โลซาร์
โลซาร์ | |
---|---|
ภิกษุทิเบตกำลังร่ายรำฉลองโลซาร์ในอารามดอมธอกในภูมิภาคคัม | |
ชื่ออื่น | ปีใหม่ทิเบต |
จัดขึ้นโดย | ชาวทิเบต, ชาวภูฏาน, ชาวลาดาข, ชาวเนปาล, ชาวมอนปา |
ประเภท | ทิเบต, พุทธแบบทิเบต, ปีใหม่ |
ความถี่ | รายปี |
ส่วนเกี่ยวข้อง | กัลดันนัมโชต, โลซูง, กยัลโปโลซาร์, ทามูโลซาร์, โซนัมโลซาร์, มังฟู ฯลฯ |
โลซาร์ (ทิเบต: ལོ་གསར་, ไวลี: lo-gsar, พินอินทิเบต: losar; "ปีใหม่"[1]) หรือ ปีใหม่ทิเบต เป็นเทศกาลในศาสนาพุทธแบบทิเบต[2] มีการเฉลิมฉลองในวันที่ที่แตกต่างกันไปตามธรรมเนียม ในทิเบต, ภูฏาน, เนปาล, อินเดีย[3][4] เทศกาลนี้เป็นเทศกาลปีใหม่เฉลิมฉลองในวันแรกของปฏิทินทิเบตซึ่งเป็นสุริยจันทรคติ โดยทั่วไปตรวกับเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมตามปฏิทินเกรกอเรียน[1] เทศกาลเดียวกันนี้ในเนปาลเรียกว่า โลฉาร์ (Lhochhar) และมีขึ้นราวแปดสัปดาห์ก่อนโลซาร์แบบทิเบต[5]
โลซาร์มีการเฉลิมฉลองอยู่เดิมก่อนการมาถึงของพระพุทธศาสนาในดินแดนทิเบต และมีรากมาจากธรรมเนียมการจุดธูปฤดูหนาวของศาสนาบอน ในรัชสมัยของกษัตริย์ทิบเตองค์ที่เก้า ปูเด คุงยัล (317-398) ว่ากันว่าธรรมเนียมนี้ถูกรวมเข้ากับเทศกาลฉลองการเก็บเกี่ยว กลายมาเป็นเทศกาลโลซาร์ประจำปี[1]
โลซาร์มีการเฉลิมฉลองยาวนาน 15 วัน โดยสามวันแรกมีการเฉลิมฉลองหลัก ๆ อยู่ ในวันแรกของเทศกาลโลซาร์ จะฉลองด้วยเครื่องดื่ม ชังกอล (changkol) ซึ่งทำมาจาก ฉัง (เครื่องดื่มของภูมิภาคหิมาลัย คล้ายเบียร์) ส่วนวันที่สองเรียกว่าวันโลซาร์ของกษัตริย์ (กยัลโปโลซาร์) โดยธรรมเนียมแล้ว เทศกาลโลซาร์จะถูกนำหน้าด้วยการปฏิบัติวัชรกิลายะนานห้าวัน[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 William D. Crump, "Losar" in Encyclopedia of New Year's Holidays Worldwide (McFarland & Co.: 2008), pp. 237-38.
- ↑ "Buddhism: Losar". BBC. September 8, 2004.
- ↑ Peter Glen Harle, Thinking with Things: Objects and Identity among Tibetans in the Twin Cities (Ph.D dissertation: Indiana University, 2003), p. 132: "In Tibet, Nepal, Bhutan, India and other areas where Tibetan Buddhism is practiced, the dates for Losar are often calculated locally, and often vary from region.".
- ↑ William D. Crump, Encyclopedia of New Year's Holidays Worldwide (McFarland & Co.: 2008), pp. 237: ""Different traditions have observed Losar on different dates."
- ↑ Tibetan Borderlands: PIATS 2003: Proceedings of the International Association of Tibetan Studies, Oxford, 2003, p. 121: "Yet though their Lhochhar is observed about eight weeks earlier than the Tibetan Losar, the festival is clearly borrowed, and their practice of Buddhism comes increasingly in a Tibetan idiom."
- ↑ Ligeti, Louis (1984). Tibetan and Buddhist Studies: Commemorating the 200th Anniversary of the Birth of Alexander Csoma De Koros. Vol. 2. University of California Press. p. 344. ISBN 9789630535731.