ข้ามไปเนื้อหา

แพนอเมริกันเวิลด์แอร์เวส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แพนอเมริกันเวิลด์แอร์เวส์
IATA ICAO รหัสเรียก
PA PAA CLIPPER
ก่อตั้ง (1927-03-14) 14 มีนาคม ค.ศ. 1927 (97 ปี)
(ในชื่อ แพนอเมริกันแอร์เวย์)
เริ่มดำเนินงาน (1927-10-19) 19 ตุลาคม ค.ศ. 1927 (97 ปี)
(ในชื่อ แพนอเมริกันแอร์เวย์)
เลิกดำเนินงาน (1991-12-04) 4 ธันวาคม ค.ศ. 1991 (33 ปี)
ท่าหลัก
เมืองสำคัญ
สะสมไมล์เวิลด์พาส
บริษัทลูก
ขนาดฝูงบิน226
จุดหมาย87 ประเทศ (ณ จุดสูงสุด)[1]
บริษัทแม่แพนแอมคอปอเรชัน
สำนักงานใหญ่สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา
บุคลากรหลัก

แพนอเมริกันเวิลด์แอร์เวส์ หรือชื่อเดิม แพนอเมริกันเวิลด์แอร์เวส์[2] หรือรู้จักกันในชื่อ แพนแอม เป็นอดีตสายการบินระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา ช่วงปี ค.ศ. 1927 จนถึงวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1991 สายการบินก่อตั้งในปี ค.ศ. 1927 โดยเป็นการขนส่งผู้โดยสารและจดหมายระหว่างคีย์เวสต์ รัฐฟลอริดา กับฮาวานา ประเทศคิวบา สายการบินนี้ถูกยกย่องในด้านนวัตกรรมหลายอย่าง ในด้านอุตสาหกรรมการบินระหว่างประเทศ โดยริเริ่มใช้เครื่องบินไอพ่นอย่างโบอิ้ง 707, อากาศยานลำตัวกว้างอย่างโบอิ้ง 747 ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกในเวลานั้น และระบบสำรองคอมพิวเตอร์[3] และยังเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA)[4] สัญลักษณ์ของสายการบินนี้คือลูกโลกสีน้ำเงิน[5] มักใช้คำว่า "คลิปเปอร์" ในชื่ออากาศยานตัวอย่างเช่น คลิปเปอร์เมดออฟเดอะซี (Clipper Maid of The Sea) ชุดของนักบินเป็นชุดสีขาว

แพนอเมริกันแอร์เวส์ ยุติการให้บริการเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1991 เนื่องจากปัญหาการเงินล้มละลายอันเนื่องมาจากปัจจัยบางอย่าง เช่น อุบัติเหตุทางเครื่องที่แพนแอมประสบปัญหานี้มาหลายเที่ยวบิน เช่น เที่ยวบิน 103, เที่ยวบินที่ 6 และภัยพิบัติท่าอากาศยานเตเนริเฟที่เครื่องบินแฟนแอมเที่ยวบินที่ 1736 ไปประสบเหตุกับเครื่องบินของสายการบินเคแอลเอ็ม เที่ยวบินที่ 4805 เหตุการณ์นี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์การบินของมนุษยชาติ ทำให้ความเชื่อมั่นของสายการบินแพนแอมเองลดลงอย่างมาก ทำให้มีปัญหาการเงินแล้วล้มละลายไปในที่สุด

ฝูงบิน

[แก้]

ฝูงบินในปี 1990

[แก้]

ต่อไปนี้เป็นเครื่องบินที่ดำเนินการโดยแพนแอมและแพนแอมเอ็กซ์เพรสในเดือนมีนาคม 1990 หนึ่งปีครึ่งก่อนที่สายการบินจะล่มสลาย:

ฝูงบินแพนแอม
เครื่องบิน ในประจำการ สั่งซื้อ จำนวนที่นั่งผู้โดยสาร หมายเหตุ
ชั้นหนึ่ง ชั้นคลิปเปอร์ ชั้นประหยัด รวม
แอร์บัส เอ300B4 12 24 230 254
แอร์บัส เอ310-200 7 18 207 225[6]
แอร์บัส เอ310-300 12 12 30 154 196
โบอิง 727-200 91 9 14 131 145 สั่งซื้อเครื่องบินที่ใช้แล้ว
โบอิง 737-200 5 21 95 116[7]
โบอิง 747-100B 18 39 52 286 377[8] ลูกค้ารายแรกที่รับมอบเครื่องบินรุ่นนี้

การกำหนดที่นั่งเมื่อปี 2532 (สำหรับเที่ยวบินอเมริกาใต้)

โบอิง 747-200B 7 21 44 347 412[9] การกำหนดที่นั่งเมื่อปี 2532
รวม 152 9
ฝูงบินแพนแอมเอ็กซ์เพรส
เอทีอาร์ 42-300 8 3 46 46
เดอ ฮาวิลแลนด์ แคนาดา แดช 7 10 50 50
รวม 18 3

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Only Pan Am Flies to all 6 continents!". everything Pan Am. 1948. สืบค้นเมื่อ 27 March 2022.
  2. britannica.com Pan American World Airways, Inc.: American Airline Company
  3. Guy Norris & Mark Wagner (September 1, 1997). "Birth of a Giant". Boeing 747: Design and Development Since 1969. Zenith Imprint. pp. 12–13. ISBN 0-7603-0280-4.
  4. Airliner World (IATA: A new mandate in a changed world), p. 32, Key Publishing, Stamford, November 2011
  5. Green, Richard P.; Carroll, James J. (2000). Investigating Entrepreneurial Opportunities. SAGE Publications. p. 108. ISBN 9780803959422.
  6. Booth, Darren (June 30, 2012). "Vintage airline seat map: Pan Am Airbus A310". Frequently Flying. สืบค้นเมื่อ September 15, 2012.
  7. Booth, Darren (September 2012). "Vintage airline seat map: Pan Am Boeing 737-200". Frequently Flying. สืบค้นเมื่อ September 15, 2012.
  8. Booth, Darren (April 2011). "Vintage airline seat map: Pan Am Boeing 747". Frequently Flying. สืบค้นเมื่อ September 15, 2012.
  9. Booth, Darren (September 20, 2011). "Vintage airline seat map: Boeing 747 v. 2". Frequently Flying. สืบค้นเมื่อ September 15, 2012.

หนังสือเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แพนอเมริกันเวิลด์แอร์เวส์