โอกูริงานะ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
![]() |
การเขียนภาษาญี่ปุ่น |
---|
องค์ประกอบ |
การใช้งาน |
ถอดอักษรเป็นโรมัน |
โอกูริงานะ (ญี่ปุ่น: 送り仮名; โรมาจิ: okurigana) คือ คานะที่ต่อท้ายคันจิในภาษาญี่ปุ่น มักใช้ผันคำคุณศัพท์และคำกริยา โอกูริงานะยังใช้บอกกาล ความเป็นบอกเล่า/ปฏิเสธ ความสุภาพ และทำหน้าที่ต่าง ๆ ได้อีกมากมาย ปัจจุบันโอกูริงานะเขียนด้วยฮิรางานะ ในอดีตเขียนด้วยคาตากานะ
ตัวอย่างการผัน
[แก้]คำคุณศัพท์ในภาษาญี่ปุ่นใช้โอะคุริงะนะเพื่อบอกกาล และความเป็นบอกเล่า/ปฏิเสธ ซึ่งจะมีรูปแบบเดียวกันทั้งหมด ตัวอย่างเช่น คันจิ 高 (อ่านว่า taka) ความหมายหลักของมันแปลว่าสูง แต่ข้อมูลเกี่ยวกับมันสามารถดูได้จากโอกูริงานะที่ตามหลังดังนี้
- 高い (takai) ทากาอิ
- สูง (บอกเล่า, รูปปัจจุบัน)
- 高かった (takakatta) ทากากัตตะ
- สูง (บอกเล่า, รูปอดีต)
- 高くない (takakunai) ทากากูนาอิ
- ไม่สูง (ปฏิเสธ, รูปปัจจุบัน)
- 高くなかった (takakunakatta) ทากากูนากัตตะ
- ไม่สูง (ปฏิเสธ, รูปอดีต)
กริยาในภาษาญี่ปุ่นก็มีรูปแบบเดียวกัน เราสามารถดูความหมายหลักได้ที่ตัวคันจิ และเราสามารถดูกาล ความเป็นบอกเล่า/ปฏิเสธ ความสุภาพ และอื่น ๆ ได้จากโอกูริงานะที่ตามหลัง
- 食べる (taberu) ทาเบรุ
- กิน (บอกเล่า, รูปปัจจุบัน, ใช้พูดกับผู้ที่คุ้นเคย)
- 食べない (tabenai) ทาเบนาอิ
- ไม่กิน (ปฏิเสธ, รูปปัจจุบัน, ใช้พูดกับผู้ที่คุ้นเคย)
- 食べた (tabeta) ทาเบตะ
- กิน (บอกเล่า, รูปอดีต, ใช้พูดกับผู้ที่คุ้นเคย)
- 食べなかった (tabenakatta) ทาเบนากัตตะ
- ไม่กิน (ปฏิเสธ, รูปอดีต, ใช้พูดกับผู้ที่คุ้นเคย)
คำกริยาข้างล่างนี้มีความหมายที่สุภาพกว่า
- 食べます (tabemasu) ทาเบมาซุ
- กิน (บอกเล่า, รูปปัจจุบัน, สุภาพ)
- 食べません (tabemasen) ทาเบมาเซ็ง
- ไม่กิน (ปฏิเสธ, รูปปัจจุบัน, สุภาพ)
- 食べました (tabemashita) ทาเบมาชิตะ
- กิน (บอกเล่า, รูปอดีต, สุภาพ)
- 食べませんでした (tabemasen deshita) ทาเบมาเซ็ง เดชิตะ
- ไม่กิน (ปฏิเสธ, รูปอดีต, สุภาพ)
การลดความกำกวมของคันจิ
[แก้]โอกูริงานะช่วยลดความกำกวมของคันจิที่มีหลายคำอ่านได้ โดยเฉพาะคันจิที่มีหลายความหมายและหลายคำอ่าน โอกูริงานะจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายที่ผู้เขียนตั้งใจสื่อได้
ตัวอย่างเช่น
- 上がる (agaru) อางารุ
- "ขึ้น/พร้อม/เสร็จ" ในกรณีนี้ 上 อ่านว่า "a"
- 上る (noboru) โนโบรุ
- "ขึ้น/ปีน (บันได) " ในกรณีนี้ 上 อ่านว่า "nobo"
- 下さる (kudasaru) คุดาซารุ
- "ให้ [ผู้พูด]" ในกรณีนี้ 下 อ่านว่า "kuda"
- 下りる (oriru) โอริรุ
- "ออกจาก/ลง" ในกรณีนี้ 下 อ่านว่า "o"
- 下がる (sagaru) ซางารุ
- "ห้อย, แขวน" ในกรณีนี้ 下 อ่านว่า "sa"
ตัวอย่างอื่น ได้แก่
- 話す (hanasu) ฮานาซุ
- "พูด" เช่น ちゃんと話す方がいい。 (chanto hanasu hou ga ii) ชันโตะ ฮานาซุ โฮ กะ อี แปลว่า "พูดให้ถูกต้องดีกว่า"
- 話し (hanashi) ฮานาชิ
- รูปนามของกริยา"พูด" เช่น 話し言葉と書き言葉 (hanashi kotoba to kaki kotoba) ฮานาชิ โคโตบะ โทะ คากิ โคโตบะ แปลว่า "คำในภาษาพูดและคำในภาษาเขียน"
- 話 (hanashi) ฮานาชิ
- "เรื่องราว, การสนทนา" เช่น 話はいかが? (hanashi wa ikaga?) ฮานาชิ วะ อิกางะ? แปลว่า "เรื่องเป็นอย่างไรเหรอ"
กระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่นได้กำหนดวิธีการใช้โอกูริงานะที่เป็นมาตรฐาน แต่ก็ยังมีการใช้ที่แตกต่างกันให้พบเห็นบ่อยครั้ง ตัวอย่างเช่น คำว่า "kuregata" ที่ถูกต้องต้องเขียนว่า 暮れ方 แต่บางครั้งก็มีคนเขียนเป็น 暮方