริการในลักษณะการจัดหาจากภายนอก ให้แก่ลูกค้าองค์กร นอกจากนี้ ยังให้บริการที่ปรึกษาการเงินและการบริหารการประกันภัยอีกด้วย มีฐานประกอบการอยู่ในกรุงลอนดอน มีพนักงาน ประมาณ 184,000 คน และสำนักงานราว 757 แห่งใน 157 ประเทศทั่วโลก
ประวัติบริษัทในอดีต
[แก้]- แซมมวล ไพรซ์ ก่อตั้งสำนักงานบัญชีขึ้นในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในปีค.ศ. 1850 และในอีก 15 ปีต่อมาได้ดึง เอ็ดวิน วอเทอร์เฮาส์ เข้าร่วมถือหุ้น หลังจากการเข้ารวมกิจการจึงได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นบริษัท ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์ และเริ่มเปิดสำนักงานสาขาในสหรัฐอเมริกาในปีค.ศ. 1890
- ค.ศ. 1935 บริษัทได้รับเกียรติสูงสุดให้เป็นผู้ดูแลจัดการ การลงคะแนนตัดสินผู้ได้รับรางวัลออสการ์
- ค.ศ. 1960 ชื่อเสียงของ ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์ ตกต่ำลงจากการที่ถูกมองว่าเป็นสำนักงานบัญชีที่อนุรักษนิยมเกินไป
- คูเปอร์ส แอนด์ ไลแบรนด์ เกิดจากการรวมกิจการกันในปี 1957 ระหว่าง ไลแบรนด์ รอส บราเธอร์ส แอนด์ มอนกอเมอรีเข้ากับ คูเปอร์ส บราเธอร์สปีค.ศ. 1960 คูเปอร์ส แอนด์ ไลแบรนด์ ขยายบริการเข้าไปในเรื่องการจัดการผลประโยชน์ลูกจ้างและการให้คำปรึกษาด้าน การควบคุมภายใน และเริ่มพัฒนาความสามารถด้านเทคโนโลยีของตนในช่วงทศวรรษ 1970 โดยพยายามจะพัฒนากระบวนการสอบบัญชีให้เป็นแบบอัตโนมัติ
- ช่วงทศวรรษ 1989 ถึง1998 คูเปอร์ส แอนด์ ไลแบรนด์ สูญเสียส่วนแบ่งตลาดเพราะการรวมกิจการกันในระหว่างสำนักงานบัญชียักษ์ใหญ่ใหญ่ทั่งโลก จำนวนสำนักงานบัญชีที่ใหญ่ที่สุดลดลงจาก 8 แห่งเหลือเพียง 6 แห่ง และ คูเปอร์ส แอนด์ ไลแบรนด์ ยังต้องเสียค่าปรับจำนวน 95 ล้านดอลลาร์ในปี 1992 ในคดีที่ถูกฟ้องร้องของบริษัท มินิสไกลป์ ผู้ผลิตดิสก์ไดรฟ์ที่เลิกกิจการ และยังต้องจ่ายค่าปรับอีก 108 ล้านดอลลาร์ในคดี ที่เกี่ยวข้องกับการล่มสลายของอาณาจักรธุรกิจสื่อยักษ์ใหญ่ของ โรเบิร์ต แมกซ์เวล
- ค.ศ. 1984 เมื่อธุรกิจตรวจสอบบัญชีเริ่มมีการแข่งขันสูง ดีลอยท์ แฮสคิน แอนด์ เซล มีความพยายามจะรวมกิจการกับบริษัท ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์ แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากผู้ถือหุ้นฝ่ายอังกฤษของบริษัท ไพรซ์วอเตอร์เฮาส์ คัดค้านแต่ตัดสินใจไปรวมกิจการกับ คูเปอร์ส แอนด์ ไลแบรนด์ แทนในปี 1998 และเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ไพรซ์วอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส การรวมกิจการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวมความแข็งแกร่งในธุรกิจสื่อ บันเทิงและสาธารณูปโภคของ ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์ เข้ากับความแข็งแกร่งของ คูเปอร์ส แอนด์ ไลแบรนด์ ในธุรกิจโทรคมนาคมและเหมืองแร่
บริษัทในยุคปัจจุบัน
[แก้]- การแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นปี ค.ศ. 1999 ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ ได้เจรจารวมกิจการกับ แกรนท์ ธอนตัน อินเตอร์เนชั่นแนล แต่ไม่เป็นผลสำเร็จส่งผลให้ ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ ต้องปลดพนักงานออก 1,000 ตำแหน่ง และยุบเลิกตำแหน่งที่ ล้าสมัยเพื่อนำที่ปรึกษทางอินเทอร์เน็ตเข้ามาแทนที่เพื่อลดค่าใช้จ่าย
- ค.ศ. 2000 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา ได้สอบสวน ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ พบว่า บริษัทมี ผลประโยชน์ทับซ้อนขัดแย้งกว่า 8,000 กรณี ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการที่ผู้ร่วมถือหุ้นในบริษัทเป็นเจ้าของหุ้นในบริษัทที่เป็นลูกค้าบริการสอบบัญชีเอง ด้วยเหตุนี้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาแสดงความวิตกกังวลมากในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนขัดแย้งระหว่างธุรกิจตรวจสอบบัญชีและธุรกิจที่ปรึกษาของสำนักงานบัญชีทั้งหลาย ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ จึงเริ่มวางแผนแยกธุรกิจทั้งสองออกจากกันในปีค.ศ. 2000 ซึ่งส่งผลให้บริษัทต้องลดขนาดและจัดองค์กรใหม่ในหลายๆ ธุรกิจของตน
- ค.ศ. 2002 ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์รับช่วงหน่วยธุรกิจและพนักงานฝีมือดีที่ลาออกจากบริษัท อาเธอร์ แอนเดอร์เซน อดีตสำนักงานบัญชีระดับโลกที่ล่มสลายหลังจากมีข่าวฉาวทางด้านทุจริตและปีเดียวกันทางบริษัทก็ตกลงจะขายธุรกิจที่ปรึกษาให้แก่ไอบีเอ็ม
บุคคลสำคัญทางด้านธุรกิจที่เคยผ่านงานกับไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์
[แก้]- เดวิด กิลล์ กรรมการผู้จัดการ สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
- มาร์กาเรต แจ็คสัน อดีตกรรมการผู้จัดการสายการบินแควนตัส
- ฟิล ไนท์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งและประธานบริษัทไนกี้
- เฟรเดอริค เฮนเดอสัน อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัทเจเนรัลมอเตอร์
- จอห์น พี. เซอม่า ประธานและกรรมการผู้จัดการบริษัทยูเอส สตีล
บุคคลสำคัญทางด้านการเมืองที่เคยผ่านงานกับไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์
[แก้]- วิลเลี่ยม เรโน อาเช่อ จูเนียร์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกา
- จอห์น ริว สมาชิกสภากรมบัญชีกลางรัฐนิวยอร์ก
- สตีฟ โชวโบว์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศออสเตรเลีย
- จัสติน กรีนนิ่ง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศอังกฤษ
- มาร์ค โฮแบน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศอังกฤษ
- จอห์น ริว สมาชิกสภากรมบัญชีกลางนครนิวยอร์ก