ข้ามไปเนื้อหา

แบล็กแฮนด์ (เซอร์เบีย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แบล็กแฮนด์)
รวมชาติหรือความตาย (แบล็กแฮนด์)
คําขวัญรวมชาติหรือความตาย; เอกภาพหรือความตาย
ก่อตั้ง
  • สิงหาคม ค.ศ. 1901 (ในฐานะ สมาคมแบล็กแฮนด์)
  • พฤษภาคม ค.ศ. 1911 (ในฐานะ รวมชาติหรือความตาย)[1][2]
ประเภทสมาคมลับ
วัตถุประสงค์
ที่ตั้ง
บุคลากรหลัก
Dragutin Dimitrijević

รวมชาติหรือความตาย (เซอร์เบีย: Уједињење или смрт / Ujedinjenje ili smrt) เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ แบล็กแฮนด์ (Црна рука / Crna ruka) เป็นสมาคมทหารลับที่ถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1901 โดยเจ้าหน้าที่นายทหารในกองทัพราชอาณาจักรเซอร์เบีย ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีจากการสมคบคิดในการลอบปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์และพระราชินีแห่งเซอร์เบียในปี ค.ศ. 1903 ภายใต้ความช่วยเหลือของกัปตัน ดรากูทิน ดิมิทรีเจวิก(หรืออีกอย่างว่า "เอพิส")[3]

มันได้ถูกก่อตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อรวบรวมดินแดนทั้งหมดที่มีชาวสลาฟทางตอนใต้เป็นส่วนใหญ่ซึ่งจะไม่อยู่ภายใต้การปกครองโดยเซอร์เบียหรือมอนเตเนโกร ด้วยแรงบันดาลใจคือการรวมชาติอิตาลีในปี ค.ศ. 1859–70 แต่ยังได้เกิดขึ้นอีกครั้งในเยอรมนีในปี ค.ศ. 1871[4][5] ด้วยการที่เชื่อมโยงไปถึงการลอบปลงพระชน์ม อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ในซาราเยโว ซึ่งถูกกระทำโดยสมาชิกของเยาวชนบอสเนีย แบล็กแฮนด์มักจะถูกมองว่าได้มีส่วนร่วมในการเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยวิกฤตการณ์เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1914 อย่างเร่งรัด ซึ่งได้ทำให้ออสเตรีย-ฮังการีเข้ารุกรานอาณาจักรเซอร์เบียในที่สุด[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Martel, Gordon (2014). The Month that Changed the World: July 1914 and WWI. Oxford University Press. pp. 58–60. ISBN 9780191643279.
  2. Newman, John Paul (2015). Yugoslavia in the Shadow of War. Cambridge University Press. p. 29. ISBN 9781107070769.
  3. "Black Hand | secret Serbian society". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-02-21.
  4. "Gavrilo Princip and the Black Hand organization". Bookrags.
  5. Alan Cassels (15 November 1996). Ideology and international relations in the modern world. Psychology Press. pp. 122–. ISBN 978-0-415-11926-9. สืบค้นเมื่อ 8 November 2011.
  6. David Stevenson, 1914-1918, 2012 Penguin, reissue, p.12