โบอิง 737 เน็กซต์เจเนอเรชัน
โบอิง 737 เน็กซต์เจเนอเรชัน | |
---|---|
โบอิง 737-800 เป็นโบอิง 737เอ็นจีที่ขายดีที่สุด ในภาพของไรอันแอร์ หนึ่งในผู้ให้บริการายใหญ่ที่สุดของรุ่น | |
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | อากาศยานไอพ่นลำตัวแคบ |
ชาติกำเนิด | สหรัฐอเมริกา |
บริษัทผู้ผลิต | เครื่องบินพาณิชย์โบอิง |
สถานะ | ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | เซาท์เวสต์แอร์ไลน์ ไรอันแอร์ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ อเมริกันแอร์ไลน์ |
จำนวนที่ผลิต | 7,112 ลำ (กันยายน ค.ศ. 2024)[1] |
ประวัติ | |
สร้างเมื่อ | ค.ศ. 1996–2019 (รุ่นพลเรือน) ค.ศ. 1996–ปัจจุบัน (รุ่นทางการทหาร) |
เริ่มใช้งาน | 17 ธันวาคม ค.ศ. 1997 โดยเซาท์เวสต์แอร์ไลน์ |
เที่ยวบินแรก | 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 |
พัฒนาจาก | โบอิง 737 คลาสสิก |
สายการผลิต | โบอิงบิซิเนสเจ็ต โบอิง 737 เออีดับเบิลยูแอนด์ซี โบอิง ซี-40 คลิปเปอร์ โบอิง พี-8 โพไซดอน |
พัฒนาเป็น | โบอิง 737 แมกซ์ |
โบอิง 737 เน็กซต์เจเนอเรชัน (อังกฤษ: Boeing 737 Next Generation) หรือรู้จักกันในชื่อ โบอิง 737เอ็นจี หรือ 737 เน็กซ์เจน เป็นรุ่นของอากาศยานที่ออกแบบโดยโบอิง ซึ่งเป็นการนำเครื่องบินโบอิง 737 คลาสสิกรุ่นก่อนหน้ามาพัฒนาต่อ โครงการเริ่มต้นขึ้นในปี 1993 เป็นรุ่นที่สามของเครื่องบินตระกูลโบอิง 737 โดยมีช่วงการผลิตตั้งแต่ปี 1996 ถึงปัจจุบัน[2]
โบอิงออกแบบปีกที่ใหม่ โดยให้มีพื้นที่ปีกและความกว้างของปีกมากยิ่งขึ้น มีความจุเชื้อเพลิงมากขึ้น และให้มีน้ำหนักบินขึ้นสูงสุด (MTOW) และพิสัยการบินที่ยาวขึ้น อีกทั้งยังได้ออกแบบโครงสร้างภายในใหม่ โบอิง 737เอ็นจีใช้เครื่องยนต์ซีเอฟเอ็ม อินเตอร์เนชันแนล ซีเอฟเอ็ม56-7 ที่ใหม่กว่า โบอิง 737 รุ่นนี้มีรุ่นย่อยทั้งหมด 4 รุ่น ได้แก่ -600/-700/-800/-900 สามารถจุผู้โดยสารได้ระหว่าง 108 ถึง 215 คน และแข่งขันกับเครื่องบินตระกูลแอร์บัส เอ320
รุ่น
[แก้]737-600
[แก้]737-600 ซึ่งเป็นรุ่นที่เล็กที่สุดของตระกูล 737 เน็กซต์เจเนอเรชัน เปิดตัวโดยสแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ซิสเต็ม (เอสเอเอส) ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1995 โดยมีการส่งมอบเครื่องบินลำแรกในเดือนกันยายน ค.ศ. 1998[3] มีการผลิต 737-600 ทั้งหมด 69 ลำ โดยลำสุดท้ายส่งมอบให้กับเวสต์เจ็ตในปี 2006[4] 737-600 จะเข้ามาแทนที่ 737-500 และแข่งขันกับแอร์บัส เอ318
737-700
[แก้]โบอิง 737-700 เป็นรุ่นแรกของตระกูลเน็กซต์เจเนอเรชันที่เปิดตัว โดยเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1993 ด้วยยอดสั่งซื้อ 63 ลำ รุ่น -700 มีที่นั่ง 126 ที่นั่งในการจัดเรียงที่นั่งแบบสองชั้นหรือ 149 คนในรูปแบบหนึ่งชั้น รุ่น -700 เปิดตัวกับเซาท์เวสต์แอร์ไลน์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1997[5] โบอิง 737-700 จะเข้ามาแทนที่ 737-300 และแข่งขันกับแอร์บัส เอ319
737-700อีอาร์ (ER; Extended Range) เปิดตัวเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2006 โดยใช้ลำตัวของ 737-700 และปีกและฐานล้อของ 737-800 โดยทั่วไปแล้ว 737-700อีอาร์ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 126 คนในสองชั้นโดยสาร โดยมีพิสัยการบินใกล้เคียงกับแอร์บัส เอ319แอลอาร์[6]
737-800
[แก้]เครื่องบินโบอิ้ง 737-800 เป็นรุ่นขยายของ 737-700 โดยเปิดตัวเมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1994 รุ่น -800 รองรับผู้โดยสารได้ 162 คนในสองชั้นหรือ 189 คนในรูปแบบชั้นเดียวที่มีความหนาแน่นสูง ลูกค้าเปิดตัว โดยสายการบินฮาปาก-ลอยด์ ฟลุก (ทุยฟลายแอร์ไลน์ ในปัจจุบัน) ได้รับเครื่องแรกในเดือนเมษายน ค.ศ. 1998[7] รุ่น -800 จะเข้ามาแทนที่ 737-400 และ 727-200 ของสายการบินในสหรัฐ นอกจากนี้ยังเติมเต็มช่องว่างที่เหลือจากการยุติการผลิตเอ็มดี-80 และเอ็มดี-90 หลังจากการควบรวมกิจการของโบอิงกับแมคดอนเนลล์ดักลาส โบอิง 737-800 เป็นอากาศยานลำตัวแคบที่ใช้กันแพร่หลายมากที่สุดและแข่งขันโดยตรงกับแอร์บัส เอ320[8]
737-900
[แก้]737-900 เปิดตัวในปีค.ศ. 1997 และทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 2000 โดยยังมีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุด, ความจุเชื้อเพลิง, การบรรทุกและการกำหนดค่าทางออกเดิมจากของรุ่น -800, จำกัดความจุที่นั่งไว้ที่ประมาณ 177 ใน สองชั้นและ 189 ในเลย์เอาต์หนึ่งคลาสที่มีความหนาแน่นสูง รุ่น -900 เปิดตัวกับอะแลสกาแอร์ไลน์ ในวันที่15 พฤษภาคม ค.ศ. 2001
737-900อีอาร์ (ER; Extended Range) เป็นรุ่นใหม่ล่าสุดและใหญ่ที่สุดของรุ่น 737NG โดยจะมีประตูทางออกคู่เพิ่มเติมและแผงกั้นแรงดันด้านหลังแบบแบน เพื่อเพิ่มความจุที่นั่งเป็น 180 ที่นั่งในสองชั้นและผู้โดยสารสูงสุด 220 ในรูปแบบชั้นเดียว[9] รุ่น -900อีอาร์ ได้รับการผลิตขึ้นเพื่อทดแทนโบอิง 757-200 ที่เลิกผลิตไปแล้ว และเพื่อแข่งขันโดยตรงกับแอร์บัส เอ321
ข้อมูลจำเพาะ
[แก้]รุ่น | 737-600 | 737-700 | 737-800 | 737-900ER |
---|---|---|---|---|
นักบิน | สองคน | |||
การจัดเรียงที่นั่ง (2 ชั้น): 56–62 | 108 (8F @36" 100Y @32") | 128 (8F @36" 120Y @32") | 160 (12F @36" 148Y @32") | 177 (12F @36" 165Y @32") |
การจัดเรียงที่นั่ง (ชั้นเดียว): 56–62 | 123 @32" - 130 @30" | 140 @32" - 148 @30" | 175 @32" - 184 @30" | 177 @32" - 215 @28" |
ความกว้างที่นั่ง: 67 | First: 22 in / 56 cm; Economy: 17 in / 43 cm | |||
ความยาว: 34–41 | 102 ft 6 in / 31.24 m | 110 ft 4 in / 33.63 m | 129 ft 6 in / 39.47 m | 138 ft 2 in / 42.11 m |
ความสูง: 34–41 | 41 ft 3 in / 12.57 m | 41 ft 2 in / 12.55 m | ||
ปีก[11] | ความยาว: 112 ฟุต 7 นิ้ว / 34.32 ม., มีปลายปีก: 117 ฟุต 5 นิ้ว / 35.79 ม.;: 34–41 พื้นที่: 124.60 m2 (1,341.2 sq ft); องศา: 25°; AR: 9.44 | |||
ลำตัวเครื่อง: 67 | ความยาว: 12 ft 4 in (3.76 m); ความกว้างห้องโดยสาร: 11 ft 7 in (3.53 m); ความสูงห้องโดยสาร: 86.6 in (2.20 m) | |||
น้ำหนักขึ้นบินสูงสุด: 21–24 | 144,500 lb / 65,544 kg | 154,500 lb / 70,080 kg | 174,200 lb / 79,016 kg | 187,700 lb / 85,139 kg |
ความจุเชื้อเพลิง: 21–24 | 6,875 US gal / 26,022 L | 7,837 US gal / 29,666 L[a] | ||
ความจุห้องบรรทุกสินค้า: 21–24 | 720 ft³ / 20.4 m3 | 966 ft³ / 27.4 m3 | 1,555 ft³ / 44.1 m3 | 1,826 ft³ / 51.7 m3 |
ระยะทางขึ้นบิน[b][11] | 6,161 ft (1,878 m) | 6,699 ft (2,042 m) | 7,598 ft (2,316 m) | 9,800 ft (3,000 m): 159 |
เพดานบิน[12] | 41,000 ฟุต (12,497 เมตร) ความเร็ว, 0.82 มัค (470 kn; 871 km/h) | |||
ความเร็วขณะบิน[13] | 0.785 มัค (453 kn; 838 km/h) | 0.781 มัค (450 kn; 834 km/h) | 0.789 มัค (455 kn; 842 km/h) | 0.79 มัค (455 kn; 844 km/h) |
พิสัยการบิน[14] | 3,235 nmi (5,991 km; 3,723 mi)[c][13] | 3,010 nmi (5,570 km; 3,460 mi)[d] | 2,935 nmi (5,436 km; 3,378 mi)[e] | 2,950 nmi (5,460 km; 3,390 mi)[f] |
เครื่องยนต์ (× 2) | CFM56-7B18/20/22: 126–133 | CFM56-7B20/22/24/26/27: 134–149 | CFM56-7B24/26/27: 150–161 | |
กำลังขับเคลื่อน (× 2) | 20,000–22,000 lbf 89–98 kN: 126–133 |
20,000–26,000 lbf 89–116 kN: 134–149 |
24,000–27,000 lbf 110–120 kN: 150–153 |
24,000–27,000 lbf 110–120 kN: 154–161 |
เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]รุ่นที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]- โบอิง 717
- โบอิง 737 เออีดับเบิลยูแอนด์ซี
- โบอิง 737 คลาสสิก
- โบอิง 737 แมกซ์
- โบอิง 757
- โบอิงบิซิเนสเจ็ต
- โบอิง ซี-40 คลิปเปอร์
- โบอิง พี-8 โพไซดอน
- โบอิง ที-43
เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Boeing: Orders and Deliveries (updated monthly)". boeing.com. November 30, 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 12, 2021. สืบค้นเมื่อ December 12, 2023.
- ↑ "Boeing: Historical Snapshot: 737". Boeing. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 5, 2019. สืบค้นเมื่อ December 5, 2019.
- ↑ 1999-05-12T00:00:00+01:00. "Putting the family to work". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Commercial". www.boeing.com.
- ↑ "First Boeing 737-700 Goes to Southwest Airlines". MediaRoom.
- ↑ "Boeing Delivers First 737-700ER to Launch Customer ANA". MediaRoom.
- ↑ "First Boeing Next-Generation 737-800 Goes To Hapag-Lloyd". MediaRoom.
- ↑ Derber, Alex (June 14, 2018). "Inside MRO: Boeing 737-800 Not Expected To Peak Until 2021". Aviation Week & Space Technology. Archived from the original on August 18, 2018.
- ↑ "RGL Home Page". rgl.faa.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-14. สืบค้นเมื่อ 2022-12-15.
- ↑ "Boeing 737 Airplane Characteristics for Airport Planning" (PDF). Boeing Commercial Airplanes. September 2013. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ February 7, 2015. สืบค้นเมื่อ December 8, 2016.
- ↑ 11.0 11.1 "Civil jet aircraft design". Elsevier. 2001. Aircraft Data File - Boeing Aircraft. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 27, 2017. สืบค้นเมื่อ December 8, 2016.
- ↑ "Type Certificate Data Sheet" (PDF). FAA. June 3, 2016. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2016. สืบค้นเมื่อ December 8, 2016.
- ↑ 13.0 13.1 "Next-Generation 737 Family Backgrounder" (PDF). Boeing. February 2015. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ December 15, 2017. สืบค้นเมื่อ December 10, 2016.
- ↑ "Boeing revises "obsolete" performance assumptions". Flight Global. 3 August 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 5, 2016. สืบค้นเมื่อ December 8, 2016.