ทฤษฎีโฟลจิสตัน
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ (8 กรกฎาคม 2557) |
ทฤษฎีโฟลจิสตัน (อังกฤษ: phlogiston theory) เป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ที่ล้าสมัย กล่าวถึงโฟลจิสตันที่มีอยู่ภายในร่างของสิ่งต่างๆซึ่งจะปรากฏขึ้นมาเมื่อเกิดการเผาไหม้ โดยชื่อโฟลจิสตันนี้ได้มาจากภาษากรีกโบราณ ที่ว่า φλογιστόν phlogistón (การเผาไหม้ขึ้น) โดยทฤษฎีนี้ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2210 โดย Johann Joachim Becher ทฤษฎีนี้พยายามอธิบายเกี่ยวกับการสันดาป และการเกิดสนิมซึ่งในปัจจุบันรู้จักในนามของปรากฏการณ์ออกซิเดชัน
เนื้อหาของทฤษฎี
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
Phlogisticated substances หรือสสารที่มีโฟลจิสตัน โดยโฟลจิสตันจะออกไปจากสสาร เมื่อสสารนั้นถูกเผา
โดยทั่วไปแล้วเนื้อหาของทฤษฏีกล่าวถึงเมื่อวัตถุถูกเผาไหม้หรือเกิดการสันดาปในสภาวะที่มีอากาศจะทำให้สารโฟลจิสตันในวัตถุนั้นลอยออกไป
ประวัติ
[แก้]ทฤษฏีโฟลจิสตันถูกกล่าวถึงครั้งแรกในปี ค.ศ.1667 โดย Johann Joachim Becher นายแพทย์ชาวเยอรมันได้นำความรู้ทางการแพทย์ของเขา มาเผยแพร่และต่อมาก็ได้พัฒนาเป็นทฤษฎีฟลอจิสตันในที่สุดโดยในหนังสือของ Becher กล่าวถึงทฤษฎีธาตุทั้ง 4 ที่เดิมมี 4 ธาตุคือดิน,อากาศ,ไฟ และน้ำ ตามหลักของอาริสโตเติลแต่ Becher ได้ดัดแปลงนำไฟและอากาศออกแล้วแทนที่ด้วยดิน 3 ชนิดได้แก่ terra lapidea, terra fluida, and terra pinguis โดย Becher เชื่อว่า terra pinguis เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเผาไหม้อย่างหนึ่ง ต่อมาในปี ค.ศ.1703 ศาสตราจาร์ย Georg Ernst Stahl แพทย์และนักเคมีแห่งมหาวิทยาลัย Halle ได้ทำการเปลี่ยนชื่อ terra pinguis ของ Becher ไปเป็น โฟลจิสตันแทน
อ้างอิง
[แก้]- Brock, William Hodson (1993). The Norton history of chemistry (Hardback), 1st American, New York: W. W. Norton. ISBN 0-393-03536-0.
- Joseph Priestley; Heads of lectures on a course of experimental philosophy; London, Joseph Johnson, 1794.