ข้ามไปเนื้อหา

แม่น้ำเซนต์จอนส์

บทความนี้เป็นบทความแปลของพนักงานดีแทคในความร่วมมือกับวิกิพีเดีย คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
พิกัด: 30°24′05″N 81°24′3″W / 30.40139°N 81.40083°W / 30.40139; -81.40083
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แม่น้ำเซนต์จอห์น)

แม่น้ำเซนต์จอนส์
แม่น้ำเซนต์จอนส์ใกล้แอสทอร์
แม่น้ำเซนต์จอนส์กับที่ราบลุ่มแม่น้ำที่ระบุไว้ใน St. Johns River Water Management District: 1. ลุ่มแม่น้ำตอนบน, 2. ลุ่มแม่น้ำตอนกลาง, 3. ลุ่มแม่น้ำทะเลสาบจอร์จ, 4. ลุ่มแม่น้ำตอนล่าง, 5. ลุ่มแม่น้ำออกลาวาฮา
ที่มาของชื่อสเปน: San Juan del Puerto
ที่ตั้ง
ประเทศสหรัฐ
รัฐรัฐฟลอริดา
นครแซนฟอร์ด, เดแบรี, เดลโทนา, เดแลนด์, พาแลตกา, กรีนโคฟสปริงส์, ออเรนจ์พาร์ก, แจ็กสันวิลล์
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำSt. Johns Marsh
 • ตำแหน่งnear เวโลบีช, เทศมณฑลแม่น้ำอินเดียน รัฐฟลอริดา
 • พิกัด27°57′18″N 80°47′3″W / 27.95500°N 80.78417°W / 27.95500; -80.78417[1]
 • ระดับความสูง30 ฟุต (9.1 เมตร)
ปากน้ำมหาสมุทรแอตแลนติก
 • ตำแหน่ง
แจ็กสันวิลล์ เทศมณฑลดูวัล รัฐฟลอริดา
 • พิกัด
30°24′05″N 81°24′3″W / 30.40139°N 81.40083°W / 30.40139; -81.40083[1]
 • ระดับความสูง
0 ฟุต (0 เมตร)[1]
ความยาว310 ไมล์ (500 กิโลเมตร)
พื้นที่ลุ่มน้ำ8,840 ตารางไมล์ (22,900 ตารางกิโลเมตร)
อัตราการไหล 
 • ตำแหน่งเมย์พอร์ต
 • เฉลี่ย15,000 cubic foot per second (420 cubic metre per second)
 • สูงสุด150,000 cubic foot per second (4,200 cubic metre per second)
ลุ่มน้ำ
ลำน้ำสาขา 
 • ซ้ายMills Creek River, Econlockhatchee River, Wekiva River, Alexander Springs, Salt Springs Run, Ocklawaha River, Rice Creek, Simms Creek, Black Creek, Ortega River, Trout River
 • ขวาMurphy Creek/Dunn's Creek, Julington Creek, Pottsburg Creek, Intracoastal Waterway/Sisters Creek

แม่น้ำเซนต์จอนส์ (อังกฤษ: St. Johns River; สเปน: Río San Juan) เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา มีความสำคัญทั้งในทางเศรษฐกิจและเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ด้วยความยาว 310 ไมล์ (500 กิโลเมตร) มีความลาดเอียงจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ (หรือปากแม่น้ำ) น้อยกว่า30 ฟุต (9 เมตร) โดยมีลักษณะเช่นเดียวกับแม่น้ำสายอื่นๆในรัฐฟลอริดา คือมีอัตราการไหลของน้ำต่ำมาก คือเพียง 0.3 mph (0.13 m/s) จึงมักจะถูกเรียกว่าเป็น "แม่น้ำขี้เกียจ" (lazy)[2] และยังเป็นหนึ่งในแม่น้ำไม่กี่สายในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีทิศทางการไหลสู่ทิศเหนือ ส่วนที่กว้างที่สุดของแม่น้ำ มีขนาดความกว้างเกือบ 3 ไมล์ (5 กิโลเมตร) มีประชากรอาศัยในเขตลุ่มน้ำของแม่น้ำเซนต์จอนส์มากถึง 3.5 ล้านคน[3]

ด้วยพื้นที่ลุ่มน้ำขนาดใหญ่ถึง 8,840 ตารางไมล์ (22,900 ตารางกิโลเมตร) ทำให้แม่น้ำเซนต์จอนส์เป็นหนึ่งในพื้นที่ชุ่มน้ำ (wetlands) ที่สำคัญของรัฐฟลอริดา[4][5] ประกอบด้วยพื้นที่ลุ่มน้ำหลัก 3 แห่ง และ 2 สันปันน้ำ สำหรับทะเลสาบจอร์จ (Lake George) และ แม่น้ำอ็อกลาวาฮา (Ocklawaha River) ซึ่งทั้งหมดนี้มีการบริหารจัดการน้ำโดยหน่วยงานบริหารจัดการแม่น้ำเซนต์จอนส์ (St. Johns River Water Management District)

แม้ว่ารัฐฟลอริดาจะเป็นบริเวณที่ตั้งของชุมชนอาณานิคมยุโรปถาวรแห่งแรกที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่รัฐฟลอริดากลับเป็นรัฐสุดท้ายที่ได้รับการพัฒนาในช่วงศตวรรษที่ 20 จนกระทั่งกลายเป็นรัฐหนึ่งซึ่งมีความเจริญอย่างมาก แม่น้ำเซนต์จอนส์ก็เช่นเดียวกับแม่น้ำสายอื่นๆในรัฐฟลอริดาซึ่งถูกใช้เป็นปัจจัยสำคัญในการทำเกษตรกรรมและเป็นชุมชนที่อยู่อาศัย จึงทำให้เกิดมลภาวะที่ทำลายธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่โดยรอบ

ในปี ค.ศ. 1998 แม่น้ำเซนต์จอนส์ได้รับการขนานนามให้เป็นหนึ่งใน 14 แม่น้ำมรดกของประเทศสหรัฐอเมริกา (American Heritage Rivers) แต่ในปี ค.ศ. 2008 กลับมีชื่อเป็นหนึ่งในแม่น้ำที่เป็นอันตรายที่สุด 10 อันดับแรกของประเทศสหรัฐอเมริกา (America's Ten Most Endangered Rivers)[6]

ภูมิศาสตร์และนิเวศวิทยา

[แก้]

ลุ่มน้ำตอนบน

[แก้]

ลุ่มน้ำตอนบนอยู่ในบริเวณต้นน้ำของแม่น้ำเซนต์จอนส์ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2,000 ตารางไมล์ (5,200 ตารางกิโลเมตร) โดยมีความยาวของสายน้ำผ่านบริเวณลุ่มน้ำตอนบนนี้ประมาณ 75 ไมล์ (121 กิโลเมตร).[ต้องการอ้างอิง] มีช่วงที่แม่น้ำมีความแคบที่สุดอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำนี้ และเต็มไปด้วยทะเลสาบมากถึง 3,500 แห่ง ซึ่งมักเป็นทะเลสาบที่มีความลึกไม่มากนัก ประมาณ 3 ถึง 10 ฟุต (1 ถึง 3 เมตร)[7][8] ทะเลสาบที่อยู่ในบริเวณนี้ เช่น ทะเลสาบเฮลแอนด์เบลซเซส (Lake Hell 'n Blazes) ทะเลสาบวอร์ชิงตัน (Lakes Washington) ทะเลสาบไวน์เดอร์ (Winder) และ ทะเลสาบพอยน์เซท(Poinsett)

A swamp dominated by tall trees with buttressed trunks standing in water, their bark gray. As the trunks get closer to the water the color gradually becomes more brown
Cypress trees in the Tosohatchee Wildlife Management Area showing dark water marks on the flared trunks, evidence of water level flux

ลุ่มน้ำตอนกลาง

[แก้]
The river as a shallow and ill-defined channel dominated by grasses and weeds with few trees; white birds are present in the foreground
The St. Johns immediately south of Sanford shows a narrow channel with large areas of aquatic plants and wetlands.

ลุ่มน้ำตอนกลางมีพื้นที่ประมาณ 1,200-ตารางไมล์ (3,100-ตารางกิโลเมตร) โดยแม่น้ำเซนต์จอนส์ที่ไหลผ่านบริเวณนี้มีช่วงความยาว 37 ไมล์ (60 กิโลเมตร) มีประชากรอาศัยประมาณ 2 ล้านคน และมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่งในบริเวณนี้ ทะเลสาบขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือ ทะเลสายฮาร์นี่ (Lake Harney) ซึ่งมีขนาด 9-ตารางไมล์ (23-ตารางกิโลเมตร) และทะเลสาบมอนโร (Lake Monroe) ขนาด 15 ไมล์2 (39 กม2) ก็อยู่ในบริเวณนี้ด้วย

ลุ่มน้ำตอนล่าง

[แก้]

บริเวณลุ่มน้ำตอนล่างของแม่น้ำเซนต์จอนส์มีพื้นที่ประมาณ 2,600 ตารางไมล์ (6,700 ตารางกิโลเมตร) โดยมีสายน้ำยาวถึง 101 ไมล์ (163 กิโลเมตร) ไหลผ่านบริเวณนี้ลงสู่มหาสมุทรแอทแลนติก (the Atlantic Ocean) เมืองที่ตั้งอยู่ในแถบลุ่มน้ำตอนล่างนี้ส่วนมากเป็นเมืองเก่าในรัฐฟลอริดาโดยมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาคู่กับสายน้ำแห่งนี้ เช่น เมือง Palatka และเมือง Green Cove Springs ก็เคยเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมในอดีต ซึ่งเสื่อมถอยความนิยมลงหลังจากมีการก่อสร้างทางรถไฟและทางหลวงอินเตอร์สเตตเลียบชายฝั่งแอทแลนติกขึ้น[9]

ช่วง 35 ไมล์ (56 กิโลเมตร) สุดท้ายของแม่น้ำเซนต์จอนส์ไหลผ่านเมืองแจ็คสันวิลล์ (Jacksonville) ซึ่งเป็นเมืองที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดในรัฐฟลอริดา ในปี พ.ศ. 2550 เป็นเมืองที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 12 ของประเทศ คือประมาณ 805,605 คน [10] เมืองนี้ก็อาศัยแม่น้ำเซนต์จอนส์เป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญของเมือง เช้น ในด้านระบบการขนส่งสินค้าต่างๆ โดยมีสินค้ามากถึง 18,000,000 short ton (16,000,000 t) ผ่านเข้าออกเมืองในแต่ละปี ท่าเรือที่เมืองแจ็คสันวิลล์สร้างความเจริญทางเศาษฐกิจถึง 1.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และสร้างงานแก่ประชากรถึง 10,000 ตำแหน่ง[11]

A city with several tall buildings and a bridge spanning the river, running in front of the buildings
Downtown Jacksonville's commercial district on the St. Johns River

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]


อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Feature Detail Report for: St. Johns River, US Geological Survey (October 19, 1979). Retrieved on October 25, 2009.
  2. Whitney, p. 215.
  3. Belleville, p. xxi.
  4. The St. Johns River: Nominated as an American Heritage River เก็บถาวร กุมภาพันธ์ 1, 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Environmental Protection Agency. Retrieved on July 17, 2009.
  5. Whitney, p. 136.
  6. Ball, David (April 14, 2008).St. Johns River Makes 'Endangered' List, Jacksonville Financial and Daily Record, Retrieved on July 17, 2009.
  7. Benke and Cushing, p. 100.
  8. Belleville, p. 14.
  9. McCarthy, p. 88–100.
  10. US Census July 1, 2006 est.
  11. The St. Johns River: Nominated as an American Heritage River, Environmental Protection Agency (Part 2). Retrieved on July 17, 2009.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Belleville, Bill (2000). River of Lakes: A Journey on Florida's St. Johns River, University of Georgia Press. ISBN 0-8203-2156-7
  • Benke, Arthur; Cushing, Colbert (eds.) (2005). Rivers of North America, Elsevier/Academic Press. ISBN 0-12-088253-1
  • Cabell, Branch and Hanna, A. J. (1943). The St. Johns: A Parade of Diversities, Farrar & Rinehart, Rivers of America Series.
  • Gannon, Michael (ed.) (1996). A New History of Florida, University Press of Florida. ISBN 0-8130-1415-8
  • McCarthy, Kevin (2004). St. Johns River Guidebook, Pineapple Press. ISBN 1-56164-314-9
  • Miller, James (1998). An Environmental History of Northeast Florida, University Press of Florida. ISBN 0-8130-2313-0
  • Noll, Steven and Tegeder, M. David (August 2003). From Exploitation to Conservation: A History of the Marjorie Harris Carr Cross Florida Greenway hosted at the Florida Department of Environmental Protection website. Retrieved on July 19, 2009.
  • Randazzo, Anthony and Jones, Douglas (eds.) (1997). The Geology of Florida. University Press of Florida. ISBN 0-8130-1496-4
  • Rawlings, Marjorie (1942). Cross Creek, First Touchstone Edition 1996: Simon & Schuster. ISBN 0-684-81879-5
  • Read, William Alexander (2004). Florida Place Names of Indian Origin and Seminole Personal Names, University of Alabama Press. ISBN 978-0-8173-8421-0
  • Schafer, Daniel L. (March 2003). Anna Madgigine Jai Kingsley: African Princess, Florida Slave, Plantation Slaveowner. University Press of Florida. ISBN 0-8130-2616-4
  • Simpson, J Clarence; Boyd, Mark F. (ed.) (1956). A Provisional Gazetteer of Florida Place-names of Indian Derivation. Florida Geological Survey, Special Publication No. 1.
  • Stowe, Harriet B. (1873). Palmetto-Leaves. J. R. Osgood and Company.
  • Tebeau, Charlton (1971). A History of Florida, University of Miami Press. ISBN 0-87024-149-4
  • Whitney, Ellie; Means, D. Bruce; Rudloe, Anne (eds.) (2004) Priceless Florida: Natural Ecosystems and Native Species. Pineapple Press, Inc. ISBN 978-1-56164-309-7
  • Young, Claiborne (1996). Cruising Guide to Eastern Florida, Pelican Publishing Company. ISBN 0-88289-992-9

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]