ข้ามไปเนื้อหา

เวอร์จินออสเตรเลีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เวอร์จินบลู)
เวอร์จินออสเตรเลีย
IATA ICAO รหัสเรียก
VA VOZ VELOCITY
เริ่มดำเนินงาน29 สิงหาคม ค.ศ. 2000 (23 ปี)
ท่าหลักบริสเบน
เมลเบิร์น
ซิดนีย์-คิงส์ฟอร์ดสมิธ
เมืองสำคัญแอดิเลด
โกลด์โคสต์ (รัฐควีนส์แลนด์)
เพิร์ธ
อลิซสปริงส์
สะสมไมล์วิลอซิตี้
ขนาดฝูงบิน70
จุดหมาย30
บริษัทแม่เวอร์จินออสเตรเลียโฮลดิ้ง
สำนักงานใหญ่ออสเตรเลีย บริสเบน, ประเทศออสเตรเลีย
บุคลากรหลักJayne Hrdlicka (CEO)
ริชาร์ด แบรนสัน (ผู้ร่วมก่อตั้ง)
Philippe Calavia (ผู้ร่วมก่อตั้งและอดีต CEO)
เว็บไซต์virginaustralia.com

เวอร์จินออสเตรเลีย (อังกฤษ: Virgin Australia) เป็นสายการบินสัญชาติออสเตรเลีย สายการบินเริ่มดำเนินงานในปีค.ศ. 2000 ในชื่อเวอร์จินบลู[1][2] เวอร์จินออสเตรเลียมีฐานการบิน 3 แห่งในบริสเบน, เมลเบิร์น, และซิดนีย์[3]

เวอร์จินออสเตรเลียเป็นหนึ่งในสายการบินในเวอร์จินกรุ๊ป และเป็นสายการบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเวอร์จินกรุ๊ปในด้านของจำนวนฝูงบิน

ประวัติ[แก้]

เวอร์จินออสเตรเลียเปิดตัวในชื่อเวอร์จินบลูในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2000 ด้วยเครื่องบินโบอิง 737-400 จำนวนสองลำ โดยหนึ่งในนั้นได้เช่าจากเวอร์จินเอกซ์เพรส อีกสายการบินหนึ่งของเวอร์จินกรุ๊ป[4][5] โดยเริ่มทำการบินระหว่างบริสเบนและซิดนีย์

โบอิง 777-300อีอาร์ ของวีออสเตรเลีย

ในช่วงต้นปีค.ศ. 2006 ได้มีการประกาศแผนการทำเที่ยวบินนานาชาติไปยังจุดหมายปลายทางในสหรัฐอเมริกา โดยเวอร์จินออสเตรเลียได้สร้างสายการบินลูกใหม่ ในชื่อว่าวีออสเตรเลียและมีโบอิง 777-300อีอาร์ จำนวนห้าลำในฝูงบิน

ในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 เวอร์จินบลูได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นเวอร์จินออสเตรเลีย สายการบินแปซิฟิกบลูและวีออสเตรเลียได้ถูกผนวกกิจการเข้ากับเวอร์จินออสเตรเลียในเวลาต่อมา[6][7]

กิจการองค์กร[แก้]

สำนักงานใหญ่[แก้]

ก่อนที่จะย้ายสำนักงานใหญ่ไปยังเซาท์แลงก์ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2020 สำนักงานใหญ่ของเวอร์จินออสเตรเลีย คือ เวอร์จินวิลเลจ ในบริสเบน[8]

บริษัทลูก[แก้]

เวอร์จินออสเตรเลียมีบริษัทลูกดังนี้

  • แปซิฟิกบลูแอร์ไลน์ - ให้บริการตั้งแต่ปีค.ศ. 2004 - 2020 แปซิฟิกบลูให้บริการเที่ยวบินต้นทุนต่ำภายในประเทศนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย
  • วีออสเตรเลีย - ให้บริการตั้งแต่ปีค.ศ. 2009 - 2011 โดยให้บริการเที่ยวบินระยะไกลระหว่างออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา[9]
  • ไทเกอร์แอร์ออสเตรเลีย - ถูกซื้อโดยเวอร์จินออสเตรเลียโฮลดิ้งในปีค.ศ. 2014 ปิดตัวในปีค.ศ. 2020 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19[10]
  • เวอร์จินออสเตรเลียเรจินัลแอร์ไลน์ - เดิมชื่อสกายเวสต์แอร์ไลน์ ถูกซื้อโดยเวอร์จินออสเตรเลียโฮลดิ้งในปีค.ศ. 2013 โดยให้บริการเที่ยวบินในภูมิภาค[11]

จุดหมายปลายทาง[แก้]

ข้อตกลงการทำการบินร่วม[แก้]

เวอร์จินออสเตรเลียได้ทำข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไนี้:[12]

ฝูงบิน[แก้]

โบอิง 737-800 ของเวอร์จินออสเตรเลีย
ฟอกเกอร์ 100 ของเวอร์จินออสเตรเลียเรจินอลแอร์ไลน์

เวอร์จินออสเตรเลียมีฝูงบินดังนี้:[17][18]

ฝูงบินของเวอร์จินออสเตรเลีย
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร[19] หมายเหตุ
J Y รวม
โบอิง 737-700 2 8 120 128 จะถูกโอนย้ายไปยังเวอร์จินออสเตรเลียเรจินัลแอร์ไลน์
โบอิง 737-800 75 8 162 170
168 176 ได้รับต่อมาจากซิลค์แอร์[20][21]
โบอิง 737 MAX 8 4 TBA เริ่มส่งมอบในปีค.ศ. 2023[22]
โบอิง 737 MAX 10 25 TBA เริ่มส่งมอบในปีค.ศ. 2023[23]
ฝูงบินของเวอร์จินออสเตรเลียเรจินัลแอร์ไลน์
แอร์บัส เอ320-200 7 168 168
โบอิง 737-700 15 149 149 ทดแทนฟอกเกอร์ 100
ฟอกเกอร์ 100 10 100 100 จะถูกทดแทนด้วยโบอิง 737-700 ในต้นปีค.ศ. 2023
ฝูงบินของเวอร์จินออสเตรเลียคาร์โก้
โบอิง 737-300F 1 สินค้า เช่ามาจากแอร์เวิร์ก
บริติชแอร์โรสเปซ 146-200QC 1 สินค้า เช่ามาจากไฟออนแอร์ออสเตรเลีย
บริติชแอร์โรสเปซ 146-200QT 2 สินค้า
รวม 98 44

อ้างอิง[แก้]

  1. "Virgin Australia to replace Virgin Blue, V Australia, Pacific Blue airline names -- Polynesian Blue too? - Executive Traveller". www.executivetraveller.com (ภาษาอังกฤษ). 2011-05-04.
  2. "Virgin Australia company overview | Virgin Australia". www.virginaustralia.com.
  3. "Virgin Australia Route Map". web.archive.org. 2019-12-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-29. สืบค้นเมื่อ 2022-07-30.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  4. "Low-cost blueprint lets Virgin soar". The Age (ภาษาอังกฤษ). 2003-11-16.
  5. "Virgin Australia Newsroom". Virgin Australia Newsroom (ภาษาอังกฤษ).
  6. http://www.theaustralian.com.au/travel/news/rebranded-virgin-prepares-for-a-tough-battle/story-e6frg8ro-1226050900146
  7. O'sullivan, Matt (2011-05-04). "Virgin wins stalemate over brand name rights". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ).
  8. http://www.theaustralian.com.au/business/aviation/virgin-blue-seeks-shelter-in-brisbane/story-e6frg95x-1111117782097
  9. "V Australia to take off". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ). 2007-07-25.
  10. "Virgin does deals with Singapore, Tiger, Skywest". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ). 2012-10-29.
  11. "Virgin Australia Newsroom". Virgin Australia Newsroom (ภาษาอังกฤษ).
  12. "Airline Partners". Virgin Australia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-08. สืบค้นเมื่อ 26 January 2020.
  13. "Airline Partners". Virgin Australia. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
  14. "Virgin Australia and Hainan Airlines launch codeshare". Finder.com.au. 4 June 2018. สืบค้นเมื่อ 5 June 2018.
  15. "Hong Kong Airlines and Virgin Australia to Launch Codeshare Partnership". Hong Kong Airlines. 6 June 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-14. สืบค้นเมื่อ 5 June 2018.
  16. "Virgin Australia and United Airlines launch codeshare". Virgin.com. 15 December 2021. สืบค้นเมื่อ 22 December 2021.
  17. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-28. สืบค้นเมื่อ 2022-07-30.
  18. "Virgin Australia's freighter aircraft take off". Australian Aviation (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย).
  19. "Our fleet - flying with us | Virgin Australia". www.virginaustralia.com.
  20. "Virgin Australia Fleet Details and History". www.planespotters.net. สืบค้นเมื่อ 2022-05-30.
  21. "Virgin Australia unveils interior design prototype of the future". Virgin Australia Newsroom (ภาษาอังกฤษ). 2021-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-05-30.
  22. "Virgin Australia To Take Four Boeing 737 MAX 8s From February 2023". Simple Flying. 2 May 2022.
  23. "Virgin Australia begins its countdown to the Boeing 737 MAX - Executive Traveller". www.executivetraveller.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-08-27. สืบค้นเมื่อ 2022-05-04.