ข้ามไปเนื้อหา

เรดฮอตชิลีเพปเปอส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เรดฮอตชิลลีเปปเปอร์ส)
เรดฮอตชิลีเพปเปอส์
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดลอสแอนเจลิส, แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา
แนวเพลงออลเทอร์นาทิฟร็อก, ฟังก์ร็อก, ฟังก์เมทัล, แร็ปร็อก
ช่วงปี1983-ปัจจุบัน
ค่ายเพลงWarner Bros., EMI
สมาชิกAnthony Kiedis
Flea
Chad Smith
John Frusciante
อดีตสมาชิกJosh Klinghoffer
Hillel Slovak
Jack Irons
Cliff Martinez
Jack Sherman
D. H. Peligro
DeWayne "Blackbyrd" McKnight
Jesse Tobias
Arik Marshall
Dave Navarro
เว็บไซต์www.redhotchilipeppers.com

เรดฮอตชิลีเพปเปอส์ (อังกฤษ: Red Hot Chili Peppers) เป็นวงร็อกอเมริกัน ก่อตั้งวงในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ในปี 1983 สมาชิกในวงประกอบด้วย นักร้อง แอนโทนี คีดิส, มือกีตาร์ จอห์น ฟรูชานเต, มือเบส ไมเคิล "ฟลี" บัลซารี และมือกลอง แชด สมิธ แนวเพลงของวงมีความหลากหลาย ที่เกิดจากการรวมของเพลงร็อกดั้งเดิมและฟังก์ เข้ากับองค์ประกอบของ เฮฟวีเมทัล, พังก์ร็อก และ ไซเคเดลิกร็อก

นอกจากทั้งแอนโทนี คีดิสและฟลี สมาชิกดั้งเดิมประกอบด้วยมือกีตาร์ ฮิลเลล สโลวัก และมือกลอง แจ็ก ไอออนส์ ซึ่งสโลวักเสียชีวิตจากการเสพเฮโรอีนเกินขนาดในปี 1988 และเป็นผลให้ไอออนส์ลาออกจากวง[1] โดยมีอดีตมือกลองวง เดด เคนเนดีส์ ที่ชื่อ ดี. เอช. เพไลโกรเข้ามาแทนก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น สมิธ จนปัจจุบัน ขณะที่สโลวักแทนที่โดย ฟรูชานเต จากสมาชิกข้างต้นมีผลงานในชุดที่ 4 และ 5 คือ Mother's Milk (1989) และ Blood Sugar Sex Magik (1991)

Blood Sugar Sex Magik ถือเป็นผลงานชุดโบว์แดงของวง ทำให้พวกเขาก้าวสู่กระแสนิยมกับยอดขาย 13 ล้านชุด ฟรูชานเตรู้สึกไม่ชอบใจกับความสำเร็จนี้จึงออกจากวงในระหว่างทัวร์อัลบั้มนี้ในปี 1992 ซึ่งเขาก็ยังติดเฮโรอีน คีดิส, ฟลี, และสมิธ จ้าง เดฟ นาวาร์โร จากวง เจนส์แอดดิกชัน มาทำงานในอัลบั้มชุดต่อมาที่ชื่อ One Hot Minute (1995) ความนิยมในอัลบั้มนี้ลดลงไปกว่า Blood Sugar Sex Magik ทั้งทางด้านเสียงวิจารณ์และยอดขายที่ขายน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของอัลบั้มก่อน และนาวาร์โรออกจากวงเนื่องจากความคิดที่แตกต่างกัน

ฟรูชานเต กลับมาหลังจากบำบัดยา เข้าร่วมวงใหม่อีกครั้งในปี 1998 โดยคำเรียกร้องของฟลี พวกเขาทั้ง 4 กลับมาทำอัลบั้มชุด Californication (1999) ที่มียอดขาย 15 ล้านชุดทั่วโลก ขณะที่เป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดจนปัจจุบัน หลังจากนั้น 3 ปีพวกเขาออกอัลบั้มชุด By the Way (2002) ซึ่งก็ยังคงประสบความสำเร็จ ต่อมาในปี 2006 พวกเขาออกอัลบั้มคู่ชุด Stadium Arcadium ซึ่งก็ทำให้พวกเขาได้รับรางวัลแกรมมี่ 7 รางวัล มียอดขาย 50 ล้านชุดทั่วโลก มี 7 ซิงเกิลที่ติดใน 40 อันดับแรกของบิลบอร์ดฮ็อต 100 (รวมถึงมี 3 ซิงเกิลติดใน 10 อันดับแรก) ยังมีเพลง 5 ซิงเกิลขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ทเมนสตรีมร็อก และ มี 11 ซิงเกิลติดอันดับชาร์ทโมเดิร์นร็อก[2]

ในพิธีปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 วงได้ร่วมในการแสดงรับธงโอลิมปิกที่ชายหาดในลองบีช รัฐแคลิฟอร์เนีย เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสที่ลอสแอนเจลิสจะเป็นเจ้าภาพในอีกสี่ปีข้างหน้า[3]

ผลงานอัลบั้ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Kiedis, Sloman, 2004. p. 224
  2. Britt, Bruce (October 5, 2006). ""Stadium Set Keeps Chili Peppers Red Hot"". BMI.com. สืบค้นเมื่อ 2007-10-02.
  3. Legaspi, Althea (2024-08-11). "Billie Eilish, Red Hot Chili Peppers, Snoop Dogg, H.E.R. Perform at Olympics Closing Ceremony". Rolling Stone (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-08-11.