ข้ามไปเนื้อหา

เสือโคร่งไซบีเรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เสือโคร่งอามูร์)
เสือโคร่งไซบีเรีย
ตัวผู้
ตัวเมีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Felidae
วงศ์ย่อย: Pantherinae
สกุล: Panthera
สปีชีส์: P.  tigris
สปีชีส์ย่อย: P.  tigris altaica
Trinomial name
Panthera tigris altaica
Temminck, 1884
แผนที่แสดงที่อยู่อาศัยของเสือโคร่งไซบีเรีย
  ช่วงสมัยใหม่
  ช่วงปลายทศวรรษ 1800

เสือโคร่งไซบีเรีย หรือ เสือโคร่งอามูร์ หรือ เสือโคร่งจีนเหนือ หรือ เสือโคร่งแมนจูเรีย

(อังกฤษ: Siberian tiger จีนตัวย่อ: 东北虎; จีนตัวเต็ม: 東北虎; รัสเซีย: Амурский тигр; มองโกล: Сибирийн бар; เปอร์เซีย: ببر سیبری; เกาหลี: 시베리아호랑이; ชื่อวิทยาศาสตร์: Panthera tigris altaica) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกเสือชนิดหนึ่ง เป็นสายพันธุ์ย่อยของเสือโคร่ง ( P. tigris) เป็นสัตว์ในวงศ์ Felidae ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ยังหลงเหลือเผ่าพันธุ์อยู่จนถึงปัจจุบัน

เสือโคร่งไซบีเรียโดยทั่วไปตัวผู้จะมีน้ำหนัก230กิโลกรัม ในขณะที่ตัวเมียมีน้ำหนักประมาณ 180 กิโลกรัมไปในบางครั้ง สามารถโตเต็มที่ได้ถึง 3.5 เมตร และหนักได้ถึงเกือบ 320 กิโลกรัม เป็นเสือโคร่งชนิดที่มีลำตัวที่ใหญ่กว่าเสือโคร่งชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด ใบหน้าแผ่กว้าง กรามใหญ่ ลวดลายน้อย และพื้นลำตัวเป็นสีเหลืองออกขาวมากกว่าเสือโคร่งชนิดอื่น ๆ สันนิษฐานว่า คงเป็นเพราะการปรับตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่มีหิมะและความหนาวเย็นอยู่รอบตัว

ในอดีต เสือโคร่งไซบีเรียเคยอาศัยอยู่ในพื้นที่กว้างขวางของทวีปเอเชีย แต่ในปัจจุบัน เสือโคร่งไซบีเรียมีแหล่งที่อยู่อาศัยเป็นป่าผืนเล็กที่อยู่ตอนเหนือของเมืองวลาดิวอสตอค ประเทศรัสเซีย ตามแนวชายฝั่งทะเลญี่ปุ่นทางตอนเหนือ และมีจำนวนเพียง 400 ตัว การทำเหมืองแร่และการทำไม้ในแถบไซบีเรียตะวันออกซึ่งเป็นถิ่นของเสือโคร่งไซบีเรีย

ที่ประเทศจีน ในปี ค.ศ. 1990 มีการพบเห็นเสือโคร่งพันธุ์ไซบีเรียในเทือกเขาฉางไป๋ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ในประเทศเกาหลีเหนือ สันนิษฐานว่ายังมีเสือโคร่งไซบีเรียหลงเหลืออยู่บริเวณภูเขาเปกดู ซึ่งเป็นบริเวณพรมแดนที่ติดต่อเทือกเขาฉางไป๋ของจีน

ปัจจุบัน เสือโคร่งไซบีเรีย พบอาศัยอยู่ในป่าไทก้าของไซบีเรีย คาดมีเหลืออยู่ในธรรมชาติราวกว่า 200 ตัว ส่วนในจีนคาดว่ามีประมาณ 14-17 ตัว โดยพบล่าสุดเมื่อปลายเดือนกันยายน ค.ศ. 2014 ในป่าของเขตศูนย์อนุรักษ์ธรรมชาติแห่งชาติ มณฑลจี๋หลิน คาดว่าเป็นเสือตัวผู้อายุราว 2 ปี ถูกจับภาพได้โดยทางกล้องวงจรปิด[1]

ในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2007 มีรายงานว่า เสือโคร่งไซบีเรียวัย 12 ปี จำนวน 4 ตัว ในสวนสัตว์ปิงชวนปาร์ค ในเมืองเฉิ่นหยาง มณฑลเหลียวหนิง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน รุมกินซากของเสือโคร่งไซบีเรียตัวหนึ่ง ที่อยู่ด้วยกันมานาน 5 ปี ซึ่งเป็นพฤติกรรมปกติที่เสืออาจกินซากพวกเดียวกันเอง แต่ไม่มีใครทราบว่าเสือตัวที่ตายนี้ ตายมาก่อนหน้านั้น หรือตายเพราะถูกเพื่อนเสือในกรงเดียวกันรุมฆ่า [2][3]

ในปี พ.ศ. 2558 ได้มีการสำรวจพบว่า เสือโคร่งไซบีเรียนมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 480-540 ตัว โดยรวมจำนวนลูกเสือโคร่งแต่ละปีด้วย[4]

เสือโคร่งเพศผู้วัย 3 ปี ถูกปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

ลิงก์ภายใน

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "จีนเผยคลิปภาพพบเสือหนุ่มไซบีเรียในพื้นที่ป่า". ช่อง 7. 12 October 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-15. สืบค้นเมื่อ 12 October 2014.
  2. [https://web.archive.org/web/20160305204827/http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9500000137604 เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สยอง! เสือโคร่งไซบีเรียหิวโซรุมกินโต๊ะพวกเดียวกัน จากผู้จัดการออนไลน์]
  3. นิตยสาร SM@RTPET ปีที่ 1 ฉบับที่ 7 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 คอลัมน์ สัตว์ป่าน่ารู้ หน้า 201-213 โดย พัชรินทร์ ธรรมรส
  4. https://news.mongabay.com/2015/06/happy-tigers-siberian-population-continues-to-grow/