ข้ามไปเนื้อหา

แฟรงก์ ซินาตรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แฟรงค์ สินาตรา)
แฟรงก์ ซินาตรา
ซินาตราประมาณเดือนตุลาคม 1957 ในระหว่างการบันทึกเสียงอัลบั้ม คัมฟลายวิธมี
เกิดฟรานซิส อัลเบิร์ต ซินาตรา
12 ธันวาคม ค.ศ. 1915(1915-12-12)
โฮโบเกน รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐ
เสียชีวิต14 พฤษภาคม ค.ศ. 1998(1998-05-14) (82 ปี)
ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแสดง
ปีปฏิบัติงาน1935–1995
คู่สมรส
บุตร
บิดามารดา
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ค่ายเพลง
เว็บไซต์sinatra.com

ฟรานซิส อัลเบิร์ต ซินาตรา (อังกฤษ: Francis Albert "Frank" Sinatra; 12 ธันวาคม ค.ศ. 1915 – 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1998) เป็นนักแสดง นักร้อง และโปรดิวเซอร์ชาวอเมริกัน เขาได้กลายเป็นหนึ่งในศิลปินผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษที่ 20 ด้วยยอดจำหน่ายแผ่นเสียงกว่า 150 ล้านชุดทั่วโลก[1] ทำให้กลายเป็นหนึ่งในศิลปินที่มียอดจำหน่ายสูงสุดตลอดกาล ซินาตราเกิดในโฮโบเคน รัฐนิวเจอร์ซีย์ เป็นลูกหลานของชาวอิตาลีที่อพยพเข้ามาในอเมริกา เขาเริ่มงานดนตรีในช่วงที่ ดนตรีสวิง กำลังเป็นที่นิยม โดยร่วมวงกับ แฮร์รี เจมส์ และทอมมี ดอร์ซีย์ จนต่อมาซินาตราออกมาทำงานดนตรีเดี่ยวซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี จนได้เซนต์สัญญากับค่ายโคลัมเบีย ในปี ค.ศ. 1943 เขาได้ออกอัลบั้มแรกในชื่อ The Voice of Frank Sinatra (1946) แต่งานดนตรีเขาก็ได้หายไปในช่วงทศวรรษที่ 1950 ต่อมาเขาได้กลับสู่เวกาส ที่ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้กับเขาเป็นอย่างมาก ในนามวงแรท แพ็ก (Rat Pack) นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953 เป็นต้นมา นับเป็นช่วงที่ซินาตรากลับสู่กระแสนิยมอีกครั้ง เขาเล่นภาพยนตร์เรื่อง ชั่วนิรันดร (From Here to Eternity) ซึ่งทำให้เขาได้รางวัลออสการ์และรางวัลลูกโลกทองคำในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ซินาตราได้ออกอัลบั้มที่ได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์มากมาย ได้แก่ Wee Small Hours (1955), Songs for Swingin' Lovers! (1956), Come Fly with Me (1958), Only the Lonely (1958) และ Nice 'n' Easy (1960)

ซินาตราออกจากค่ายแคปิตอล ในปี ค.ศ. 1960 แล้วออกไปเปิดค่ายเพลงของตัวเองในชื่อ รีพรีซเรคอร์ด (Reprise Records) พร้อมกับออกอัลบั้มแรกซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ในปี ค.ศ. 1965 เขาบันทึกเสียงอัลบั้ม September of My Years ซึ่งได้รับรางวัลเอ็มมีจากรายการ Frank Sinatra: A Man and His Music และมีเพลงฮิตที่โด่งดังอย่าง "Strangers in the Night" และ "My Way" ต่อมาเขาได้ออกอัลบั้ม Sinatra at the Sands ซึ่งทำการอัดเสียงที่แซนด์สโฮเทลแอนด์คาสิโน ในลาสเวกัส ร่วมกับเคาท์ เบซี ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1966 หนึ่งปีต่อจากนั้นเขาก็ได้ร่วมงานกับอังโตนีอู การ์ลูช โชบิง หนึ่งในผู้บุกเบิกแนวบอสซาโนวา คนสำคัญ ในอัลบั้ม Francis Albert Sinatra & Antonio Carlos Jobim ต่อมาก็ออกอัลบั้มร่วมกับดุค เอลลิงตัน ในอัลบั้ม Francis A. & Edward K. ปี ค.ศ. 1968 ซินาตราได้เกษียณตัวเองเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1971 แต่ก็กลับสู่วงการอีกครั้งใน 2 ปีต่อมา และได้ออกอัลบั้มมากมาย รวมถึงแสดงสดต่อที่โรงแรมซีซาร์พาเรส ซึ่งเขาใช้ลาสเวกัสเป็นฐานเรื่อยมา นอกจากนี้เขาก็ยังร่วมทัวร์ทั้งในและนอกสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1998

ซินาตราประสบความสำเร็จอย่างสูงในวงการภาพยนตร์ ภายหลังจากเขาได้รับรางวัลออสการ์จากเรื่อง ชั่วนิรันดร เขาก็ได้รับบทนำในเรื่อง The Man with the Golden Arm (1955) และต่อมาในเรื่อง The Manchurian Candidate (1962) เขายังเล่นถาพยนตร์แนวภาพยนตร์เพลงอีกหลายเรื่องเช่น On the Town (1949), Guys and Dolls (1955), High Society (1956) และ Pal Joey (1957) ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลลูกโลกทองคำในเวลาต่อมา ในช่วงท้ายๆ ของการเล่นภาพยนตร์ เขารับบทเป็นจารชนในภาพยนตร์ Tony Rome (1967) จนได้รางวัลลูกโลกทองคำเซซิลบี. เดอมิลล์ (Golden Globe Cecil B. DeMille Award) ในปี ค.ศ. 1971 ในงานโทรทัศน์ ซินาตราได้เริ่มรายการ เดอะแฟรงก์ ซินาตราโชว์ ออกอากาศผ่านช่องเอบีซีครั้งแรกในปี ค.ศ. 1950 และดำเนินการเรื่อยมาในช่วงทศวรรษ 1950 จนถึง 1960 ซินาตรายังมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับอิทธิพลด้านมืดอย่างมาเฟีย รวมถึงการเมืองอเมริกันเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1940 เป็นต้นมา เขาได้ออกแคมเปญสนับสนุนประธานาธิบดีหลายคน ทั้ง แฮร์รี เอส. ทรูแมน จอห์น เอฟ. เคนเนดี และโรนัลด์ เรแกน แต่ถึงอย่างไรก็ดีจากการเสียชีวิตของเคนเนดี ก็ทำให้สายอิทธิพลมาเฟีย ของเขาสั่นคลอน[2]

ซินาตรา ไม่เคยเรียนวิชาดนตรีมาก่อน เขาไม่สามารถอ่านโน้ตดนตรีได้ แต่เขาก็สามารถเข้าใจและปรับรูปแบบการร้องให้เป็นธรรมชาติได้อย่างดี เขาทำงานหนักมาตั้งแต่อายุยังน้อย เป็นจุดๆหนึ่งที่ผลักดันให้เขาเรียนรู้ทักษะ ในรูปแบบลักษณะดนตรีต่างๆ เขากลายเป็นที่จดจำด้วยการแต่งกายสะอาด เนี้ยบไร้ที่ติ และมักร่วมงานกับวงดนตรีของเขาเสมอ นอกจากนี้ด้วยดวงตาที่ฟ้าอันโดดเด่นของเขา จึงได้รับฉายา "Ol' Blue Eyes" ชีวิตส่วนตัวของซินาตรานั้นเต็มไปด้วยสีสัน เขามีความสัมพันธ์กับเซเลบผู้หญิงหลายคน ไม่ว่าจะเป็นภรรยาคนที่สองของเขา เอวา การ์ดเนอร์ ในปี ค.ศ. 1966 ก็แต่งงานกับมีอา ฟาร์โรว์ และภรรยาคนสุดท้ายของเขา บาร์บารา ซินาตรา ในปี ค.ศ. 1976 บุคคลิกของซินาตรานั้นเป็นคนอารมณ์ร้าย ด้วยการมีเรื่องกับนักข่าว รวมถึงหัวหน้างานหลายครั้ง ในปี ค.ศ. 1983 เขาได้รับการยกย่องสู่เกียรติยศเคเนดีเซนเตอร์ ได้รับเหรียญอิสรภาพประธานาธิบดี จากประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ในปี ค.ศ. 1985 และเหรียญทองคำสภาคอนเกรส ในปี ค.ศ. 1997 ซินาตราได้รับรางวัลแกรมมีมาแล้ว 11 ครั้ง ภายหลังจากเขาเสียชีวิต โรเบิร์ต คริสต์เกา (Robert Christgau) ก็ได้เชิดชูเขาให้เป็น "นักร้องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20" เเละภาพลักษณ์ของซินาตราก็ยังคงตราเป็นสัญลักษณ์มาจวบจนทุกวันนี้[3]

ประวัติช่วงต้น

[แก้]

ฟรานซิส อัลเบิร์ต ซินาตรา [a] เกิดเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 1915 ที่บ้านพักอาศัยในถนน 415 Monroe Street เมืองโฮโบเคน , รัฐนิวเจอร์ซีย์ [b] [6] เขาเป็นบุตรชายคนเดียวของแอนโทนี มาร์ติน ซินาตรา "มาร์ตี"[7] และนาตาลีนา "ดอลลี" การาเวนตา[8][9][c] ซึ่งเป็นชาวอิตาลีที่อพยพเข้ามายังสหรัฐอเมริกา น้ำหนักแรกเกิดของซินาตรา คือ 13.5 ปอนด์ (6.1 กิโลกรัม) ระหว่างที่กำลังคลอดต้องใช้คีมเข้าช่วย ซึ่งเป็นผลให้เกิดแผลบริเวณแก้มซ้าย คอ และหูของเขา จึงทำให้ต้องเจาะรูบริเวณ เยื่อแก้วหูซึ่งกลายเป็นรอยแผลตลอดชีวิตของเขา[11]

จากการที่เขาได้รับบาดแผลจากตอนคลอด พิธีศีลจุ่มของเขาที่โบสถ์เซนต์ฟรังซิส จึงเลื่อนออกไปในวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1916[12] ในตอนเด็กเขาได้รับผลกระทบจากปุ่มกกหูซึ่งสร้างรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ติดตัวเขา และเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นเขาก็มีสิวโดยรอบหน้าและลำคอ[13] ซินาตราเกิดและเติบโตในศาสนาโรมันคาทอลิก[14]

เมื่อครั้นมารดาของซินาตรายังเป็นเด็ก ๆ ถือเป็นผู้หญิงที่สวยคนหนึ่ง เป็นผู้หญิงที่ร่าเริง[15] จนได้รับฉายาให้เป็น "ดอลลี" นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า นี่คือปัจจัยที่สำคัญที่ส่งอิทธิพลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของแฟรงก์ รวมถึงความมั่นใจในตัวเองอย่างสูง[16] ดอลลี ได้กลายเป็นผู้หญิงที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในย่านโอโบเคน เธอทำงานเป็นหมอตำแย ได้รับเงินเดือนราว 50 ดอลลาร์ ในแต่ละครั้ง[17] และจากการอ้างอิงของคิตตี เคลลีย์ ผู้เขียนชีวประวัติของซินาตรา ได้กล่าวว่า ดอลลีเคยทำแท้งอย่างผิดกฎหมายมาแล้ว นอกจากอาชีพหลักหมอตำแยแล้ว เธอยังทำงานรับจ้างเป็นล่ามในท้องถิ่นอีกด้วย[18] ส่วนสามี พ่อของแฟรงก์ ทำงานเป็นนักมวยชั้นแบนตั้มเวท ภายใต้ชื่อเวทีว่า มาร์ตี โอ ไบรเอิน[19] ต่อมาเขาก็ย้ายไปทำงานที่สถานีดับเพลิงเป็นระยะเวลากว่า 24 ปี ที่สถานีดับเพลิงโฮโบเคน จนได้รับตำแหน่งสูงสุดคือกัปตัน[20] ซินาตรา ใช้เวลาจำนวนมากที่โรงเตี้ยมของพ่อแม่[d] ในการทำการบ้านและร้องเพลง รวมถึงยืมเล่นเปียโนในช่วงพักของศิลปิน[22] ในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ดอลลีกลับให้เงินลูกมากขึ้นพร้อมกับซื้อเสื้อราคาแพง จนเพื่อนบ้านบริเวณนั้นเรียกซินาตราว่าเป็น "เด็กที่มีชุดดีที่สุดในชุมชน"[23]

ซินาตราได้เริ่มสนใจในดนตรี บิกแบนด์แจ๊ส มาตั้งแต่ยังเด็ก[24] เขาฟังเพลงของจีน อัสติน, รูดี วัลลี, รัสส์ โคลัมโบ และบ็อบ อีเบอร์ลีย์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งบิง ครอสบี[25] จนต่อมาลุงฝั่งมารดาของแฟรงก์ โดเมนิโก ก็ได้ให้ของขวัญเป็นอูคูเลเล สำหรับวันเกิดปีที่ 15 ของเขา กลายเป็นจุดเริ่มต้นงานดนตรีของเขา[26] ซินาตราเข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยม เดวิด อี.รู จูเนียร์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1928[27] และย้ายมาศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยม เอ.เจ. ดีมาเรสต์ ในปี ค.ศ. 1931 ที่ซึ่งเขาได้ร่วมวงกันขึ้น สำหรับงานเต้นรำของโรงเรียน[26] ต่อมาเขาก็ออกจากโรงเรียนแบบไม่จบการศึกษา ซึ่งเขาเข้าไปเรียนได้เพียง 47 วันเท่านั้น ก็โดนไล่ออกจากความเกียจคร้าน[28] ด้วยความเมตตาของแม่ จึงส่งแฟรงก์ไปศึกษาต่อที่โรงเรียนพาณิชย์เดรก แต่ก็ออกจากโรงเรียนอีกภายหลังเข้าเรียนได้ 11 เดือน[26] ดอลลี ได้พบว่าแฟรงก์ ทำงานเป็นเด็กส่งหนังสือพิมพ์เจอร์ซีย์ออปเซิร์ฟเวอร์ ของมาเฟียใหญ่แฟรงก์ แกร์ริค[e] และภายหลังจากนั้นเขาก็ไปทำงานตอกหมุดที่ท่าเรือเทียตเจนและแลง[30] เขาแสดงสดตามผับย่านโฮโบเคน ทั้ง เดอะแคตส์เหมียว และ เดอะโคมีดีคลับ และได้มีโอกาสร้องเพลงออกอากาศทางสถานีวิทยุ ทั้ง WAAT ในเมืองเจอร์ซีย์[31] ในกรุงนิวยอร์ก ซินาตรา ก็ได้งานร้องเพลงแลกกับอาหารมื้อเย็น หรือม้วนบุหรี่[26] สำหรับการพัฒนาการพูด เขาได้เริ่มศึกษาการพูดจาก จอห์น ควินแลน ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในคนแรกที่เริ่มเห็นพรสวรรค์ในเสียงของเขา[32]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ในใบสูติบัตรของเขา ชื่อของชินาตราถูกบันทึกอย่างผิดๆว่า "แฟรงก์ ชิเนโตร" โดยเกิดจากการเขียนตัวอักษรผิด ในเดือนพฤษภาคม 1945 , เขาประกาศอย่างเป็นทางการว่า ชื่อที่ถูกต้องของเขาในสูติบัตรควรจะเป็น "ฟรานซิส เอ. ซินาตรา" [4]
  2. บ้านพักอาศัยในถนน 415 Monroe Street ดังกล่าวถูกไฟไหม้แล้ว ซึ่งปัจจุบันบ้านพักก็ไม่มีแล้ว. [5]
  3. Other sources incorrectly say Catania.[10]
  4. In 1920, Prohibition of alcohol became law in the US. Dolly and Marty ran a tavern during those years, allowed to operate openly by local officials who refused to enforce the law.[21]
  5. Sinatra's loss of employment at the newspaper led to a life-long rift with Garrick. Dolly said of it: "My son is like me. You cross him, he never forgets."[29]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Leach, Robin (June 8, 2015). "Steve Wynn to celebrate 100th birthday of the late Frank Sinatra in Las Vegas". Las Vegas Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-19. สืบค้นเมื่อ June 28, 2015.
  2. Renda, Matthew. "His Way: Sinatra at Tahoe". Tahoe Quarterly. สืบค้นเมื่อ December 15, 2015.
  3. Rojek 2004, p. 1.
  4. Sinatra 1995, p. 17; Summers & Swan 2010, p. 15.
  5. Sinatra 1995, p. 15.
  6. "Frank Sinatra's dwindling tourist turf in Hoboken". The Jersey Journal. March 31, 2010. สืบค้นเมื่อ October 6, 2015.
  7. Sinatra 1986, p. 3.
  8. Petkov & Mustazza 1995, p. 113.
  9. "Italy, Palermo, Termini Imerese, Civil Registration (Tribunale), 1862–1910 Image Italy, Palermo, Termini Imerese, Civil Registration (Tribunale), 1862–1910; pal:/MM9.3.1/TH-1942-27311-11205-85". familysearch.org. สืบค้นเมื่อ October 9, 2015.
  10. Howlett 1980, p. 5; Summers & Swan 2010, pp. 22–25; Kaplan 2011, p. 8: 415 Monroe Street.
  11. Kelley 1986, p. 13; Travis 2001, p. 1; Turner 2004, p. 4.
  12. Sinatra 1995, p. 16.
  13. Kaplan 2011, pp. 4–5.
  14. Talese, Gay (October 8, 2007). "Frank Sinatra Has a Cold". Esquire. สืบค้นเมื่อ October 12, 2010.
  15. Kaplan 2011, p. 6.
  16. Rojek 2004, p. 25; Santopietro 2008, p. 15.
  17. Kaplan 2011, pp. 8–9.
  18. Kaplan 2011, pp. 6, 8–9.
  19. Howlett 1980, p. 5; Kaplan 2011, p. 7.
  20. Goldstein 1982, p. 2.
  21. Kaplan 2011, pp. 9–11.
  22. Kaplan 2011, p. 11.
  23. Kelley 1986, pp. 20–23.
  24. Rojek 2004, p. 135.
  25. Lahr 2000, p. 56.
  26. 26.0 26.1 26.2 26.3 Donnelley 2003, p. 642.
  27. Sinatra 1986, p. 8.
  28. Hodge 1992, p. 8; Rojek 2004, p. 135.
  29. Lahr 2000, p. 54.
  30. Summers & Swan 2010, pp. 44, 47.
  31. Kelley 1986, pp. 44–45.
  32. Kelley 1986, p. 45.

ดูเพิ่ม

[แก้]