แรดชวาเวียดนาม
บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาอื่น (May 2019) คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
Rhinoceros sondaicus annamiticus | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Mammalia |
อันดับ: | อันดับสัตว์กีบคี่ |
วงศ์: | แรด |
สกุล: | Rhinoceros |
สปีชีส์: | R. sondaicus |
สปีชีส์ย่อย: | †R. s. annamiticus |
Trinomial name | |
Rhinoceros sondaicus annamiticus Heude, 1892 | |
แรดชวาเวียดนาม (Rhinoceros sondaicus annamiticus) [2] หรืออีกชื่อคือ แรดชวาอินโดจีน เป็นแรดชวาสปีชีส์ย่อยสูญพันธุ์แล้ว ซึ่งเคยอาศัยอยู่ในประเทศลาว กัมพูชา ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม ชื่อสปีชีส์ย่อย annamiticus มาจากชื่อเทือกเขาอันนัม ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคอินโดจีน อันเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ที่แรดสปีชีส์ย่อยนี้เคยอาศัยอยู่
การแพร่กระจายในอดีต
[แก้]แรดชวาเวียดนามเคยกระจายอยู่ทั่วประเทศจีนตอนใต้ เวียดนาม กัมพูชา ลาว ไทย และมาเลเซีย
อนุกรมวิธาน
[แก้]การวิเคราะห์พันธุกรรมบ่งชี้ว่าแรดชวาเวียดนามและแรดชวาอินโดนีเซียมีบรรพบุรุษร่วมกันครั้งสุดท้ายเมื่อประมาณ 300,000 ถึง 2 ล้านปีก่อน[1][3]
การอนุรักษ์
[แก้]ในปี 2006 มีการค้นพบประชากรที่เหลืออยู่ไม่เกิน 12 ตัว ในป่าแล้งเขตร้อนของอุทยานแห่งชาติก๊าตเตียน (Cat Tien National Park) ประเทศเวียดนาม แรดตัวสุดท้ายของประชากรนี้ถูกผู้ลักลอบล่าสัตว์ยิงในปี 2010 และกลุ่มอนุรักษ์บางกลุ่มเชื่อว่าแรดชวาเวียดนามสูญพันธุ์แล้ว[1][4]
ภัยคุกคาม
[แก้]สาเหตุหลักสองประการที่ทำให้ประชากรแรดชวาเวียดนามลดลงได้แก่ การสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย และการถูกล่ามากเกินไป เช่นเดียวกับที่เกิดกับสปีชีส์อื่นอีกหลายสปีชีส์ การลักลอบล่าเพื่อเอาเขาเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อแรดทุกชนิด มีการซื้อขายเขาแรดในประเทศจีนมานานกว่า 2,000 ปี เนื่องจากมีความเชื่อว่าเขามีสรรพคุณทางยา นอกจากนี้ บริเวณกระจายพันธุ์สุดท้ายของแรดชวาเวียดนามอยู่ในพื้นที่ยากจน ทำให้ยากต่อการโน้มน้าวใจคนในท้องถิ่นไม่ให้ฆ่าสัตว์ที่สามารถขายได้ในราคาสูงมาก[5]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Ellis, S. & Talukdar, B. (2020). "Rhinoceros sondaicus". IUCN Red List of Threatened Species. 2020: e.T19495A18493900. doi:10.2305/IUCN.UK.2020-2.RLTS.T19495A18493900.en. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
- ↑ "Rhinoceros sondaicus annamiticus Heude, 1892". Species 2000 & ITIS Catalogue of Life. Species 2000: Naturalis, Leiden, the Netherlands.
- ↑ Fernando, Prithiviraj; Gert Polet; Nazir Foead; Linda S. Ng; Jennifer Pastorini; Don J. Melnick (June 2006). "Genetic diversity, phylogeny and conservation of the Javan rhinoceros (Rhinoceros sondaicus)". Conservation Genetics. 7 (3): 439–448. Bibcode:2006ConG....7..439F. doi:10.1007/s10592-006-9139-4.
- ↑ Gersmann, Hanna (October 25, 2011). "Javan rhino driven to extinction in Vietnam, conservationists say". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 25 October 2011.
- ↑ Corlett, Richard T. (2007). "The Impact of Hunting on the Mammalian Fauna of Tropical Asian Forests". Biotropica. 39 (3): 202–303. Bibcode:2007Biotr..39..292C. doi:10.1111/j.1744-7429.2007.00271.x.
- บทความที่ต้องการการขยายความตั้งแต่May 2019
- บทความเกี่ยวกับ scitech ที่ต้องการการแปลจากวิกิพีเดียภาษาไทย
- หน้าที่ไม่มีบทความที่จะแปลมา
- สิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
- แรด
- สัตว์ที่พบในประเทศอินโดนีเซีย
- สัตว์ที่พบในประเทศไทย
- สัตว์ที่พบในประเทศลาว
- สัตว์ที่พบในประเทศจีน
- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่สูญพันธุ์ไปแล้วในทวีปเอเชีย