เจงหงวน
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ไกเจ้ง)
เจงหงวน (เจิ้ง-ยฺเหวียน) 正元 | |||
---|---|---|---|
ค.ศ 254 เดือน 10 – ค.ศ. 256 เดือน 5 | |||
โจมอ | |||
สถานที่ | ประเทศจีน (วุยก๊กในยุคสามก๊ก) | ||
พระมหากษัตริย์ | โจมอ | ||
เหตุการณ์สำคัญ | จักรพรรดิโจมอเสวยราชย์ | ||
ช่วงเวลา | |||
|
เจงหงวน (เจิ้ง-ยฺเหวียน) | |||||||
ภาษาจีน | 正元 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
|
เจงหงวน[a] หรือ ไกเจ้ง[b] หรือชื่อในภาษาจีนกลางคือ เจิ้ง-ยฺเหวียน (จีน: 正元; พินอิน: Zhèngyuán) เป็นชื่อศักราชลำดับแรกในรัชสมัยของจักรพรรดิโจมอแห่งวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน ชื่อศักราชเจงหงวนใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 254 ถึง ค.ศ. 256 รวมเวลา 3 ปี[2] ถือเป็นชื่อศักราชลำดับที่ 7 ของวุยก๊ก ในช่วงเวลานี้สุมาสูและสุมาเจียวได้กุมอำนาจในราชสำนักต่อเนื่องกันมา
ในเดือน 6 ของศักราชเจงหงวนปีที่ 3 (ค.ศ. 256) เปลี่ยนชื่อศักราชเป็นกำลอปีที่ 1
การเปลี่ยนชื่อศักราช
[แก้]- ศักราชเจียผิงปีที่ 6 (ค.ศ. 254) — เดือน 10 วันที่ 5 เปลี่ยนชื่อศักราชเป็นเจงหงวนปีที่ 1[3][4]
- ศักราชเจงหงวนปีที่ 3 (ค.ศ. 256) — เดือน 6 วันที่ 1 เปลี่ยนชื่อศักราชเป็นกำลอปีที่ 1[3][5]
ตารางเทียบศักราช
[แก้]เจงหงวน | 1 | 2 | 3 |
---|---|---|---|
ค.ศ. | 254 | 255 | 256 |
จ๊กก๊ก | เหยียนซี 17 | เหยียนซี 18 | เหยียนซี 19 |
ง่อก๊ก | อู่เฟิ่ง 1 | อู่เฟิ่ง 2 | อู่เฟิ่ง 3 |
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 81 บรรยายความในเหตุการณ์ที่โจมอขึ้นเสวยราชย์ว่า "สุมาสูกับขุนนางทั้งปวงก็เชิญโจมอไปยังที่เสด็จออกว่าราชการ ก็มอบพระแสงกระบี่แลตราสำหรับกษัตริย์นั้นให้แก่โจมอ ๆ ก็ได้ตั้งอยู่ในสมมุติกษัตริย์แต่นั้นมา จึงถวายพระนามชื่อว่า พระเจ้าเจงหงวน (พ.ศ. ๗๙๗)"[1] คำว่า เจงหงวน แท้จริงเป็นชื่อศักราช แต่สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ระบุว่าเป็นชื่อในฐานะกษัตริย์ของโจมอ
- ↑ ในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 81 บรรยายความในเหตุการณ์ที่มีการเปลี่ยนชื่อศักราชจากเจงหงวน (ไกเจ้ง) เป็นกำลอว่า "ครั้งนั้นพระเจ้าโจมอเสวยราชยํได้สามปี (พ.ศ. ๗๙๙) ชื่อเมืองแต่ก่อนนั้นชื่อว่าไกเจ้ง ครั้งนั้นให้แปลงใหม่ชื่อว่ากำลอ"[1] คำว่า ไกเจ้ง แท้จริงเป็นชื่อศักราช แต่สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ระบุว่าเป็นชื่อเมือง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "สามก๊ก ตอนที่ ๘๑". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 18, 2023.
- ↑ 李崇智,《中國歷代年號考》,第16頁。
- ↑ 3.0 3.1 陳壽. Wikisource.「(嘉平六年)十月己丑,公至于玄武館,……庚寅,公入于洛陽,……其日即皇帝位於太極前殿,百寮陪位者欣欣焉。……大赦,改元。……(甘露元年)五月,鄴及上洛並言甘露降。夏六月丙午,改元為甘露。」 – โดยทาง
- ↑ 司馬光. Wikisource.「〔正元元年九月〕甲戌,〔司馬〕師以皇太后令召群臣會議,以帝荒淫無度,褻近倡優,不可以承天緒;群臣皆莫敢違。乃奏收帝璽綬,歸藩于齊。……遣使者授帝齊王印綬,出就西宮。帝與太后垂涕而別,遂乘王車,從太極殿南出,群臣送者數十人,司馬孚悲不自勝,餘多流涕。……丁丑,師更召群臣,以太后令示之,乃定迎高貴鄉公髦於元城。……冬,十月,己丑,高貴鄉公至玄武館,……庚寅,公入于洛陽,……其日,即皇帝位於太極前殿,百僚陪位者皆欣欣焉。大赦,改元。」 – โดยทาง
- ↑ 司馬光. Wikisource.「〔甘露元年〕六月,丙午,改元。〈蓋以甘露降而改元也。〉」 – โดยทาง
บรรณานุกรม
[แก้]- 李崇智 (December 2004). 中國歷代年號考. 北京: 中華書局. ISBN 7101025129.