เรวดี รัศมิทัต
เรวดี รัศมิทัต | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 เมษายน พ.ศ. 2512 อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ |
พรรคการเมือง | ภูมิใจไทย (2553–ปัจจุบัน) |
เรวดี รัศมิทัต (เกิด 19 เมษายน พ.ศ. 2512) เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคภูมิใจไทย สังกัดพรรคราษฎร[1] และเป็นหนึ่งในสอง ส.ส. ของพรรคราษฎรที่ได้รับเลือกตั้ง
ประวัติ
[แก้]เรวดี เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2512 ที่อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นบุตรของนายอำนวย รัศมิทัต อดีตนายก อบจ.สมุทรปราการ กับนางปรานอม รัศมิทัต[2] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาอุตสาหกรรมศาสตร์ จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล[3] และปริญญาโท ด้านการค้าและธุรกิจ จาก DEAKIN UNIVERSITY ประเทศออสเตรเลีย
การทำงาน
[แก้]เรวดี เข้าสู่งานการเมืองโดยการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 เป็นสมัยแรก สังกัดพรรคราษฎร และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพียงคนเดียวของพรรคราษฎรที่ชนะการเลือกตั้งในจังหวัดสมุทรปราการ[4] และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคไทยรักไทย
เรวดี ย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทย ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 โดยแพ้ให้กับผู้สมัครจากพรรคพลังประชาชน ต่อมาได้หันมาทำงานการเมืองในระดับท้องถิ่น ในตำแหน่งเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จังหวัดสมุทรปราการ (อำนวย รัศมิทัต) ระหว่างปี พ.ศ. 2551 ถึงปี พ.ศ. 2554
เรวดี ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกสมัย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ในสังกัดพรรคภูมิใจไทย และในปี 2562 เรวดีลงสมัคร ส.ส.สมุทรปราการ ในนามพรรคภูมิใจไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาเธอได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (อนุทิน ชาญวีรกูล)[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ การเมืองร้อนที่ปากน้ำ ม่านปมยิง"ประชา" และเรื่องเล่า "ผู้ยิ่งใหญ่" สองฝั่งน้ำเจ้าพระยา[ลิงก์เสีย]
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางสาวเรวดี รัศมิทัต[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-03. สืบค้นเมื่อ 2012-03-07.
- ↑ แพ้ยังไง เพื่อไทยปากน้ำ เสียแชมป์ 4 สมัย
- ↑ ครม.เห็นชอบตั้ง ‘ที่ปรึกษา-เลขานุการ’ รมว.สธ.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๐, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖๖, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗