ข้ามไปเนื้อหา

สนามกีฬาลาการ์ตูฆา

พิกัด: 37°25′2.05″N 6°0′16.43″W / 37.4172361°N 6.0045639°W / 37.4172361; -6.0045639
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เอสตาดิโอเดลาการ์ตูฆา)
สนามกีฬาลาการ์ตูฆา
ลาการ์ตูฆา
แผนที่
ที่ตั้งเซบิยา สเปน
เจ้าของสภาบริหารอันดาลูซิอา (40%)
รัฐบาลสเปน (25%)
สภานครเซบิยา (19%)
สภาผู้แทนราษฎรเซบิยา (13%)
เรอัลเบติส (1.5%)
สโมสรฟุตบอลเซบิยา (1.5%)
ผู้ดำเนินการบริษัท สนามกีฬาโอลิมปิกเซบิยา จำกัด (มหาชน)
ความจุ57,619 ที่นั่ง[1]
ขนาดสนาม105 × 68 เมตร
พื้นผิวหญ้า
การก่อสร้าง
ลงเสาเข็มค.ศ. 1997
เปิดใช้สนาม5 พฤษภาคม ค.ศ. 1999
งบประมาณในการก่อสร้าง120 ล้านยูโร
สถาปนิกอันโตนิโอ กรุซ บิยารอน
อันโตนิโอ โอติส การ์ซิอา
การใช้งาน
ฟุตบอลทีมชาติสเปน (บางครั้ง)

สนามกีฬาลาการ์ตูฆา (สเปน: Estadio La Cartuja, Estadio de La Cartuja) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สนามกีฬาลาการ์ตูฆาเดเซบิยา (Estadio La Cartuja de Sevilla) เป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ที่ตั้งอยู่ที่อิสลาเดลาการ์ตูฆาในเมืองเซบิยา ประเทศสเปน เปิดใช้ใน ค.ศ. 1999 เพื่อใช้แข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก มีความจุราว 57,619 ที่นั่ง ในปัจจุบันมักใช้เพื่อการแข่งขันฟุตบอลเท่านั้น สนามแห่งนี้เป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่หกในสเปน และใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่สองในแคว้นอันดาลูซิอารองจากเบนิโต บิยามาริน[2]

ภาพถ่ายสนามจากมุมสูง
เหล่าแฟนบอลของเซลติกที่เข้ามาชมการแข่งขันยูฟ่าคัพ นัดชิงชนะเลิศ ค.ศ. 2003

ประวัติ

[แก้]

ลาการ์ตูฆาได้รับการสร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับจัดการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก 1999 รวมทั้งยังใช้ในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 และ 2008 เริ่มสร้างใน ค.ศ. 1997 ใช้เงิน 120 ล้านยูโร เปิดใช้เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 โดยจัดการแข่งขันฟุตบอลกระชับมิตรระหว่างสเปนกับโครเอเชีย ในครั้งนั้นสมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปนเสด็จไปทรงเป็นประธานในการเปิดสนาม และสเปนเอาชนะไปด้วยคะแนน 3–1 ก่อนที่การแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลกจะเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม[1]

บริษัทสนามกีฬาโอลิมปิกเซบิยามีแนวคิดให้สโมสรใหญ่สองแห่งของเมืองนี้คือเรอัลเบติสและเซบิยาเข้ามาใช้สนามกีฬาเป็นสนามเหย้าสลับสัปดาห์กับอีกสโมสรหนึ่งเมื่อการแข่งขันกรีฑาโลกสิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม แฟนบอลของทั้งสองสโมสรต่างแสดงความไม่พอใจกับแนวคิดนี้ ทำให้ทั้งสองทีมยังคงใช้สนามของตนเองอยู่จนถึงปัจจุบัน[1]

ใน ค.ศ. 2003 สนามแห่งนี้ยังใช้จัดการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศของฟุตบอลยูฟ่าคัพ ฤดูกาล 2002–03 ระหว่างเซลติกกับโปร์ตู โดยมีผู้ชม 52,972 คน และโปร์ตูเอาชนะไปด้วยคะแนน 3–2 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ ราชสหพันธ์เทนนิสสเปนยังได้เลือกสนามแห่งนี้เพื่อจัดการแข่งขันเดวิสคัพนัดชิงชนะเลิศใน ค.ศ. 2004[3] และ 2011 โดยมีการติดตั้งหลังคาชั่วคราวไว้ที่ด้านหนึ่งของสนามซึ่งเป็นที่ตั้งของสนามดิน[4]

ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 ราชสหพันธ์ฟุตบอลสเปนได้เลือกสนามนี้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันโกปาเดลเรย์นัดชิงชนะเลิศ 4 ครั้ง นับตั้งแต่ ค.ศ. 2020 จนถึง 2023[5] ในวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2021 มีการประกาศว่าสนามแห่งนี้จะใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 แทนซานมาเมสในบิลบาโอซึ่งไม่สามารถจัดการธุระต่าง ๆ ในฐานะเจ้าภาพได้เนื่องจากการระบาดของโควิด-19[6]

การแข่งขันของทีมชาติ

[แก้]
วันที่ รายการ ระหว่าง ผล จำนวนผู้ชม
5 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 กระชับมิตร ธงของประเทศสเปน สเปน พบ ธงชาติโครเอเชีย โครเอเชีย 3–1
17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 กระชับมิตร ธงของประเทศสเปน สเปน พบ ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา 0–2
15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 กระชับมิตร ธงของประเทศสเปน สเปน พบ ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 1–2
3 มิถุนายน ค.ศ. 2012 กระชับมิตร ธงของประเทศสเปน สเปน พบ ธงชาติจีน จีน 1–0
17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020 ยูฟ่าเนชันส์ลีก ธงของประเทศสเปน สเปน พบ ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี 6–0 0[7]
31 มีนาคม ค.ศ. 2021 ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก ธงของประเทศสเปน สเปน พบ ธงชาติคอซอวอ คอซอวอ 3–1 0[8]
14 มีนาคม ค.ศ. 2021 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 รอบแบ่งกลุ่ม ธงของประเทศสเปน สเปน พบ ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน 0–0 10,559[9]
19 มิถุนายน ค.ศ. 2021 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 รอบแบ่งกลุ่ม ธงของประเทศสเปน สเปน พบ ธงของประเทศโปแลนด์ โปแลนด์ 1–1 11,742[10]
23 มิถุนายน ค.ศ. 2021 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 รอบแบ่งกลุ่ม ธงของประเทศสโลวาเกีย สโลวาเกีย พบ ธงของประเทศสเปน สเปน 0–5 11,204[11]
27 มิถุนายน ค.ศ. 2021 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 รอบ 16 ทีมสุดท้าย ธงของประเทศเบลเยียม เบลเยียม พบ ธงของประเทศโปรตุเกส โปรตุเกส 1–0 11,504[12]
14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021 ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก ธงชาติสเปน สเปน พบ ธงชาติสวีเดน สวีเดน 1–0 51,844[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Estadio de La Cartuja en Sevilla: capacidad, historia, información y accesos de la sede de la final de la Supercopa de España y la Copa del Rey goal.com spain 18 เม.ย. ค.ศ. 2021 สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2021
  2. "The stadium". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2018. สืบค้นเมื่อ 8 March 2016.
  3. Copa Davis 2004 Bautizo de Rafa Nadal| 15 พฤศจิกายน 2012 abc.es สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2021
  4. Rafa Nadal remata la quinta Copa Davis4 ธันวาคม 2011 rtve.es สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2021}}
  5. "El Estadio de La Cartuja acogerá la final de la Copa del Rey" (ภาษาสเปน). Royal Spanish Football Federation. 5 February 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2020. สืบค้นเมื่อ 5 February 2020.
  6. https://www.bbc.co.uk/sport/football/56856744
  7. "Spain vs. Germany". Union of European Football Associations. 17 November 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-07. สืบค้นเมื่อ 19 November 2020.
  8. "Spain vs. Kosovo". Union of European Football Associations. 31 March 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-07. สืบค้นเมื่อ 1 April 2021.
  9. "Full Time Summary – Spain v Sweden" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 14 June 2021. สืบค้นเมื่อ 14 June 2021.
  10. "Full Time Summary – Spain v Poland" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 19 June 2021. สืบค้นเมื่อ 19 June 2021.
  11. "Full Time Summary – Slovakia v Spain" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 23 June 2021. สืบค้นเมื่อ 23 June 2021.
  12. "Full Time Summary – Belgium v Portugal" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 27 June 2021. สืบค้นเมื่อ 27 June 2021.
  13. "Spain vs. Sweden". Union of European Football Associations. 14 November 2021. สืบค้นเมื่อ 14 November 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

37°25′2.05″N 6°0′16.43″W / 37.4172361°N 6.0045639°W / 37.4172361; -6.0045639