เอ็ลเซ็ท 129 ฮินเดินบวร์ค
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
เอ็ลเซ็ท 129 ฮินเดินบวร์ค (เยอรมัน: LZ 129 Hindenburg) เป็นเรือเหาะเยอรมันที่สร้างคู่กับเรือเหาะลำน้องที่ชื่อ กราฟเซ็พเพอลีน 2 นับเป็นอากาศยานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา ใช้ช่วงบินให้บริการปีที่ 2 ได้เกิดไฟไหม้ระหว่างแล่นลอยตัวลงจอดที่ฐานทัพเรือเลกเฮิสต์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1937 มีผู้เสียชีวิต 36 คน นับเป็นเหตุการณ์ที่มีการรายงานโดยสื่อต่าง ๆ ทั้งในภาพยนตร์ ภาพถ่ายและวิทยุกระจายเสียงมากที่สุด
เรือเหาะฮินเดนเบิร์กได้รับการตั้งชื่อตาม จอมพล ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค ประธานาธิบดีแห่งประเทศเยอรมนีระหว่าง ค.ศ. 1925 ถึง 1934 ประธานาธิบดีคนสุดท้ายของเยอรมนีที่รับตำแหน่งจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ก่อนที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์จะเข้ามาครองอำนาจ
การออกแบบและการสร้าง
[แก้]เรือเหาะฮินเดินบวร์คสร้างโดยบริษัท “ลุฟท์ชิฟเบาเซ็พเพอลีน” (Luftschiffbau Zeppelin) เมื่อปี 1935 มีความยาว 245 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 41 เมตร ยาวกว่าเครื่องบินโดยสาร 747 สามลำมาเรียงต่อกัน แต่เดิมออกแบบโดยใช้ก๊าซฮีเลียมบรรจุ แต่สหรัฐห้ามส่งออกจึงต้องใช้ก๊าซไฮโดรเจนซึ่งติดไฟได้ตามปกติ ซึ่งต้องใช้ก๊าซบรรจุในลำตัวจำนวน 200,000 ลูกบาศก์เมตรโดยแยกบรรจุเป็น 16 ถุง สร้างแรงยกได้ 123.5 ตัน เรือเหาะพลเรือนของเยอรมันไม่เคยประสบอุบัติเหตุมาก่อนเลย จึงไม่มีผู้เกรงกลัวเท่าใด นอกจากนี้การใช้ก๊าซไฮโดรเจนยังเพิ่มแรงยกได้มากกว่าก๊าซฮีเลียม 8%
เรือเหาะฮินเดินบวร์คใช้เครื่องยนต์ปรับถอยหลังขนาดเครื่องละ 1,200 แรงม้า จำนวน 4 เครื่อง ทำความเร็วสูงสุดได้ 135 กิโลเมตร/ชั่วโมง สิ้นค่าก่อสร้างในสมัยนั้น 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ค่าโดยสารจากประเทศเยอรมนีถึงเมืองเลกเฮิสต์ สหรัฐ อยู่ที่คนละ 400 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับว่าแพงมากในยุคนั้น เมื่อพิจารณาจากการที่รถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์รุ่นเริ่มต้นมีราคา 1,050 ดอลลาร์สหรัฐ
ห้องผู้โดยสาร
[แก้]เพื่อลดแรงฉุด ห้องโดยสารของเรือเหาะฮินเดินบวร์คจึงถูกวางตัวไว้ภายในลำเรือทั้งหมด ต่างจากเรือเหาะกราฟเซ็พเพอลีนที่ทำเป็นแบบห้องแขวน ห้องนอนผู้โดยสารซึ่งเป็นห้องนอนขนาดเล็กจัดไว้ชั้นบนสุด ส่วนชั้นกลาง รอบ ๆ ด้านนอกเป็นส่วนสาธารณะใช้เป็นห้องอาหาร ห้องเขียนหนังสือและห้องนั่งเล่น มีหน้าต่างกระจกเอียงลาดตามลำตัวยานทั้งสองชั้นโดยหวังให้ผู้โดยสารใช้เวลาส่วนใหญ่ในพื้นที่ส่วนรวมแทนห้องนอนที่แคบ ชั้นล่างเป็นห้องนักบิน ห้องอาหารและห้องน้ำสำหรับลูกเรือ รวมทั้งห้องสูบบุหรี่ที่มีการควบคุมการซึมของก๊าซไฮโดรเจนอย่างเข้มงวด
สิ่งอำนวยความสะดวกภายในเรือเหาะฮินเดนเบิร์ก
[แก้]ในสมัยนั้น ธุรกิจการขนส่งข้ามมหาสมุทรด้วยเรือเหาะ กับ ธุรกิจการขนส่งข้ามมหาสมุทรด้วยเรือสำราญเครื่องจักรไอน้ำ กำลังแข่งขันกัน ภายในฮินเดินบวร์คจึงเต็มไปด้วยความหรูหรา มีทั้งบาร์ ห้องสูบบุหรี่(ห้องนี้ต้องควบคุมหลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะควบคุมไม่ให้แก๊สไฮโดรเจนรั่วไหลเข้าไป) เตาไฟฟ้า ห้องอ่านและเขียนหนังสือ ห้องน้ำและห้องอาบน้ำที่มีเทคโนโลยีทันสมัย และหรูหราเหมาะกับการเป็นพาหนะชั้นยอด ห้องพักผู้โดยสารมีจำนวน 25 ห้อง แต่ละห้องสามารถพักได้ 2 คน ไม่มีการแบ่งชั้นเป็น ชั้นหนึ่ง ชั้นสอง หรือชั้นสาม เหมือนเรือสำราญ ทุกคนจะอยู่ในระดับเดียวกัน มีหน้าต่างระเบียงชมทิวทัศน์เป็นทางเดินยาว 15 เมตร 2 ฟากเรือ อาหารรสเลิศ ไวน์ชั้นเยี่ยม แต่ค่าโดยสารแพงมาก
การให้บริการในปีแรก
[แก้]ในปีแรกคือ พ.ศ. 2479 เรือเหาะฮินเดนบิร์กเดินทางรวมระยะทาง 308,323 กิโลเมตร รับ/ส่งผู้โดยสาร 2,798 คน และขนสินค้า 160 ตัน เดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก 17 เที่ยว โดย 10 เที่ยวไปสหรัฐ และ 7 เที่ยวไปบราซิล ในเดือนกรกฎาคมปีนั้นยังทำลายสถิติเดินทางข้ามไปกลับมหาสมุทรแอตแลนติกด้วยเวลาเพียง 5 วัน 19 ชั่วโมงและ 51 นาที แม็ก ชเมลิงก็ได้เดินทางกลับพร้อมด้วยชัยชนะอันยิ่งใหญ่ในวงการมวยโลกเป็นวีรบุรุษชาวเยอรมันจากการชนะการน็อคเอาท์นายโจ หลุยส์ ในสหรัฐในเที่ยวนี้ด้วย
การให้บริการในปีแรกนี้มีการนำเปียโนอะลูมิเนียมขึ้นไปบรรเลงให้ความบันเทิงผู้โดยสารด้วย “คอนเสิร์ตกลางเวหา” แต่สุดท้ายต้องก็ถูกยกเลิกเพื่อลดน้ำหนัก ความสำเร็จดังกล่าวทำให้บริษัทลุฟท์ชิฟฟ์เบาเซ็พเพอลีนวางแผนเพิ่มการผลิตและการให้บริการข้ามมหาสมุทรเพิ่มขึ้น
ระหว่างฤดูหนาวปี ค.ศ. 1936-1937 ได้มีการปรับปรุงเรือเหาะอีกหลายส่วนทำให้สามารถเพิ่มจำนวนผู้โดยสารได้อีก 10 คน รวมเป็นจำนวน 72 คน
การเดินทางเที่ยวสุดท้าย
[แก้]การเดินทางเที่ยวสุดท้ายของฮินเดินบวร์คคือเที่ยวบินที่ 18 จากนครแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี ไปยังรัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐ โดยจะถึงจุดหมายในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1937 เวลา 6 นาฬิกาตรง แต่อากาศไม่เป็นใจ ลมแรงมาก ฮินเดินบวร์คต้องฝ่าลมแรง ทำให้ถึงจุดหมายล่าช้าถึง 12 ชั่วโมง แต่ฮินเดินบวร์คก็ไม่สั่นสะเทือนแม้แต่น้อย
เรือเหาะฮินเดินบวร์คออกเดินทางจากฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์ในคืนวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1937 เพื่อเดินทางไปเลคเฮิร์ทส์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ การเดินทางเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีกระแสลมแรงต้านอยู่บ้าง ผู้โดยสารมีเพียงครึ่งลำ คือ 36 คน และมีลูกเรือ 61 คน แต่ในเที่ยวกลับได้รับการจองที่นั่งเต็มลำ เรือเหาะฮินเดินบวร์คเดินทางถึงอเมริกาในวันที่ 6 พฤษภาคม ซึ่งล่าช้ามากกว่าปกติ นอกจากนี้ยังล่าช้ามากขึ้นจากการแปรปรวนของอากาศที่ท่าจอด กัปตันมัคซ์ พรุสส์ จึงพาผู้โดยสารยืนชมนครนิวยอร์ก ชายฝั่งบอสตันและนิวเจอร์ซีย์
เมื่ออากาศดีขึ้น เรือเหาะฮินเดินบวร์คจึงมุ่งเข้าเทียบฐานจอดเลคเฮิร์ทเมื่อเวลาประมาณ 19.00 น. ที่ความสูง 215 เมตร การลงจอดที่เลคเฮิร์ทเป็นการจอดวิธีใหม่โดยมาหยุดในที่สูงแล้วหย่อนเชือกลงมาให้เครื่องกว้านบนหอคอยทำงานแทนคนจำนวนมาก แต่วิธีนี้ต้องใช้เวลามากกว่าเพราะต้องมีความแม่นยำ เมื่อเวลา 19.08 น. เรือแล่นเลี้ยวซ้ายด้วยความเร็วเต็มที่และมาถึงจุดเทียบ กัปตันเบาเครื่องยนต์และเปิดวาล์วก๊าซเพื่อให้เรือหยุดตัว เมื่อเวลา 19.14 ที่ความสูง 120 เมตร กัปตันสั่งให้เดินเครื่องถอยหลังเต็มที่เพื่อให้เรือเหาะหยุด เวลา 19.19 น. มีการทิ้งถุงน้ำถ่วงนำหนัก 3 ถุง คือ 300, 300 และ 500 กิโลกรัมเพื่อให้เรือได้ระนาบ และให้ลูกเรือ 6 คนมาถ่วงน้ำหนักอยู่ทางหัวเรือ (เสียชีวิตทุกคน) แต่ความพยายามทั้งหมดไม่เป็นผล อย่างไรก็ตามกัปตันพรุสส์ก็ได้รับอนุญาตให้ลงจอด เมื่อเวลา 19.21 น.ที่ความสูง 90 เมตร มีการทิ้งเชือกผูกฐานจอดที่กำลังจะเกิดขึ้น
เมื่อเวลา 19.25 น. พยานที่เห็นเหตุการณ์รายงานว่าได้มีเปลวไฟพวยพุ่งออกมาใกล้ท่อระบายด้านหน้าของครีบบน
ภัยพิบัติ
[แก้]ณ เวลา 19.12 น. เรือเหาะฮินเดินบวร์คติดไฟและลุกเป็นไฟก้อนใหญ่อย่างรวดเร็วโดยไม่ระเบิดอย่างที่ทุกคนคาดกันไว้ ไฟเริ่มลุกใหม้ที่ถุง 4 แล้วลามอย่างรวดเร็วมาทางส่วนหน้า ส่วนหลังบนของยานหักโดยยานยังคงรูปแต่เงยส่วนหน้าขึ้น ในขณะที่ส่วนหางตกกระแทกพื้นดินก็มีเปลวไฟประทุพุ่งออกทางส่วนหัวเรือ ทำให้ลูกเรือทั้งหกคนเสียชีวิต เนื่องจากส่วนหัวของยานยังคงมีก๊าซ หัวเรือจึงยังคงเชิดอยู่ เมื่อส่วนที่เป็นที่ตั้งเครื่องยนต์และส่วนห้องโดยสารด้านหลังจึงหลุบเข้าไปในตัวหัวเกิดเพลิงลุกใหม้เพิ่มขึ้นเป็นครั้งที่ 3 เมื่อล้อห้องโดยสารกระแทกพื้น เรือเหาะฮินเดินเบิร์กได้กระดอนขึ้นอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ผ้าหุ้มตัวเรือลุกไหม้เรือเหาะฮินเดินบวร์คทั้งลำจึงตกลงสู่พื้นทั้งหมดโดยเอาด้านหัวลงก่อน
การรายงาน
[แก้]ความหายนะครั้งนี้ได้รับการบันทึกไว้อย่างละเอียดมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ ทั้งข่าวที่เป็นการถ่ายภาพยนตร์ ภาพนิ่งและการรายงานสดทางวิทยุกระจายเสียง เป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายภาพเหตุการณ์สด ๆ ด้วยภาพยนตร์ “เฮอร์เบิร์ต มอร์ริสัน” กลายเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังจากการถ่ายภาพและอัดเสียงภาพยนตร์ข่าวอันน่าตื่นเต้นในครั้งนี้
โดยความเป็นจริงแล้วเรือเหาะกราฟ เซ็พเพอลีนของยเอรมันไม่เคยประสบอุบัติเหตุใด ๆ มาก่อนเหตุการณ์ครั้งนี้เลย จะมีก็เป็นของผู้ผลิตอื่นของประเทศอื่น เซ็พเพอลีนเดินทางมาแล้ว 1. 6 ล้านกิโลเมตร รวมทั้งการเดินทางรอบโลกเป็นผลสำเร็จบริษัทลุฟท์ชิฟฟ์เบาเซ็พเพอลีน มีความภาคภูมิใจที่ไม่เคยมีผู้โดยสารเสียชีวิตหรือบาดเจ็บแม้แต่รายเดียว
การรายงานข่าวที่น่าตระหนกมีผลให้คนหมดความเชื่อมั่นในการเดินทางด้วยเรือเหาะและหันไปโดยสารเครื่องบินที่แม้จะอึดอัดคับแคบกว่าแต่ก็เร็วกว่ามากยิ่งขึ้น ทำให้บริษัทการบินแพนอเมริกันของสหรัฐสามารถเปิดบริการธุรกิจบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้เป็นประจำ
ในสมัยนั้น เทคโนโลยีการสืบสวนหายนะยังไม่ดีนัก การสืบสวนในสมัยนั้นจึงไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงได้ เมื่อนักวิชาการยุคปัจจุบันจะมาสืบสวน สิ่งที่มีให้สืบสวนก็มีเพียงหลักฐานแสดงคำบอกเล่าของพยานผู้เห็นเหตุการณ์ ฟิล์มวิดีโอบันทึกเหตุการณ์ การสืบสวนดำเนินไปนานพอสมควร ก็ได้ข้อสรุปที่แน่นอนว่า การใช้ผ้าลินินในการห่อหุ้มเรือเหาะฮินเดินบวร์คทั้งลำนั้น ระหว่างการเดินทางจะเกิดการเสียดสีกับอากาศ ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต การเสียดสีเกิดขึ้นตลอดเส้นทางจนกลายเป็นไฟฟ้ามหาศาล สถิตอยู่ในผ้าลินิน และลวดภายในเรือ เมื่อเดินทางมาถึงและเตรียมลงจอดนั้น เกิดมีลมเปลี่ยนทิศ ถ้าหากจะจอดดี ๆ ต้องอ้อมสนามบินไปลงจอด แต่ในขณะนั้น ฮินเดินบวร์คเดินทางมาถึงล่าช้าแล้วหกชั่วโมง กัปตันตัดสินใจเลี้ยวเรือเหาะโดยตีวงเลี้ยวแคบมาก ซึ่งฮินเดินบวร์คไม่ได้ออกแบบให้มีวงเลี้ยวแคบขนาดนั้น ลวดเส้นหนึ่งทนแรงเหวี่ยงจากการเลี้ยวไม่ไหวจึงขาด และสะบัดไปโดนถุงแก๊สไฮโดรเจน ทำให้แก๊สรั่วออกมา และเมื่อฮินเดินบวร์คปล่อยเชือกลงมายังพื้นดินเพื่อให้ภาคพื้นดินดึงเรือเหาะลงไป ไฟฟ้าสถิตในเรือเหาะถูกส่งผ่านสายเชือกลงมายังพื้นดิน ลวดสามารถนำไฟฟ้าผ่านไปยังเชือก และนำลงสู่พื้นดินได้อย่างรวดเร็ว แต่ผ้าลินินไม่นำไฟฟ้าดีนัก ไฟฟ้าจึงเดินทางออกไปได้ช้ากว่า ไม่นานก็เกิดเป็นความต่างศักย์ของไฟฟ้าภายในเรือเหาะ และในที่สุดเมื่อความต่างศักย์ระหว่างผ้าลินินกับลวดสูงมากพอ ก็เกิดกระแสไฟฟ้าที่มองเห็นได้ (คล้าย ๆ กับฟ้าผ่า) เดินทางจากผ้าลินินไปหาลวด ซึ่งการเดินทางของไฟฟ้าทำให้มีอุณหภูมิสูงพอที่ทำให้แก๊สไฮโดรเจนที่รั่วออกมาอยู่แล้วเกิดติดไฟ และฮินเดินบวร์คก็พบจุดจบ
ยอดผู้เสียชีวิต
[แก้]ผู้โดยสารและลูกเรือส่วนใหญ่รอดชีวิต จากจำนวนผู้โดยสาร 36 คน และลูกเรือ 61 คน มีผู้เสียชีวิตที่เป็นผู้โดยสาร 13 คน ลูกเรือ 22 คน มีลูกเรือภาคพื้นดินเสียชีวิตด้วยอีก 1 คน การเสียชีวิตเกือบทั้งหมดมิได้เกิดจากไฟ แต่เป็นการกระโดดลงจากที่สูง ผู้โดยสารที่อยู่กับห้องโดยสารปลอดภัยทั้งหมดเนื่องจากเปลวไฟที่ร้อนจัดพัดขึ้นเบื้องสูง ลูกเรือที่ตายมากเนื่องจากได้พยายามเข้าไปช่วยผู้โดยสารที่อยู่ในห้องโดยสารหรือที่โดดลงมาก่อน
สาเหตุการลุกไหม้
[แก้]ในยุคที่ยังไม่ทราบสาเหตุอันแท้จริง สาเหตุอันแท้จริงสาเหตุการลุกใหม้ของเรือเหาะฮินเดินบวร์คได้ถูกเล่าลือไปในด้านต่าง ๆ มากมาย ซึ่งอาจสรุปโดยสังเขปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
- ทฤษฎีการก่อการร้าย
- ทฤษฎีการประทุจากไฟฟ้าสถิตย์
- ทฤษฎีฟ้าผ่า
- ทฤษฎีต้นตอของเชื้อเพลิงจากกระแสไฟฟ้า
- ทฤษฎีสีที่ท่าทาเป็นเชื้อประทุเอง
- ทฤษฎีไฮโดรเจน
นอกจากนี้ยังมีสมมุติฐานอีกมากมายเป็นต้นว่า
- ความวิบัติทางโครงสร้างของตัวยาน
- ทฤษฎีการทะลุ
- การรั่วไหลของเชื้อเพลิง
- มีการฆ่าตัวตายด้วยปืน เพราะพบรอยกระสุน
- การเดินเครื่องถอยหลัง ฯลฯ เป็นต้น