โพรเกรสซิฟร็อก
โพรเกรสซิฟร็อก | |
---|---|
แหล่งกำเนิดทางรูปแบบ | ไซเคเดลิกร็อก, แจ๊สฟิวชัน, บลูส์-ร็อก, ฮาร์ดร็อก, โฟล์กร็อก, เวิลด์มิวสิก, ดนตรีอีเลกโทรนิกอาร์ต, ดนตรีคลาสสิก, ฟรีแจ๊ส |
แหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรม | กลางทศวรรษ 1960, สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา, อิตาลี, และ เยอรมนี |
เครื่องบรรเลงสามัญ | กีตาร์ – กีตาร์เบส – คีย์บอร์ด – เปียโน – กลองชุด – บางครั้งมีเสียงร้องและดนตรีอคูสติกและเครื่องดนตรีอีเลคทรอนิกส์ประเภทอื่น |
รูปแบบอนุพันธุ์ | นิวเอช |
แนวย่อย | |
อาวองต์-โพรเกสซีฟร็อก - ซิมโฟนิกร็อก – นีโอ-โพรเกสซีฟร็อก – นิวพร็อก – สเปซร็อก – Krautrock – Canterbury scene – โพรเกสซีฟเมทัล – Zeuhl | |
หัวข้ออื่น ๆ | |
อาร์ตร็อก |
โพรเกรสซิฟร็อก (อังกฤษ: progressive rock หรือเขียนสั้น ๆ ว่า prog หรือ prog rock) เป็นดนตรีร็อกประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1960 และต้นทศวรรษ 1970 เป็นส่วนหนึ่งของ "ความพยายามในการยกฐานะเพลงร็อกอังกฤษสู่ระดับใหม่ ด้านความเชื่อถือด้านศิลปะดนตรี" คำว่า "อาร์ตร็อก" มักจะใช้ในความหมายเช่นเดียวกับ "โพรเกรสซิฟร็อก" แต่ขณะที่ทั้งสองแนวเพลงก็ข้ามกันไปข้ามกันมา แต่ทั้งสองแนวเพลงก็ไม่ใช่อย่างเดียวกัน[1]
วงดนตรีโพรเกรสซิฟร็อก ได้ผลักดัน ด้านเทคนิกและขอบเขตการจัดวาง โดยทำให้เหนือมาตรฐานร็อกทั่วไป หรือเพลงนิยมที่มีท่อนร้อง-คอรัส เป็นหลักโครงสร้าง นอกจากนี้ การเรียบเรียงมักจะรวมองค์ประกอบของดนตรีคลาสสิก แจ๊ส และเวิลด์มิวสิก เข้าไป ใช้เครื่องดนตรีทั่วไป แต่เพลงและเนื้อเพลง ในบางครั้งจะเป็นนามธรรม แนวความคิด หรือแฟนตาซี ในบางครั้งวงโพรเกรสซิฟร็อกจะใช้คำว่า "คอนเซปต์อัลบั้ม เพื่ออธิบายถ้อยแถลง มักใช้การอธิบายเรื่องราวแบบมหากาพย์ หรือความยิ่งใหญ่"[1]
ดนตรีโพรเกรสซิฟร็อกพัฒนามาตั้งแต่ปลายยุคไซเคเดลิกร็อก ทศวรรษ 1960 ที่เพลงร็อกได้รับความนิยม วงดนตรีแนวนี้ที่เป็นที่นิยมอย่างเช่น เดอะไนซ์, มูดี้บลูส์, คิงคริมสัน, พิงก์ฟลอยด์, รัช, เจนเทิลไจแอนต์, แคเมิล, เยส, เจเนซิส, เจโทรทัล และอีเมอร์สัน, เลค แอนด์ พาร์เมอร์[1] เพลงโพรเกรสซิฟร็อกได้รับความนิยมกว้างขวางราวกลางทศวรรษ 1970 ขณะที่ได้รับความนิยมสุงสุดในทศวรรษ 1970 และต้นทศวรรษ 1980
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Prog-Rock/Art Rock". AllMusic. AllMusic. 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-12-04.